ในโอกาสนี้ คุณ Tjokorda Oka Artha Ardana รองผู้ว่าราชการจังหวัดบาหลี, คุณ I Gede Alit Widana รองผู้กำกับการตำรวจบาหลี, คุณ Agus Ngurah Krisna หัวหน้าอุทยานแห่งชาติบาหลีตะวันตก และคุณ Tony Sumampau ประธานสมาคม APCB ได้ร่วมลงนามในสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์นกและสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นๆ
ก่อนปล่อยนกได้มีการศึกษาถิ่นที่อยู่เพื่อประเมินความเหมาะสมสำหรับการปล่อยนก และพบว่าใน Bali Safari Park มีนกรวม 38 สายพันธุ์ ซึ่งบ่งชี้ว่าสถานที่นี้สามารถรองรับนกได้ในอนาคต
Bali Safari Park เป็นสถานที่อนุรักษ์ธรรมชาติชั้นนำในบาหลี โดยมุ่งมั่นปกป้องสัตว์สายพันธุ์ท้องถิ่นของอินโดนีเซียอย่างยั่งยืนในระยะยาว ผ่านโครงการผสมพันธุ์สัตว์และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
กรงผสมพันธุ์แบบปิดได้ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อนกเอี้ยงบาหลี (Leucopsar rothschildi) ซึ่งเป็นนกสายพันธุ์ท้องถิ่นของบาหลีที่ใกล้สูญพันธุ์
นกที่เกิดจากการผสมพันธุ์ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรนกเอี้ยงบาหลี ก่อนหน้านี้เคยมีโครงการปล่อยนกมาแล้ว แต่ไม่ได้ส่งผลมากนักต่อจำนวนประชากรนกในธรรมชาติ ความพยายามครั้งล่าสุดนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
บรรดานักอนุรักษ์ระบุว่าการเพิ่มจำนวนประชากรนกเอี้ยงบาหลีในธรรมชาติมีความท้าทายหลักสองประการ หนึ่งคือการขาดแคลนถิ่นที่อยู่ในการรองรับ และสองคือความสามารถของนกเอี้ยงบาหลีในการปรับตัวให้เข้ากับถิ่นที่อยู่
ความสำเร็จของโครงการปล่อยนกกิ้งโครงปีกดำ ณ สวนสัตว์เปิด Taman Safari Indonesia Bogor ในปี 2559 คือต้นแบบของโครงการปล่อยนกเอี้ยงบาหลีในครั้งนี้ โดยมีการปล่อยนกด้วยวิธีเดียวกัน
นอกจากนี้ Bali Safari Park ได้จัดโครงการรณรงค์ให้ประชาชนใน 3 หมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ Medahan, Lebih และ Serongga รวมถึงเด็กนักเรียนจากโรงเรียนประถม 9 แห่งรอบ Bali Safari Park มาร่วมปกป้องและดูแลนกที่ปล่อยสู่ธรรมชาติรวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ
ดูรูปภาพได้ที่นี่
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20190430/2451249-1
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit