ผู้บริหารองค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับกระแสเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ที่กำลังเติบโต

          ผลสำรวจจากซีบราพบว่ามากกว่าครึ่งของผู้นำธุรกิจที่มีอำนาจตัดสินใจด้านคลังสินค้าวางแผนเปลี่ยนการทำงานบางส่วนเป็นระบบอัตโนมัติและนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานภายในปี 2024
          ซีบรา เทคโนโลยีส์ (สัญลักษณ์หุ้นในตลาด NASDAQ: ZBRA) ผู้นำด้านนวัตกรรมผ่านโซลูชั่นที่ทันสมัยและเครือข่ายคู่ค้าที่ครอบคลุมเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้องค์กรยุคใหม่ เผยผลสำรวจเกี่ยวกับ เทรนด์ในอนาคตด้านการจัดการคลังสินค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Warehousing Asia Pacific Vision Study)
          โดยผลสำรวจดังกล่าวเป็นการศึกษาสำรวจข้อมูลจากผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีและระบบปฏิบัติงานตั้งแต่อุตสาหกรรมการผลิต, การขนส่งและโลจิสติกส์, ค้าปลีก, การจัดส่งทางไปรษณีย์และพัสดุและการกระจายสินค้า ในการวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงานปัจจุบันและแนวทางในการวางแผนในการพัฒนาคลังสินค้า, ศูนย์กระจายสินค้า และฟูลฟิลล์เมนท์ เซ็นเตอร์
          มร. อิ๊ก จิน ทาน, ผู้จัดการฝ่ายเวอร์ติคอลโซลูชั่น อุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง และโลจิสติกส์ ประจำเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "การจัดการด้านคลังสินค้า, การกระจายสินค้า และบริการด้านฟูลฟิลล์เมนท์ กำลังก้าวเข้าสู่รูปแบบการปฏิวัติครั้งใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในยุคเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ ปัจจุบันผู้นำด้านการจัดการคลังสินค้าหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก โดยเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงผนวกกับการเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานเพื่อยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ การขยายพื้นที่ปฏิบัติงาน กระบวนการดำเนินงานรูปแบบใหม่ รวมไปถึงการปรับปรุงบริหารจัดการ ซึ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการปฏิวัติเท่านั้น ภายในปี 2567 ผู้นำด้านการจัดการคลังสินค้าจะมุ่งเน้นใช้โซลูชั่นการทำงานแบบบูรณาการเพื่อสร้างระบบการทำงานของข้อมูลที่สมดุลกันระหว่างพนักงานและระบบอัตโนมัติในคลังสินค้า และท้ายสุดเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของพนักงานที่ต้องพบปะลูกค้าให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น"
          การสำรวจเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านการจัดการฟูลฟิลล์เมนท์ที่หลายองค์กรกำลังให้ความสำคัญเพื่อรับมือกับการเติบโตของเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์พบว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจะวางแผนให้ความสำคัญกับทั้งระบบอัตโนมัติและระบบเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน มากกว่า 3 ใน 4 (81 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่าการเพิ่มจำนวนพนักงานพร้อมกับเทคโนโลยีเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการนำไปสู่ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ แต่มีเพียง 34 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าจะเริ่มต้นระบบการทำงานอัตโนมัติอย่างไร ปัจจุบันผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่า 88 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระหว่างการจัดการหรือกำลังวางแผนขยายคลังสินค้าภายในปี 2567 ในขณะเดียวกันมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะเพิ่มจำนวนคลังสินค้าในช่วงเดียวกัน
          คุณศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า "ผู้บริโภคในปัจจุบันค้นหาสินค้าและซื้อสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง พฤติกรรมผู้บริโภคที่ว่า "ฉันต้องการสินค้าเดี๋ยวนี้" ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั้งในด้านการผลิต ค้าปลีก และระบบปฏิบัติการคลังสินค้า ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที ผลสำรวจของซีบราพบว่า 49 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเผยว่าความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตธุรกิจ โดยเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการลดระยะเวลาการดำเนินงานให้สั้นลงเป็นสิ่งสำคัญในแผนการขยายธุรกิจและนำสู่การวางแผนกลยุทธ์รูปแบบใหม่"
          จากรายงานยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจได้แก่:ภายในปี 2567 ระบบอัตโนมัติจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าเข้ามาแทนที่พนักงาน
          - 57 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจวางแผนเปลี่ยนการทำงานบางส่วนเป็นระบบอัตโนมัติและนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในจัดการคลังสินค้า
          - 70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่าการบริหารจัดการโดยพนักงานเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสมดุลของระบบคลังสินค้า โดย 43 เปอร์เซ็นต์ ต้องการใช้ระบบทำงานอัตโนมัติจัดการในบางส่วน (พนักงานยังคงมีส่วนร่วม) และ 27 เปอร์เซ็นต์ ต้องการใช้ระบบการทำงานร่วมกัน (พนักงานทำงานร่วมกับอุปกรณ์ดีไวซ์)
          - ภายในปี 2567 ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจคาดว่าจะใช้หุ่นยนต์เพื่อจัดการสินค้าคงคลังขาเข้า (27 เปอร์เซ็นต์) การบรรจุภัณฑ์ (24 เปอร์เซ็นต์) และสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง/การรับสินค้า (21 เปอร์เซ็นต์) 
          การวางแผนกลยุทธ์ด้านฟูลฟิลล์เมนท์และการปฏิบัติงานยังคงมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ในระบบคลังสินค้า
          - 68 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญ
          - 68 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรเผยว่าการจัดหาพนักงาน/ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและประสิทธิภาพผลผลิตนั้นเป็นความท้าทายสำคัญที่องค์กรต้องเผชิญ ซึ่ง 62 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือเพิ่มผลผลิตของการทำงานเป็นทีม ในขณะที่ยังคงสอดคล้องกับขั้นตอนการทำงานที่ลื่นไหล 
          - ในอีก 5 ปีข้างหน้า การใช้ประโยชน์ด้านไอที/เทคโนโลยีถือเป็นความท้าทายด้านการปฏิบัติงานที่ใหญ่ที่สุด (68 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงการเพิ่มผลลัพธ์ระยะยาวสำหรับระบบการตรวจสอบสถานะสินค้า, เครื่องแนะนำการดำเนินงานอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ และการวิเคราะห์เชิงข้อมูลเพื่อขับเครื่องธุรกิจ
          - เมื่อคลังสินค้าขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจึงต้องการเพิ่มระบบการตรวจสอบสถานะตำแหน่งสินค้าและการดำเนินงานโดยเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ในการจัดการระบบปฏิบัติงาน (85 เปอร์เซ็นต์), วางแผนเส้นทางของการปฏิบัติงาน (85 เปอร์เซ็นต์), บริการเสริมเพิ่มเติม (84 เปอร์เซ็นต์) และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (88 เปอร์เซ็นต์)
          การลงทุนและการนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เข้ามาใช้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์
          - เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม (48 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้รับถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจคลังสินค้า
          - จำนวน 3 ใน 4 ของผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจ (75 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นตรงกันว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องปรับปรุงการดำเนินงานระบบคลังสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันยุคเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ แต่ยังอย่างไรก็ตามองค์กรยังคงปรับตัวอย่าล่าช้าสำหรับการใช้งานอุปกรณ์แบบพกพาและเทคโนโลยี
          - 73 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงระบบคลังสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการนำอุปกรณ์ดีไวซ์แบบพกพาเข้ามาเป็นเครื่องมือให้กับพนักงานภายในองค์กร ซึ่งภายในปี 2567 การทำงานแบบทันสมัยนี้จะถูกขับเคลื่อนโดยคอมพิวเตอร์พกพาระบบแอนดรอยด์โซลูชั่น (90 เปอร์เซ็นต์) ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) (60 เปอร์เซ็นต์) และระบบการจัดการคลังสินค้าเต็มรูปแบบ (WMS) (55 เปอร์เซ็นต์)
          - 66 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม เผยว่าในระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า เครื่องพิมพ์ฉลากบาร์โค้ดแบบพกพาหรืออุปกรณ์เครื่องพิมพ์เทอร์มอลจะเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรพิจารณาลงทุนเพิ่มจำนวนและอัพเกรดให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
          จากการสำรวจพบว่า
          ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
          - ภายในปี 2567 จำนวน 87 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีการวางแผนที่จะใช้ระบบอุปกรณ์แบบพกพา เพื่อช่วยให้การทำงานของพนักงานในพื้นที่คลังสินค้าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
          - 73 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีอำนาจการในตัดสินใจ เผยว่าภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า พวกเขามีการวางแผนที่จะลงทุนใช้สมาร์ทวอทช์, แว่นตาอัจฉริยะ และอุปกรณ์ดีไวซ์พกพาแบบคาดเอว
          ความเป็นมาและขั้นตอนการสำรวจ
          การศึกษาเทรนด์ในอนาคตด้านการจัดการระบบคลังสินค้าภายในปี 2567 ได้ทำการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,403 คน (352 ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจการดำเนินงานด้านระบบอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่ง, การค้าปลีก, การขนส่งทางไปรษณีย์ และตลาดผู้ค้าส่งในทวีปอเมริกาเหนือ, ละตินอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก โดยใช้บริษัท Qualtrics ในการสำรวจ

          เกี่ยวกับซีบรา เทคโนโลยีส์ 
          ซีบรา (NASDAQ: ZBRA) ช่วยเพื่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม ค้าปลีก/e-commerce อุตสาหกรรมโรงงานการผลิต อุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ และอื่นๆ ผ่านการทำงานควบคู่กับพันธมิตรกว่า 10,000 รายใน 100 ประเทศทั่วโลกเพื่อนำเสนอนวัตกรรมที่ตรงต่อความต้องการที่แตกต่างของแต่ละอุตสาหกรรม อีกทั้งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเชื่อมต่อการทำงานระหว่างคน วัตถุ และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้แก่ทุกธุรกิจและอุตสาหกรรม โซลูชั่นของซีบราช่วยยกระดับคุณภาพการบริการให้แก่ธุรกิจค้าปลีก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและระบุตำแหน่งให้ธุรกิจซัพพลายเชน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยให้แก่อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ ซีบราถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในร้อยบริษัทอเมริกันที่น่าทำงานมากที่สุด 4 ปีติดต่อกันโดยนิตยสารฟอร์บส ซีบราเพิ่มประสิทธิภาพให้ลูกค้าเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ https://www.zebra.com หรือติดตามข่าวสารได้ทาง LinkedIn, Twitter, Facebook


ข่าวo:busวันนี้

ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว คว้ารางวัล 2025 Thailand's Most Admired Brand ตอกย้ำแบรนด์สตรีทฟู้ดมหาชนของทุกคน

"ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว" แฟรนไชส์อาหารชื่อดังภายใต้ "ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น" คว้ารางวัล 2025 Thailand's Most Admired Brand หมวดช่องทางขายสมัยใหม่ กลุ่มแฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยวที่ครองใจผู้บริโภค จัดโดยนิตยสาร BrandAge และ BrandAge Online สะท้อนจากเสียงผู้บริโภคทั่วประเทศ โดยมี นายจาฏวัฒน์ อาขวาคม ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มงานการพาณิชย์ บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นตัวแทนรับมอบ ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ การมอบรางวัล Thailand's Most Admired Brand โดยนิตยสาร BrandAge จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้ง

บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกาศแป... TEGH ประกาศแปรสภาพ "TEBP" ขึ้นแท่น บ.มหาชน เดินหน้าเข้าตลาด mai เสริมทัพธุรกิจสร้างการเติบโต — บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกาศแปรสภาพบริษัทย่อย คื...

Thailand's globally renowned festivals, S... Unlocking Thailand's Festival Potential: Boosting Tourism through Songkran and Loy Krathong — Thailand's globally renowned festivals, Songkran and Loy Kra...

Digital Marketing คืออะไร Digital Marketi... Digital Marketing คืออะไร? เข้าใจการตลาดออนไลน์สำหรับยุคดิจิทัล — Digital Marketing คืออะไร Digital Marketing หรือ การตลาดดิจิทัล คือการทำการตลาดผ่านช่องท...