ยกตัวอย่างวิกฤต SARS เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งครั้งนั้นนักวิเคราะห์เตือนว่าจะกระทบเศรษฐกิจจีนหนัก และหลายคนมองว่าคล้ายกับวิกฤตไวรัส 2019-nCoV หรือไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน โดยในปีนั้น GDP ไตรมาสที่ 2 ของจีนหดตัวลงก็จริง แต่ไตรมาสที่ 3 และ 4 กลับเติบโตสูงชดเชยส่วนที่หายไป รวม 4 ไตรมาสก็ยังเติบโตเป็น 10% และถ้ามองกรอบเวลาที่กว้างขึ้นอีก ก็แทบจะไม่เห็นผลกระทบของ SARS กับการเติบโตของ GDP จีนเลย
ที่สำคัญ ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องต้องกันว่า เชื้อโคโรนา 2019-nCoV นั้นไม่รุนแรงเท่ากับ SARS แม้จะติดกันง่ายกว่า ส่วนหนึ่งเพราะระยะฟักตัวนานกว่า SARS แต่ 2019-nCoV คร่าชีวิตผู้ติดเชื้อประมาณ 2% ในขณะที่ผู้ติดเชื้อ SARS ประมาณ 10% เสียชีวิต
ครั้งนี้ รัฐบาลจีนรับมือด้วยความรวดเร็วเฉียบขาด เปิดเผยข้อมูล และให้ความร่วมมือกับ WHO แม้ในระยะสั้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ค้าปลีก และโรงงานต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่สุดท้าย ดังเช่นโรคระบาดอื่นๆ ไวรัสโคโรนาก็จะอยู่ภายใต้การควบคุม และกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง
เมื่อเหตุการณ์คลี่คลาย ประชากรจีนที่ปกติเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศกว่า 150 ล้านครั้ง แถมยังเป็นนักท่องเที่ยวใช้เงินเยอะที่สุดในโลก ก็พร้อมจะวางแผนเดินทางอีกครั้ง ธุรกิจต่างๆ เริ่มกลับมาดำเนินการ และอาจจะทำงานหนักกว่าเดิมเพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป ผู้บริโภคที่ช่วงนี้อาจจะอัดอั้น ไม่กล้าไปจับจ่ายซื้อของ สุดท้ายก็ต้องออกไปช้อปปิ้ง ผลักดันเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่เส้นทางการเติบโตเหมือนเดิม
นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายการลงทุนสำหรับต่างชาติฉบับใหม่ (Foreign Investment Law) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นมา ปลดล็อกธุรกิจอีกหลายหมวดอุตสาหกรรมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนได้ และมีข้อตกลงการค้าเฟสแรกที่จีนกับสหรัฐฯ ที่ได้ลงนามไปเมื่อกลางเดือนมกราคมเป็นปัจจัยหนุนนำเศรษฐกิจของจีนในระยะยาวให้เข้ารูปเข้ารอย ล่าสุด ทั้งสองประเทศประกาศว่าจะลดภาษีนำเข้าสินค้าของอีกฝ่าย ซึ่งมีผลบังคับใช้ 14 ก.พ. น่าจะเป็นสัญญาณดีที่ส่งผลให้ความตึงเครียดเรื่องสงครามการค้าให้ลดลง และช่วยให้การเจรจาด้านการค้าครั้งต่อๆ ไปราบรื่นยิ่งขึ้น
ด้านเศรษฐกิจ จีนกำลังเปลี่ยนผ่าน จากที่เคยเป็นโรงงานของโลก และการเติบโตของเศรษฐกิจพึ่งพาภาคการผลิตเป็นหลักนั้น ตอนนี้จีนเข้าใกล้ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยภาคบริการมากขึ้น เห็นได้ชัดจาก GDP ของประเทศจีน ที่ภาคบริการขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ สร้างรายได้นำภาคการผลิตนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 เป็นต้นมา ในปัจจุบันประเทศจีนส่งออกบริการเชิงพาณิชย์เป็นอันดับที่ 5 ของโลกแล้ว ในขณะที่ภาคการผลิตของจีนหดตัวลง เฉลี่ย 5 ปีเติบโต -1.6% ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศเองก็ตระหนักถึงโอกาสการเติบโตมหาศาลของภาคบริการของจีน เห็นได้จากสัดส่วนการลงทุนภาคการบริการโดยตรงจากแหล่งเงินต่างประเทศ (FDI) ที่สูงถึง 68.1%
แม้แต่ในภาคบริการของจีนเองก็กำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ธุรกิจขายส่งและขายปลีกยังเป็นอุตสาหกรรมหลัก แต่การบริการด้านข้อมูล ซอฟท์แวร์ และเทคโนโลยี ก็กำลังเติบโตขึ้นมาทัดเทียม ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 3 ปีสูงถึง 23.4% นับว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มาแรงมากๆ ในจีน
การลงทุนในบริษัทจดทะเบียนของจีนนั้น นักลงทุนสามารถลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Stock Exchange - SSE) และตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น (Shenzhen Stock Exchange - SHZE) ทั้งสองตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าใหญ่ติด 1 ใน 10 ของตลาดหลักทรัพย์โลก โดย SSE นั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 และ SHZE อยู่ที่อันดับ 8 นอกจากนี้ บริษัทจดทะเบียนในทั้งสองตลาดหลักทรัพย์นั้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจีนที่ขายสินค้าและบริการภายในประเทศที่นักลงทุนไทยอาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อ แต่ด้วยขนาดประชากรของประเทศจีน ทำให้บริษัทเหล่านี้เติบโตมีมูลค่าธุรกิจเพิ่มขึ้นได้อย่างมหาศาลแม้จะยังไม่ได้ขยายตลาดไปต่างประเทศ ดังนั้นศักยภาพการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนจีนจึงเป็นโอกาสการลงทุนที่มองข้ามไม่ได้
ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้นจีน สามารถเข้าไปดูข้อมูลวิเคราะห์ธุรกิจจีนแผ่นดินใหญ่จากทั้งสองตลาดหลักทรัพย์ได้ใน www.jitta.com หรือแอปพลิเคชัน Jitta โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เริ่มค้นหาหุ้นดีราคาถูกตลาดหุ้นจีน
Indicators
จากโรงงานเป็นโรงแรม 52.16% ของ GDP สัดส่วนอุตสาหกรรมบริการในจีน ที่ใหญ่แซงภาคการผลิตตั้งแต่ 2556
เดินหน้าด้วยนวัตกรรม 23.4% ต่อปีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 3 ปีของธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี IT
พ่อค้าอันดับ 1 ของโลก US$2.49 ล้านล้าน ปริมาณการส่งออกสินค้าปี 2018 สูงที่สุดในโลก
รวมพลคนรักสุกร 50% ของหมูทั้งโลกอยู่ในประเทศจีน
สายเปย์ตัวท็อป แค่ 10% ของประชากรจีนออกท่องเที่ยวต่างประเทศแต่ใช้จ่ายเงินเยอะที่สุดในโลก
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit