องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ร่วมกับนิเทศ จุฬาฯ จัดนิทรรศการ “เบื้องหลังจานโปรดโหดกว่าที่คิด”

29 Nov 2019
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ร่วมกับนิเทศ จุฬาฯ จัดนิทรรศการ "เบื้องหลังจานโปรดโหดกว่าที่คิด" เตือนภัยจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่รับผิดชอบ
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ร่วมกับนิเทศ จุฬาฯ จัดนิทรรศการ “เบื้องหลังจานโปรดโหดกว่าที่คิด”

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection) นำโดย นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ฟาร์ม ร่วมกับนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแสดงนิทรรศการ "เบื้องหลังจานโปรดโหดกว่าที่คิด" เพื่อรณรงค์และกระตุ้นเตือนถึงโทษของการใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาดในฟาร์ม ปศุสัตว์ พร้อมเรียกร้องให้เกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอย่างยั่งยืนและมุ่งลดการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทั่วโลก เพื่อสร้างความตื่นตัวในสัปดาห์ "รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาปฏิชีวนะสากล (Antibiotics Awareness Week)" ประจำปี พ.ศ.2562 ณ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า "เราเชื่อว่าการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ ควรเป็นไปเพื่อการรักษาสัตว์ที่เจ็บป่วยแบบรายตัว นั่นหมายถึงไม่ใช่เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยจากการเลี้ยงสัตว์อย่างทารุณ ดังนั้นการพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มจึงเป็นทางออกที่ดีของปัญหาที่ต้องร่วมกันเรียกร้องในวงกว้าง"

อนึ่งในปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนกว่า 131,000 ตันต่อปี โดยจำนวน 3 ใน 4 ของยาปฏิชีวนะทั่วโลกถูกใช้กับสัตว์ในฟาร์ม เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ซึ่งยาปฏิชีวนะเหล่านี้มักถูกใช้อย่างขาดความรับผิดชอบและเกินความจำเป็น เพื่อให้สัตว์ในฟาร์มสามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย ทารุณ และไม่มีสวัสดิภาพที่ดีได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ที่เรารับประทาน ตลอดจนทำให้สถานการณ์ของปัญหาแบคทีเรียดื้อยายิ่งวิกฤต และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นนางสาวศดานันท์ นานกระโทก นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า "นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องการเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงเพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้ให้แก่สังคมว่าอาหารที่เรารับประทานกันในชีวิตประจำวัน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างกายคนเราติดเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่หากเราช่วยกันรณรงค์และกระตุ้นให้เกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงสวัสดิภาพสัตว์ที่เหมาะสม ก็จะส่งผลที่ดีสุขภาพของผู้บริโภคอย่างเราเช่นกัน"

สำหรับการจัดนิทรรศการ "เบื้องหลังจานโปรดโหดกว่าที่คิด" ในสัปดาห์ รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาปฏิชีวนะสากล (Antibiotic Awareness Week) เป็นกิจกรรมเพื่อสื่อสารกับกลุ่มนิสิต-นักศึกษาที่จะเป็นกระบอกเสียงในการสร้างความตระหนักของภัยแบคทีเรียดื้อยา และเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน และเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตระหนักถึงปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมนำเสนอถึงอันตรายแอบแฝงที่ส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภคหากใช้ยาปฏิชีวนะเกินขนาด รวมถึงวิธีการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม เช่น หมูและไก่อย่างโหดร้ายทารุณ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิด "สืบสวนสอบสวน" ที่ทำให้ผู้ชมลุ้นระทึกไปกับการชมนิทรรศการ พร้อมร่วมค้นหาสาเหตุของการเกิดภัย และปิดท้ายด้วยการร่วมลงชื่อเพื่อร่วมเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในอนาคต

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและร่วมลงชื่อกับเราได้ที่ www.worldanimalprotection.or.th หรือร่วมแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ทางโซเชียลมีเดียของท่านพร้อมติดแฮชแท็ค #เบื้องหลังจานโปรดโหดกว่าที่คิด #AMR #BeAntibioticSmart

เกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก หรือ World Animal Protection เป็นองค์กรเพื่อคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพสัตว์ และยุติการทารุณกรรมสัตว์อย่างถาวร โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 มีบทบาทในการให้คำปรึกษากับองค์การสหประชาชาติและสภายุโรป ทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ สร้างความแตกต่างให้สัตว์ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ถูกทารุณกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยดำเนินงานครอบคลุมทั้งสัตว์ในชุมชน – สุนัข , สัตว์ป่า, สัตว์ประสบภัยพิบัติ - ช่วยเหลือสัตว์ในภาวะภัยพิบัติ การจัดหาอาหาร ที่อยู่และยารักษาโรคให้กับสัตว์, สัตว์ในฟาร์ม รวมถึงการให้ความรู้ด้านปศุสัตว์ที่มีมนุษยธรรมอันส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนและสัตว์ ข้อมูลเพิ่มเติม www.worldanimalprotection.or.th /

HTML::image( HTML::image( HTML::image(