ชำแหละแผนช่วย Micro SME ผลักดันให้เติบโตและแข่งขันระดับสากล “นวัตกรรม” คำตอบสุดท้าย

11 Sep 2019
ไม่นานมานี้ หลายคนเริ่มโฟกัสกับคำว่า Micro SME ซึ่งรัฐบาลเตรียมผลักดันหวังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบาย "สร้างสังคมผู้ประกอบการให้เติบโต และก้าวสู่สากล เพิ่มความมั่งคั่งและยั่งยืน" ซึ่งถ้าหากมองจากตัวเลข GDP และสถิติต่างๆ ทางเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังเป็นปิรามิดฐานกว้าง ฐานล่างคนยากจนหนีไม่พ้นเกษตรกรกว่าสามสิบล้านคน ดังนั้นการสร้างโอกาสให้ "เกษตรกร" ก้าวสู่ "ผู้ประกอบการ" จึงเป็นภารกิจหลักของ สสว. ต้องทำให้ได้ ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์ของพันธกิจหลักนี้ คือ การจัดงาน "ผสาน สร้างสรร มุ่งมั่น ยั่งยืนสุดยอดผลิตภัณฑ์เครือข่ายวิสาหกิจกิจชุมชน & Product Champion 2019 ครั้งที่ 2" เพื่อยกระดับให้วิสาหกิจชุมชนไทยเติบโตอย่างเข้มแข็งและมั่นคง พร้อมสำหรับการแข่งขันในยุค 4.0 พร้อมสร้างเครือข่ายและสร้างรายได้ให้กับ 400 วิสาหกิจชุมชน ในงานทดลองกิจกรรมการตลาด ตลอดเดือน ก.ย. ณ ไอคอนสยาม สร้างเม็ดเงินและรายได้ให้กับผู้ประกอบการราวสิบห้าล้านบาท
ชำแหละแผนช่วย Micro SME ผลักดันให้เติบโตและแข่งขันระดับสากล “นวัตกรรม” คำตอบสุดท้าย

นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SME และ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานข้อมูลและสถานการณ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า Micro SME ที่เก็บสถิติได้ จำนวนที่ดูแลอยู่ ลงทะเบียนกับเรา ณ ตอนนี้ สามล้านหนึ่งแสนราย เรียนว่า จำนวนนี้ มีไมโครเข้าไปรวมด้วย แต่ก่อนเราแยกไซส์เป็นธุรกิจ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง แต่ตอนนี้เอากลุ่มไมโครเข้าไปรวมด้วย ภายใต้แผนพัฒนา ยกระดับแบบเดียวกัน จากสองล้านเก้า จึงเป็น สามล้านสอง

พันธกิจหลักของ สสว. ตามพรบ. คือ มีหน้าที่ส่งเสริมเอสเอ็มอี นโยบาย แผนยุทธศาสตร์ ปฏิบัติการ ให้ทุกหน่วยงานเอาไปใช้ ล่าสุดได้เป็น เจ้าภาพประชุมอาเซียน เรื่อง M SME บทบาทและแนวทางการ มีนโยบายการส่งเสริม ชัดมากขึ้น รวมถึงได้ร่วมมือต่างประเทศ และมีการจัดสารงบประมาณภาครัฐมาบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ

สำหรับ M SME คือ ผู้ประกอบการรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านต่อปี , SME ทรัพย์สินไม่เกินสองร้อยล้านบาท ตอนนี้ปรับห้าร้อยล้านบาท ปรับนิยามใหม่ เพราะของเดิมใช้ตั้งแต่ปี 2544 ตอนนี้ปี 2562 ประเทศเราเติบโตขึ้น แข็งแรงขึ้น เฉพาะ กลุ่ม ไมโคร เอสเอ็มอี ตอนนี้มีสองล้าน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการายเดียว วิสหากิจชุมชน ฯฃฯ

สถานการณ์ SME และโอกาสในอนาคต

ปัจจุบันภาครัฐเข้าไปส่งเสริมในหลายมิติ ให้กลุ่มได้ เรียนรู้พัฒนาตนเอง จะเห็นว่าแต่ก่อน เอสเอ็มอีเรา ไม่ได้ใส่ใจมาตรฐาน คุณภาพ การตลาด ขายแบกะดิน ธรรมดาทั่วไป พอภาครัฐเข้าไปช่วย ผ่านโครงการต่างๆ มากขึ้น จึงปรับตัวดีขึ้น พัฒนาให้มีมาตรฐานระดับเดียวกัน สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ไล่กันง่ายๆ สินค้า โอท็อป ก็ต้องมี อย. จะส่งออกต่างประเทศต้องผ่าน GMP และ HACCP เท่าที่เขาจะทำได้ สิ่งเหล่านี้ ทำให้ประกอบการตื่นตัว และปรับตัวขึ้นบ้าง แต่ยังไม่เพียงพอ สำหรับมาตรฐานเรื่องผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น มาตรฐานสถานประกอบการ ทำบัญชี ยังไม่เข้ามาตรฐาน หลายรายจะพบว่า ขายดีแต่ทำไมขาดทุน เพราะนั่นไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริง เราเข้าไปสอน เรียนรู้ ทำบัญชีให้ถูกต้อง คิดต้นทุน โคดราคา ข้อดีข้องการทำบัญชีให้ดี คุณจะเติบโตยั่งยืน ขอกู้แบงค์ก็ได้ แบงค์ยินดี เข้ามาช่วยเหลือ อาศัยทุนเราอย่างเดียว ไม่เพียงพอ

ปัญหาหลัก "เกษตรกร" เป็น "ผู้ประกอบการ"

เกษตรกรไม่ปรับตัว ขาดความเข้าใจในการเป็นผู้ประกอบการ ผลิตอยู่กับพื้นที่ ขาดองค์ความรู้ การตลาด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ และต้องเรียนรู้ให้เท่าทันกับโลก เดี๋ยวนี้ตลาดปรับเปลี่ยน ระบบออนไลน์ เข้ามาช่วยหลายกลุ่ม ภาครัฐพยายามวางโครงสร้าง และให้กลุ่มผู้ประกอบการทั่วประเทศได้ใช้ ขณะนี้มีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เพราะ สสว. เกือบทุกๆ โครงการ ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยการศึกษาของท้องถิ่นในการทำโครงการ ให้ความช่วยเหลือ อบรมสอน บางกลุ่มเก่งแล้ว แต่บางกลุ่มเช่นผู้สูงอายุ ที่ไม่มีลูกหลาน ขาดคนช่วย ตรงนี้เขาก็ทำสินค้าได้ดีมาก แต่ยังมีอุปสรรคตรงนี้

อยากรอด ต้องพัฒนาให้โดดเด่น

ทุกชุมชน สินค้าไม่ต่างกัน ตรงนี้เป็นปัญหาพอสมควร แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ผู้ประกอบการเองต้องพัฒนาสินค้าให้มีจุดด่น สร้างความแตกต่างในตัวสินค้า ยกตัวอย่างที่เราเจอ ข้าวแต๋น เหมือนกันหมด จากเดิมอาจมีเจ้าเดียว เจ้าที่ทำมาก่อนเป็นที่ยอมรับ เจ้าใหม่จะมา ต้องสร้างความแตกต่าง รสชาติ รูปแบบผลิตภัณฑ์ มีนวัตกรรม ทานแล้วยังไง สิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องพัฒนา มันไม่ใช่แค่ สีต่างกัน รสชาติต่างกัน แต่ต้องมีนวัตกรรมที่ดี คืออะไร ซึ่งเขาจะได้ความรู้นี้ได้อย่างไร สสว. ถึงได้ผลักดันให้ไปหามหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้ และมีอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับผลิตภัณฑ์นั้นๆ

ห้าดาว เตรียมผลักดันไป ตลาด ตปท.

แบ่งสองกลุ่ม ตลาดออฟไลน์ และ ตลาดต่างประเทศ ในการส่งเสริมไปเจาะตลาดต่างประเทศ เราเลือกผู้ประกอบการที่มีความพร้อม ต้องได้รับ GMP หรือ HACCP สะท้อนถึงศักยภาพในการผลิต จากนั้นมาศึกษาความเป็ฯไปได้ ดูว่าสินค้าของเขา เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่เพียงใด มองโอกาสให้กับเขา ดูจากเทรนด์ตลาดโลกด้วย เช่นตอนนี้ ออร์แกนิค ของใครออร์แกนิก และเป็นสินค้าที่ประเทศนั้นๆ มีความต้องการ หาความแตกต่างของโปรดักส์ ทำไมต้องซื้อของเรา เมดอินไทยแลนด์ ทำการบ้าน เรียนรู้ ยกตัวอย่างที่เราเป็นโค้ชจนสำเร็จ เคยพาผู้ประกอบการ กระดาษสา ไปออกงานที่ญี่ปุ่น ที่นั่นเขาก็มี แต่เขาเห็นของเรา แตกต่าง แล้วชอบ เพราะมีกลิ่นเพิ่มไป ทีนี้ เขาเห็น เขาแนะนำ ตามสิ่งที่เขาอยากได้ เขาอยู่คอนโด รักสะอาด ถามผู้ประกอบการว่า ทำได้ไหม ทำอย่างไรให้กระดาษสานี่ ดูดกลิ่นได้ อยู่ประมาณสักหนึ่งเดือน เป็นโจทย์ให้ผู้ประกอบการรับกลับมาพัฒนาสินค้าเลย ตอนนี้ทำส่ง ไดโซะ ที่ญี่ปุ่น ถึงบอกว่าต้องมีนวัตกรรม

HTML::image( HTML::image( HTML::image(