หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำของโลก ได้ประกาศแผนที่จะนำ Open Rack มาใช้ในศูนย์ข้อมูลคลาวด์สาธารณะใหม่ของหัวเว่ยทั่วโลก ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเพิ่มความยั่งยืนด้านสภาพแวดล้อม ของศูนย์ข้อมูลคลาวด์สาธารณะใหม่ของหัวเว่ย ด้วยการลดการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์ ขณะที่ผลักดันประสิทธิภาพการทำงานด้วยการลดเวลาที่ใช้ในการติดตั้งและบำรุงรักษาตู้แร็ค
โครงการ Open Rack ริเริ่มโดย Open Compute Project (OCP) ที่ต้องการกำหนดนิยามใหม่ให้กับตู้แร็คศูนย์ข้อมูล และเป็นหนึ่งในการพัฒนาที่น่าคาดหวังที่สุดในแวดวงสเกลคอมพิวติ้ง Open Rack คือมาตรฐานตู้แร็คครั้งแรกที่ออกแบบมาเพื่อศูนย์ข้อมูล ด้วยการรวมตู้แร็คเข้าในโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล อันเป็นกระบวนการดีไซน์แบบองค์รวมที่คำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกันของทุกสิ่งตั้งแต่กริดไฟฟ้า จนถึงเกทในชิปบนมาเธอร์บอร์ดแต่ละตัว Open Rack นั้นถูกเลือกใช้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ ๆ ของโลก เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิล และไมโครซอฟท์ เพื่อช่วยลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) และประหยัดพลังงานในการคำนวณขนาดใหญ่
Bill Carter ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของมูลนิธิ Open Compute Project Foundation กล่าวว่า "ผู้นำด้านวิศวกรรมและธุรกิจของหัวเว่ย ล้วนตระหนักถึงประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของ Open Rack และการสนับสนุนที่ได้รับจากฐานซัพพลายเออร์ทั่วโลก การให้บริการคลาวด์แก่ฐานลูกค้าทั่วโลกสร้างความท้าทายบางอย่าง ซึ่งความยืดหยุ่นของ Open Rack และความสามารถในการใช้การระบายความร้อนด้วยน้ำ ช่วยให้หัวเว่ยสามารถให้บริการในพื้นที่ใหม่ ๆ ได้ การตัดสินใจของหัวเว่ยที่เลือก Open Rack เป็นการรับรองได้เป็นอย่างดี"
นอกเหนือจากการนำ Open Rack มาใช้ในศูนย์ข้อมูลคลาวด์แล้ว หัวเว่ยยังได้ขยายขอบเขตการทำงานกับชุมชน OCP เพื่อขยายการออกแบบมาตรฐาน และพัฒนาเวลาในการเปิดตัวสู่ตลาดให้ดีขึ้น พร้อมยกระดับความสามารถในการให้บริการและลด TCO
เมื่อปีที่แล้ว หัวเว่ยได้ขึ้นเป็นสมาชิกระดับแพลตินัมของ OCP ส่วนในปีนี้ หัวเว่ยยังคงลงทุนและมุ่งมั่นใน OCP และชุมชนโอเพนซอร์ส หัวเว่ยมีส่วนร่วมในชุมชน OCP อย่างจริงจัง รวมถึงเข้าร่วมและสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของ OCP ที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น โครงการ Rack and Power, System Management และ Server พร้อมการสนับสนุนที่จำเป็นให้แก่สเปคที่จะมาถึงสำหรับโมดูลเร่งความเร็ว OCP, โซลูชัน Advanced Cooling Solutions และ OpenRMC
"การลงทุนเชิงกลยุทธ์และความมุ่งมั่นที่หัวเว่ยมีต่อ OCP นั้นให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย" Kenneth Zhang ผู้จัดการทั่วไปของ FusionServer ซึ่งเป็นแผนกธุรกิจคอมพิวติ้งอัจฉริยะของหัวเว่ย กล่าว "การผนวกรวมประสบการณ์ที่กว้างขวางของหัวเว่ยในแวดวงเทเลคอมและคลาวด์ เข้ากับความรู้ของชุมชน OCP ที่กว้างขวาง จะช่วยให้หัวเว่ยให้บริการโซลูชันที่ล้ำหน้า ยืดหยุ่น และเปิดกว้างให้แก่ลูกค้าทั่วโลก ในทางกลับกัน หัวเว่ยสามารถใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำในตลาดและโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลทั่วโลก เพื่อช่วยแนะนำ OCP ให้แก่พื้นที่และกลุ่มตลาดใหม่ ๆ ทั่วโลก"
ระหว่างการแถลงคำปราศรัยสำคัญที่งานประชุมสุดยอด OCP Global Summit นั้น หัวเว่ยจะแบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการปรับใช้ Open Rack และกลยุทธ์ OCP โดยรวม นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมีแผนที่จะจัดแสดงผลงานบางส่วนที่เป็นรากฐานของโซลูชันเหล่านี้ที่บูธด้วย ไม่ว่าจะเป็นโมดูลการคำนวณโดยอิงจาก OCP, ซีพียู Huawei Kunpeng 920 ARM CPU, โปรเซสเซอร์ Huawei Ascend 310 AI และผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์อัจฉริยะอื่น ๆ ของหัวเว่ย
