พลาสติกเป็นปัญหามลพิษ ไม่ใช่ปัญหาขยะ และต้องเน้นการแก้ปัญหาตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงเมื่อพลาสติกหมดอายุการใช้งาน ข้อจำกัดของกรอบการปฏิบัติงานว่าด้วยขยะทะเล คือเน้นเพียงการจัดการปลายทางหลังจากมลพิษพลาสติกได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์กากของเสีย การจัดการของเสียและการกำจัดขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะจัดการขยะพลาสติกอย่างไรเพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะทะเล แต่ทุกประเทศต้องมุ่งไปที่ต้นตอ และลดการผลิตพลาสติกลงอย่างขนานใหญ่
ในขณะที่กรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลกล่าวถึงนวัตกรรมและทางเลือก แต่กลับขาดวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาระบบที่เหมาะสม ไม่ขึ้นอยู่แต่การแทนบรรจุภัณฑ์ด้วยวัสดุอย่างอื่นที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนอยู่ในจุดที่จะพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดที่มีต่อพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง
เพื่อการลดมลพิษพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นบนผืนดินหรือในทะเล ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องขับเคลื่อนให้เหนือไปกว่ากรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลและสร้างนโยบายในระดับประเทศเพื่อรับประกันว่าการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจะเหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ สามารถทำให้เกิดขึ้นโดยการออกข้อบังคับและการยกเลิกพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และออกกฎหมายที่เอื้อให้เกิดการออกแบบใหม่ของบรรจุภัณฑ์และระบบกระจายสินค้าออกสู่ตลาด
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลนั้นล้มเหลวในการพูดถึงปัญหาการนำเข้าขยะ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างต่อกรกับการค้าของเสียซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางนิเวศวิทยาและสังคม น่าเสียดายที่อาเซียนไม่ลงมือทำในเรื่องการค้าของเสีย(ถึงแม้ว่าจะนำเข้ามาเพื่อการรีไซเคิล)ทั้งๆ ที่การประชุมสุดยอดนี้ถึงเป็นเวลาที่ดีที่สุด
กรีนพีซย้ำข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนี้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit