My Better Country เวทีทรานฟอร์มการมีส่วนร่วมของประชาชนสู่นวัตกรรมการพัฒนาบริการของรัฐ

30 Aug 2019
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร) คิดนอกกรอบใช้กระบวนการจากฝั่ง Startup เพื่อรับฟังแนวคิด สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาชนและหน่วยงานราชการ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ส่งเสริมการพัฒนาระบบการบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ และ ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น ตามกรอบการดำเนินงานของภาคีสมาชิกความร่วมมือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Partnership)
My Better Country เวทีทรานฟอร์มการมีส่วนร่วมของประชาชนสู่นวัตกรรมการพัฒนาบริการของรัฐ

"โครงการ My Better Country ได้ถูกริเริ่มจากการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นประเทศสมาชิกแห่งภาคีสมาชิกความร่วมมือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ หรือ OGP (Open Government Partnership) โดยคณะรัฐมนตรี เพื่อสร้างเสริมความโปร่งใสในการใช้อำนาจรัฐ ทั้งให้อำนาจภาคประชาชน ต่อต้านการทุจริต และนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานทั้งของภาครัฐและฝ่ายต่างๆ ครั้งนี้เราทดลองนำเครื่องมือฝั่ง Start up มาใช้เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชน เราอยากผลักดันให้บริการของรัฐออกแบบโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" นางอารีพันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการสำนักงาน ก.พ.ร กล่างถึงเป้าหมายของโครงการในครั้งนี้

โครงการ My Better Country ได้เริ่มดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดในการบูรณาการการมีส่วนร่วมของพลเมือง (Civic Engagement) และ เทคโนโลยี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ที่หลากหลาย ตรงจุด พร้อมทำได้จริง ทั้งจากภาคประชาสังคม ธุรกิจ และเทคโนโลยี เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ครบถ้วนทุกมิติ ผ่าน 3 กิจกรรมนำร่องได้แก่ My Better Country: Government Hackathon การระดมความคิดเพื่อประเทศที่ดีขึ้นกว่าเดิม Human Centered Design การออกแบบหลักสูตรจิตอาสาโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และ ME(e) Map การปักหมุดข้อมูลตามต้องการระบบหมู่บ้านเพื่อการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งการดำเนินงานทั้งสามส่วนได้สำเร็จลุล่วง เกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาได้จริงหลากหลายนวัตกรรม เช่น Police Artificial Intelligence หรือ หมวด PAI Chatbot ให้บริการข้อมูลประชาชนเกี่ยวกับสถานีตำรวจ แก้ไขความสับสนเชิงข้อมูลระหว่างภาคประชาชนและการทำงานของตำรวจ ผ่านเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งตำรวจและประชาชน ทั้งยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานของรัฐ หรือ โครงการ The Guide Light นวัตกรรมเพื่อสังคมในการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยให้กับผู้พิการทางสายตา ให้สามารถเรียนจบและประกอบอาชีพในฝันได้ ผ่านการพัฒนาเครื่องมือการเรียน (Toolkit) การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะ และ การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มบริษัทเพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกจ้างงาน ทั้งที่เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคมให้ผู้พิการทางสายตาในประเทศไทย

ทั้งสามส่วนประกอบเป็นภาพรวมของการดำเนินโครงการ My Better Country โดยสำนักงาน ก.พ.ร มุ่งหวังในการผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นประเทศสมาชิก OGP และ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาระบบราชการยุคใหม่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน ตามที่นางอารีพันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการสำนักงาน ก.พ.ร ที่ได้กล่าวถึงการดำเนินงานในครั้งนี้ว่าเป็นก้าวครั้งสำคัญของภาครัฐที่จะลดช่องว่างระหว่างรัฐและภาคประชาชน รับฟังปัญหาที่มาจากหลากหลายมุมมอง เปิดรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการออกแบบบริการของรัฐที่มีประสิทธิภาพและมีประชาชนเป็นส่วนร่วมสำคัญ

เกี่ยวกับ My Better Country

สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับมอบมหมายจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 ให้ส่งเสริมระบบ การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อ การบริหารราชการแผ่นดินตามหลักธรรมาภิบาล และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการ เข้าร่วมเป็นสมาชิก Open Government Partnership (OGP) เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมระหว่าง ประเทศให้เกิดขึ้น โครงการ My Better Country เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการของ Start up จัดกิจกรรมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและไอเดียจากภาคประชาชน ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมการคิดค้นนวัตกรรมแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยยกระดับการทำงานและการบริการของภาครัฐจำนวน 12 ไอเดีย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นส่วนราชการไทยประเภทกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาระบบราชการ ผ่านกลไกต่าง ๆ (ก.พ.ร. อ.ก.พ.ร. คตป.) เพื่อให้เกิด การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

HTML::image( HTML::image(