คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรพื้นที่ภาคใต้

          นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการดำเนินงานโครงการสำคัญตามแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ภาค ในส่วนของโครงการพัฒนาเกษตรกร ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (InnoAgri) ซึ่งดำเนินงานโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อส่งเสริมเกษตรปลอดภัยภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ 1.การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากทุเรียน ได้แก่ ทุเรียนสเปรด น้ำพริกกุ้งเสียบทุเรียนกรอบ และสแนคบาร์ทุเรียน เป็นต้น 2.แปลงสาธิตการนำ วทน. มาปรับใช้ในแปลงปลูกทุเรียน โอกาสนี้ ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. นักวิจัย วว. และหน่วยงานในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2562 ณ จังหวัดชุมพร
          ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. กล่าวว่า ภารกิจในการตรวจติดตามของคณะผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ในครั้งนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์โครงการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ดำเนินงานเพื่อยกกระดับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและใกล้เคียงเป็นเกษตรกรไฮเทค (InnoAgri farmer) ที่สามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะกับยุคสมัยใช้ในการลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและใกล้เคียงเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (InnoAgri Enterpreneur) ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใช้สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตผลและเพื่อสนับสนุนการสร้างเกษตรนวัตกรรมยั่งยืน (Inno Agri Sustainability) ด้วยการสร้างชุมชนเกษตรนวัตกรรม (InnoAgri village) ที่มีความสามารถในการนำ วทน. มาใช้เพิ่มผลิตภาพการผลิตทุเรียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ที่เน้นสร้างทายาทเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชน
ผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ มีดังนี้ 1.เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเกษตรกรไฮเทค 1,100 ราย
2. เกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ๒๐๐ ราย 3. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา/ยกระดับด้วย วทน. ๒๐ ชิ้น 4.ชุมชนต้นแบบการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า 3 แห่ง และ 5.ดำเนินการจัดทำสื่อองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเกษตร
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชุมพรพบว่า เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตที่เหมาะสม ตั้งแต่การให้น้ำ การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง ทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูง และเกษตรกรมีข้อจำกัดในการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป และการตลาดของผลิตผลในพื้นที่จังหวัดชุมพร
          ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว วว.และพันธมิตรคือสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีแนวทางนำ วทน. เข้าไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น อุปกรณ์วัดความชื้นในดินอย่างง่าย เพื่อปรับระยะเวลาการให้น้ำที่เหมาะสม การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้อุปกรณ์ปอกทุเรียนในการแปรรูปผลผลิต เพื่อลดระยะเวลาในการจัดการผลผลิต เป็นต้น
          จากการลงดำเนินงานในพื้นที่ วว.มีข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรในระดับพื้นที่ โดยการพัฒนาวิธีการในกระบวนการผลิตทุเรียนด้วย วทน. ให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่/เกษตรกรที่สนใจในการผลิตทุเรียน พรีเมี่ยม และในระดับนโยบายโดยการจัดสรรงบประมาณเพื่อนำความรู้ความเข้าใจและอุปกรณ์ในการนำ วทน. เข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตทุเรียน เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลโดยตรงต่อการผลิตทุเรียน

คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรพื้นที่ภาคใต้
 
คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรพื้นที่ภาคใต้
 
คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรพื้นที่ภาคใต้
คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรพื้นที่ภาคใต้
 
 
 
 

ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568" — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...