เลขาธิการคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ในส่วนของผู้เรียนอาชีวศึกษา เป็นกำลังคนที่มีทักษะ ฝีมือ ในระดับช่างเทคนิค ถึงแม้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์จะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ผู้จบการศึกษาสายอาชีวะยังสามารถเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ในหลายภาคส่วน นอกจากนี้ในส่วน ของอาชีพช่างยนต์ ในประเทศยังมีรถยนต์กว่า 20 ล้านคัน ที่ยังที่ต้องอาศัยการบำรุงรักษา ตรงนี้ก็ยังเป็นส่วนของการเข้าสู่การมีงานทำ และสร้างอาชีพ ได้ตลอดเวลา รวมไปถึงการไปทำงานในกลุ่มซ่อมบำรุง ของสถานประกอบการต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม สอศ.ได้พยายามปรับตัวให้ทันกับเทรนด์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกที่ส่งผลต่อตลาดรถยนต์ในประเทศไทยที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง มนุษย์ เทคโนโลยี และเครื่องจักร เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่จะมีการพัฒนานวัตกรรมการขับขี่แห่งโลกอนาคตในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการใช้พลังงานทดแทน บทบาทของมนุษย์ในระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และเทคโนโลยีการขับขี่แห่งโลกอนาคตอีกด้วย ซึ่งสอศ.ก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิถีการจัดการเรียน การสอน ไปสู่ด้าน IT และด้านคอมพิวเตอร์ ด้านหลักสูตรก็จะต้องมีการเพิ่มทักษะที่จำเป็น (reskill ) และ เสริมทักษะใหม่ (upskill) ที่สำคัญไปพร้อมกัน พร้อมทั้งยกระดับของสมรรถนะในวิชาชีพช่างยนต์ รวมถึงการที่จะบูรณาการเข้าไปรองรับกับสังคมต่อไปด้วย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit