ขณะนี้เกิดสถานการณ์ไฟป่าในหลายพื้นที่ของประเทศ สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ป่าไม้และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภ.ช.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมสรรพกำลังป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอย่างใกล้ชิด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนกลางวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างรอบด้าน
เตรียมพร้อมรับมือไฟป่าและแก้ไขปัญหาหมอกควัน โดยมีคณะทำงานติดตามสถานการณ์ภัย ทำหน้าที่ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงไฟป่าและพื้นที่การเกษตรที่มีการเผา พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดไฟป่าและหมอกควัน รวมถึงเตรียมแผนเผชิญเหตุให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยและบริบททางสังคม โดยระบุช่วงเวลา พื้นที่ ภารกิจ และหน่วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจน
นำระบบบัญชาการเหตุการณ์เป็นกลไกจัดการไฟป่า จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดและอำเภอ เพื่อให้การอำนวยการ สั่งการ ระดมสรรพกำลังและทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันมีเอกภาพ พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการลาดตระเวน เฝ้าระวังไฟป่า และจัดทำแนวกันไฟ รวมถึงเตรียมแผนบูรณาการเครื่องจักรกลในพื้นที่ใกล้เคียงให้สามารถสนับสนุนปฏิบัติการดับไฟป่าได้อย่างทันท่วงที
บังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบเผา โดยจับกุมดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดกับผู้ลักลอบเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่การเกษตร พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ริมทาง
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้บูรณาการป้องกันไฟป่าและแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างต่อเนื่อง โดยนำเครื่องจักรกล ยานพาหนะ รถยนต์กู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถดับไฟป่า รถบรรทุกน้ำช่วยดับเพลิง 10,000 ลิตร รถดับเพลิงโฟมเคมี รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถสูบส่งน้ำระยะไกล สนับสนุนปฏิบัติการดับไฟในพื้นที่ประสบปัญหาไฟป่า รวมถึงร่วมกับกองทัพบก (ทบ.) นำเฮลิคอปเตอร์ ปภ.KA-32 ขึ้นบินทิ้งน้ำดับไฟในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงอัคคีภัยหรือไฟป่า ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 อย่างเคร่งครัด รวมถึงระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนเข้าดำเนินการควบคุมสถานการณ์ให้ยุติลงโดยเร็ว หากประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าเกินขีดความสามารถของจังหวัด ให้รีบประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อขอรับการสนับสนุนเครื่องจักรกลพิเศษหรือสรรพกำลังในการเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมวิกฤติปัญหาไฟป่าให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ชวนคนไทยตรวจสอบระบบไฟฟ้า 7 จุดควรระวัง ทั้งในบ้านและอาคารด้วยตัวเองเบื้องต้น รับมือฉลองเทศกาลสงกรานต์ พร้อมแนะบริการตรวจสอบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงในอาคาร Busduct / Busway หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยให้กับลูกค้ามากขึ้น จากสถิติกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันสาธารณภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคืออัคคีภัย 73% ทั้งในพื้นที่บ้านและอาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้สา
สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์
—
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...
มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี
—
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...
สกสว.พร้อมเป็นโซ่ข้อกลางรับมือเอลนีโญ สานทัพมหาดไทยหนุนทำแผนปฏิบัติการ
—
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุมทำแผนป...
ไทยเบฟ สนับสนุนทีม USAR ช่วยเหลือแผ่นดินไหวตุรกี
—
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดย คุณประวิช สุขุม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด...
ปิดท้ายคาราวาน "ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก" ส่งต่อ "การให้" ที่ยั่งยืน กับโครงการ "ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว ปีที่ 23" สู่พี่น้องชาวพะเยา
—
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ...
LINE ประเทศไทย เปิดตัว LINE ALERT บัญชีแจ้งเตือนภัยพิบัติร้ายแรง นำร่องความร่วมมือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ และกรมอุตุนิยมวิทยาฯ
—
LINE ประเทศไทย นำร...
28 เม.ย. วิศวะมหิดล - ปภ. เชิญร่วมสัมมนามาตรฐานบุคลากรกู้ภัยทางน้ำ-โครงการจัดตั้งสถานีฝึกกู้ภัยทางน้า (Water Rescue Training Center)
—
ประเทศไทยมีชื่อเสีย...