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บูธของหัวเว่ย และเข้าร่วมฟังปาฐกถาและพบปะผู้บริหารได้ที่:
บูธหมายเลข: B2
กำหนดปาฐกถา: วันที่ 15 มีนาคม เวลา 11:38 น. ห้องแกรนด์บอลรูม
กำหนดพบปะผู้บริหาร: วันที่ 14 มีนาคม เวลา 14:05-14:30 น. ห้อง 210BF
เกี่ยวกับ หัวเว่ย
หัวเว่ย เป็นผู้ให้บริการชั้นนำของโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะ ด้วยโซลูชั่นครบวงจรที่ครอบคลุม 4 ขอบข่ายหลัก ได้แก่ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที อุปกรณ์อัจฉริยะ และบริการคลาวด์ เรามุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างแท้จริง
หัวเว่ย ให้บริการครบวงจรทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการ โดยมีศักยภาพโดดเด่นและปลอดภัย ผ่านการทำงานร่วมกันอย่างเปิดกว้างกับพันธมิตรในระบบนิเวศ เราสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนสำหรับลูกค้า ทำงานเพื่อส่งเสริมผู้คน เพิ่มคุณค่าให้ชีวิตในบ้าน และให้แรงบันดาลในการสร้างนวัตกรรมในองค์กรทุกขนาดและรูปร่าง
นวัตกรรมของหัวเว่ยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของลูกค้า เราลงทุนอย่างมากในการวิจัยพื้นฐาน มุ่งมั่นกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 180,000 คน และดำเนินงานในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก หัวเว่ยเป็นบริษัทเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นในพ.ศ.2530 และพนักงานทุกคนเป็นเจ้าของบริษัทร่วมกันอย่างแท้จริง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวเว่ยได้ที่ www.huawei.com หรือติดตามเราได้ทาง:
http://www.linkedin.com/company/Huawei
http://www.twitter.com/Huawei
http://www.facebook.com/Huawei
http://www.youtube.com/Huawei
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าผสานความร่วมมือกับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินงานโครงการความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาสุขภาพอนามัยที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน พร้อมทั้งสานต่อกิจกรรมโครงการ "รถดิจิทัลบัสเพื่อสังคม" ในวโรกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามงาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชาย
หัวเว่ยและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ร่วมลงนามในปฏิญญาความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาและสนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัล
—
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไท...
หัวเว่ย ผนึก ม.ศิลปากร รับแผนดึงเทคโนโลยี หนุนเป้าหมายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ด้วยดิจิทัล
—
หัวเว่ยร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการ...
หัวเว่ย เดินหน้าขยาย 'HUAWEI eKit' ตั้ง 'ทีซีที วาตาชิ' ปูพรมไอทีเจาะเอสเอ็มอี
—
หัวเว่ย ย้ำกลยุทธ์เจาะตลาดดิสทริบิวชัน (Distribution) ดันเทคโนโลยีล้ำยุคเ...
5 องค์กรภาคีผนึกกำลังเปิดหลักสูตร "โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง" รุ่นที่ 5
—
ผศ.ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตร " WELLN...
หัวเว่ยยกระดับความยิ่งใหญ่ Healthcare Summit ในไทย ผนึกกำลังพันธมิตรหนุนระบบนิเวศด้านสาธารณสุขอัจฉริยะครบวงจร
—
หัวเว่ยจัดต่อเนื่อง Huawei Intelligent Hea...
ก.แรงงาน จับมือ หัวเว่ย มุ่ง Upskill แรงงานเทคโนโลยีสีเขียวพร้อมเปิดศูนย์ฝึกอบรมโซลาร์เซลล์
—
วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมอาคารฝึกอบรม 3 สถาบันพัฒน...
สร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับยุคแห่ง AI ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย หัวเว่ยและกระทรวงดิจิทัลร่วมยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ในไทย
—
สร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับยุค...