Phantoms and Aliens | The Invisible Other นำเสนอความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีและเรื่องราวอาถรรพ์ที่แพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังขยายขอบเขตการรับรู้เกี่ยวกับผีสางในฐานะวิญญาณล่องหนไปสู่การศึกษาเรื่องดังกล่าวในมิติอื่น ๆ อาทิ การล่องหน กล่าวคือการล่องหนในสังคม ซึ่งเกิดขึ้นจากการแบ่งแยกและภาวะความแปลกแยก ทั้งนี้ ผลงานชุดดังกล่าวครอบคลุมศิลปะแขนงต่าง ๆ ได้แก่ การถ่ายภาพเชิงสารคดี และเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ด้วยเสียง จิตรกรรม สื่อผสมและวิดีโอจัดวาง โดยสิ่งที่นิทรรศการต้องการเน้นคือการพิจารณาสิ่งที่สังคมมองไม่เห็นหรือไม่ได้เหลียวแล ไม่ว่าจะเป็นผู้คน หรือชุมชนที่อาศัยอยู่ตามชายขอบ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ เพศ ศาสนาหรือวัฒนธรรม บุคคลเหล่านี้เปรียบเสมือนภูตผีที่แปลกแยกจากสังคมในวงกว้าง – ไม่มีใครมองเห็นพวกเขา ทั้ง ๆ ที่มีตัวตน
สำหรับชุดของผลงานที่นำเสนอในกรุงเทพฯ ถือเป็นปฐมบทของผลงานที่ประกอบด้วย 3 ชุดเรื่องราว โดยคุณอำพรรณีนำเสนอวิดีโอจัดวางชื่อ Without Lightness ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดผลงานชื่อ Lost Motherland เธอได้ถ่ายทำ Without Lightness ขณะอยู่บนเรือของชาวประมงในระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจในการหาปลาเป็นประจำในเวลากลางคืนตามชายฝั่งของจังหวัดปัตตานี ซึ่งมีชาวโรฮีนจาจำนวนมากพยายามหาที่หลบภัยจากสงครามกลางเมืองในพม่า การแล่นเรือออก / ล่องเรือในอ่าวปัตตานีสะท้อนให้เห็นถึงการเดินทางทางเรือที่ผู้ลี้ภัยจำเป็นต้องใช้ในการลี้ภัยออกนอกประเทศของพวกเขาและ / หรือการล่องเข้าสู่ท่าเรือเพื่อค้นหาที่หลบภัย การจัดวางวิดีโอประกอบด้วยการฉายภาพจากสองจอพร้อมกัน โดยจอหนึ่งนำเสนอเรือที่แล่นช้าอย่างช้า ๆ ออกจากท่าเรือที่เห็นเพียงแสงไฟสว่างตรงท้ายเรือ ในขณะที่อีกจอเห็นภาพเรือที่แล่นอย่างช้า ๆ ที่กำลังมุ่งหน้าสู่ท่าเรือ ซึ่งเห็นได้ลำแสงที่สาดทอมาจากระยะไกล
อำพรรณี สะเตาะ (เกิดเมื่อปี 2526) มีพื้นเพมาจากภาคใต้ของประเทศไทย อาศัยและทำงานในกรุงเทพฯ เธอสำเร็จการศึกษาด้านการถ่ายภาพในประเทศฝรั่งเศส (2553) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาศิลปกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ ประเทศไทย (2556) ปัจจุบันเธอสอนวิชาสื่อทัศนภาพและการออกแบบที่มหาวิทยาลัยรังสิต จ. ปทุมธานี อำพรรณีเป็นมุสลิม ดังนั้นงานศิลปะของเธอจึงมุ่งเน้นไปที่พลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมด้วยสัญลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมแบบดั้งเดิม เช่น บูร์กา (Burqa) และปอเนาะ (Pondok) ผลงานของอำพรรณีสำรวจอดีตและปัจจุบันผ่านสื่อที่หลากหลายที่น่าสนใจ ได้แก่ การถ่ายภาพและวิดีโอ
ริชาร์ด โคห์ โปรเจกต์ เป็นพื้นที่ศิลปะป๊อปอัพที่ออกแบบมาเพื่อเปิดโอกาสในการนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ และสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการดังกล่าวถือเป็นเวทีในการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค โดยมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลงานใหม่ ๆ ที่หลากหลาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางศิลปะที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของภูมิภาค
ข้อมูลเกี่ยวกับนิทรรศการ ท่านสามารถติดต่อได้ที่คุณคริสเตียน ฮาริดาส ที่โทร 65 9788 4291 หรืออีเมล [email protected]
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit