มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา ปลื้มผลงานทีม “ศิลป์สร้างสรรค์สงขลา” คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ ประกวดดนตรี-การแสดงพื้นบ้าน

          มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา สุดปลื้ม ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา โชว์ผลงานระดับประเทศ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาคใต้ ประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน รับถ้วยเกียรติยศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท           
          ผศ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานหลักสูตรนาฏยรังสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย อ.ยุทธพงศ์ ช่วยนาเขต อาจารย์หลักสูตรนาฏศิลป์และการแสดง นำสมาชิกทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษาหลักสูตรนาฏยรังสรรค์และดนตรีไทย มรภ.สงขลา นักเรียน ร.ร.แจ้งวิทยา ร.ร.ทับช้างวิทยาคม อ.นาทวี ร.ร.คณะราษฎรบำรุง จ.ยะลา และนักดนตรีอิสระจากนครศรีธรรมราชที่ชื่นชอบการแสดงพื้นบ้านเหมือนกัน เข้าร่วมการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน รอบชิงชนะเลิศ ประจำปี 2562 รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ กรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่าทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาคใต้ รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล 80,000 บาท           
          ผศ.ทัศนียา กล่าวว่า ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาผ่านการคัดเลือกรอบตัวแทนภาคใต้ จาก 10 ทีมคัดเหลือ 3 ทีมเพื่อไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่กรุงเทพฯ ซึ่งการแสดงที่ใช้ประกวดค่อนข้างยาก ต้องร้อยเรียงการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ 5 ประเภท ได้แก่ ลิเกป่า โนราตัวอ่อน รองเง็ง ซัมเป็ง และ ลิเกร์ฮูลู ให้สวยงามกลมกลืน จึงต้องดึงเครือข่ายมาช่วยซ้อม แม้สมาชิกในทีมจะมีความหลากหลาย แต่การฝึกซ้อมร่วมกันกลับไม่ยากเลย ทุกคนเป็นมืออาชีพ ขณะแสดงบนเวทีมีความเป็นธรรมชาติและสนุกมาก โดยในการแสดงมีอาจารย์ผู้ควบคุมรวม 4 คน ได้แก่ 1. ลิเกป่า อ.ยุทธพงศ์ ช่วยนาเขต 2. รองเง็ง ซัมเป็ง ลิเกร์ฮูลู ผศ.ทัศนียา คัญทะชา 3.โนราตัวอ่อน ครูสิรินาฏ หาญณรงค์ ร.ร.แจ้งวิทยา (ศิษย์เก่านาฏยรังสรรค์ มรภ.สงขลา) 4. ดนตรี นายอภิชาติ คัญทะชา จากมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย เป็นผู้ควบคุมและถ่ายทอดเพลง
          "ในฐานะหนึ่งในทีมผู้ฝึกสอน รู้สึกดีใจและภูมิใจที่มีโอกาสได้นำการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ทั้ง 5 ประเภท มานำเสนอต่อสายตาสาธารณชน เพราะปัจจุบันการแสดงพื้นบ้านบางอย่างกำลังจะสูญหายไป ไม่ก็ประสบปัญหาขาดผู้สืบทอด อย่างเช่นลิเกป่า แต่เราก็ไปเก็บข้อมูลจากคณะลิเกป่าบ้านคลองปะเหลียน แล้วนำพัฒนาให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังรู้สึกดีใจมากๆ ที่มีเด็กและเยาวชนในทีม รวม 28 คน รักในศิลปะการแสดงพื้นบ้านเช่นเดียวกับเรา พวกเขาเหล่านี้จะเป็นผู้สืบทอดและนำพาให้การแสดงพื้นบ้านภาคใต้อยู่รอดต่อไป ไม่สูญหายไปจากภาคใต้บ้านเรา" ประธานหลักสูตรนาฏยรังสรรค์ กล่าว
          ด้าน นายกายสิทธิ์ ศิริแสง นักศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรนาฏยรังสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ผู้รับบทเป็นแขกแดง ลิเกป่า กล่าวว่า สิ่งที่ภูมิใจที่สุดคือได้รับโอกาสให้ร้องเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งประพันธ์โดย อ.มลิวัลย์ ทองขวัญ ครูภาษาไทย ร.ร.หาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ศิษย์เก่าเอกภาษาไทย มรภ.สงขลา ซึ่งในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ วินาทีที่ประกาศชื่อทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รู้สึกดีใจที่สุดแล้ว และที่ภาคภูมิใจมากกว่านั้นก็คือ ได้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้ และได้เผยแพร่วัฒนธรรมให้คนทั่วประเทศได้รู้ว่าศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้บ้านเรานั้น มีเสน่ห์และมีลวดลายลีลาที่สวยงามมากเพียงใด
มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา ปลื้มผลงานทีม “ศิลป์สร้างสรรค์สงขลา” คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ ประกวดดนตรี-การแสดงพื้นบ้าน
 
มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา ปลื้มผลงานทีม “ศิลป์สร้างสรรค์สงขลา” คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ ประกวดดนตรี-การแสดงพื้นบ้าน
มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา ปลื้มผลงานทีม “ศิลป์สร้างสรรค์สงขลา” คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ ประกวดดนตรี-การแสดงพื้นบ้าน
 
 
 
 

ข่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม+มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาวันนี้

เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม งานฉลอง 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 23 - 27 เม.ย.นี้

เปิดชมฟรี 5 วันเต็ม "รมว.ปุ๋ง" ชวนเที่ยวชมสัมผัสเสน่ห์พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน รื่นเริงกับการแสดงศิลปวัฒนธรรมแบบเต็มอิ่ม ย้อนวันวานชมหนังกลางแปลง งานฉลอง 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ 23 27 เม.ย.นี้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จัดงานใต้ร่มพระบารมี 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 23 27 เมษายน 2568 ใน 3 พื้นที่ ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"สุดาวรรณ" เผยบอร์ดอนุกรรมการมรดกโลกทางวั... บอร์ดอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ไฟเขียว เสนอ "พระปรางค์ วัดอรุณฯ" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก — "สุดาวรรณ" เผยบอร์ดอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม ไฟเขียว เสนอ "พระ...

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในงานแถลงข่า... แถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย — ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในงานแถลงข่าวโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริม...

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดร... Creative Media & TMF Awards 2025 ติดปีกความคิดสร้างสรรค์ สู่นวัตกรรมการสร้างสื่อ — กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดรับสมัครประกวดผลงาน สื่อปล...

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ ... โยทะกา จุลโลบล รางวัล "วัฒนคุณาธร" ประจำปี 2567 — เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี...

พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี ... พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมส่งเสริมมรดกภูมิปัญหาอาหารไทย สนับสนุนพื้นที่จัดงาน "ไทยฟุ้ง ปรุงไทย" — พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมส่งเสริมและเผยแ...

นายนภัต ตันสุวรรณ นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ... นศ.นิเทศหอการค้าคว้ารางวัลชนะเลิศ ประกวดออกแบบผ้าไหมไทย — นายนภัต ตันสุวรรณ นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้...