ทช.ชี้แจงข้อเท็จจริงการดำเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกต่อประเด็นข้อเสนอแนะของกรีนพีซ

          นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยหลังจากที่กรีนพีซออกมาแถลงการณ์ในกรณีปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเล ในภูมิภาคอาเซียน และกรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้คำนึงถึงข้อเสนอแนะขององค์กรกรีนพีซและขอบคุณที่ได้แสดงความกังวลในสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ดังเช่นกรมฯ และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศที่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ 
          โดยกรมฯ ไม่ได้เพิกเฉยและมีการดำเนินการเพื่อสอดรับด้านต่างๆ ซึ่งทางกรมฯ เอง มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการจัดการปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะขยะทะเลซึ่งถูกยกเป็นประเด็นระดับโลก และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาขยะให้เป็นวาระแห่งชาติ เป็นนโยบายสำคัญที่ต้องเร่งรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน กรมฯ จึงดำเนินการสนองนโยบายร่วมบูรณาการโครงการบริหารจัดการขยะ ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นด้านขยะทะเล ตั้งแต่ปี 2559 
          ภายหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ ได้มีการรับรองเอกสารผลลัพท์ประกอบด้วยปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และกรอบปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลนั้น กรมฯ ได้ดำเนินโครงการที่สอดรับให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น การดำเนินงานตามกรอบปฏิบัติการอาเซียนด้านขยะทะเลโดยผ่านทางคณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง (AWGCME) โดยประเทศไทยได้เสนอตัวเป็นประเทศผู้นำในการดำเนินงาน ด้านการจัดการมลภาวะทางทะเลรวมถึงขยะทะเล และสมัครเป็นประธานคณะทำงานฯ ในปี 2563 แสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานและแหล่งทุนต่าง ได้แก่ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ธนาคารโลก (World Bank) และประเทศญี่ปุ่น โดยงบประมาณจากกองทุน Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF) และประเทศไทยโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Senior Official on Environment: ASOEN) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 8 – กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง2 กรกฎาคม 2562 เพื่อหารือแนวทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของอาเซียน โดยมีคณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง (AWGCME) คณะทำงานอาเซียนด้านการจัดการสารเคมีและของเสีย (AWGCW) และคณะทำงานอาเซียนด้านเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (AWGESC)
          นายจตุพร อธิบดี ทช. กล่าวว่า กรีนพีซได้ย้ำถึง 3 ข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนี้ 
          กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.ห้ามการนำเข้าขยะพลาสติก รวมถึงการนำเข้า "เพื่อรีไซเคิล" และรับรองว่าประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดจะให้สัตยาบันในข้อแก้ไขเพิ่มเติมในอนุสัญญาบาเซล (Basel Ban Amendment) 
          จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยมีคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ เมื่อวันที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง3 กรกฎาคม 256กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นองค์ประกอบ โดยมีหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการเพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้นโยบายว่าการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศให้คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นหลัก
          ประเทศไทยมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ "อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด" โดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาของประเทศไทยมีผลบังคับใช้ต่อไทยตั้งแต่ 254กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยได้มอบหมายหน่วยงานผู้มีอำนาจ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และศูนย์ประสานงาน: กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งมีกลไกการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ คือมีคณะอนุกรรมการอนุสัญญาบาเซล เพื่อให้การกำกับควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายระหว่างประเทศ และการป้องกันมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
          2.สร้างนโยบายระดับภูมิภาคแบบองค์รวมที่มุ่งสู่การลดการผลิต ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างมีนัยสำคัญ และเอื้อให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำและระบบทางเลือก
          ประเทศไทยได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติก ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ และมติรัฐมนตรีรับร่าง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ. 256กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - 2573) เมื่อวันที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง7 เมษายน 2562 โดยร่าง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ.256กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - 2573) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง4 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วยเป้าหมายที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การลดและเลิกใช้พลาสติกเป้าหมายด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง 7 ชนิด โดย 3 ชนิดเลิกใช้ภายในปี 2562 ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้าดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ็อกโซ่ และไมโครบีด/ 4 ชนิดที่เลิกใช้ภายในปี 2562 ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) และหลอดพลาสติก เป้าหมายที่ 2 การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในปี 257กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในส่วนของขยะในทะเลกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่
- การจัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศที่สำคัญ ได้แก่ ชายหาด ปะการัง และป่าชายเลน
- การนำมาตรการลดปริมาณขยะที่เหมาะสมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดปริมาณขยะลงทะเล
- การดำเนินงานทางวิชาการในการสำรวจและศึกษาข้อมูลขยะทะเลทั้งในด้านสาเหตุและผลกระทบ
- การจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลขยะทะเลตามมาตรฐานสากล (ICC) เพื่อเป็นข้อมูลการบริหารจัดการ
- ดำเนินงานเชิงรุกทั้งในระดับประเทศ เช่น เก็บขยะชายหาดสากล โครงการชายหาดปลอดบุหรี่ มีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในระดับภูมิภาค ผ่านองค์กรนานาชาติ ได้แก่ UNEP IOC และ ASEAN เป็นต้น
          3.ผลักดันกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีความยั่งยืนและเป็นธรรมบนพื้นฐานของแนวทาง zero waste
ประเทศไทยมีคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีคณะทำงานที่สอดรับการดำเนินงานในการผลักดันกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ ตั้งคณะทำงานด้านการพัฒนาและใช้ประโยชน์ขยะพลาสติก ด้านการจัดการขยะและสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยได้ดำเนินโครงการด้านการจัดการขยะและสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ในพื้นที่นำร่องเขตคลองเตย กรุงเทพฯและจังหวัดระยอง คณะทำงานด้านการพัฒนาและใช้ประโยชน์ขยะพลาสติก โดยมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการผลักดันกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนการดำเนินการอื่นๆ โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม ในการจัดการขยะพลาสติกที่ตกค้างบนบก รวมทั้งการตกค้างสะสมในทะเล/ การงดใช้กล่องโฟมและถุงพลาสติกหูหิ้วในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ/ โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero-waste school)/ การรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้า การนำแก้วน้ำมาเอง การเลิกใช้หลอดพลาสติก รวมถึงการจับมือกับภาคธุรกิจ เพื่องดการใช้ถุงพลาสติกใส่สินค้า เป็นการลดปริมาณขยะพลาสติก/ ใช้หลัก 3R ในชีวิตประจำวัน/ สนับสนุนการลดใช้พลาสติกที่เกินความจำเป็น การใช้ซ้ำ และการคัดแยกขยะ เพื่อการ recycle และ ดำเนินงานตาม campaign/ นโยบายของภาครัฐ "นายจตุพร กล่าว"
ทช.ชี้แจงข้อเท็จจริงการดำเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกต่อประเด็นข้อเสนอแนะของกรีนพีซ
 
ทช.ชี้แจงข้อเท็จจริงการดำเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกต่อประเด็นข้อเสนอแนะของกรีนพีซ

ข่าวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม+กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวันนี้

ซีพีเอฟ ร่วมอนุรักษ์ท้องทะเลไทย เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนอย่างยั่งยืนปล่อยปูม้า 20 ล้านตัว ปลูกต้นโกงกาง เก็บขยะชายหาดบางสน จ.ชุมพร

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และชุมชนชาวประมงพื้นบ้านบ้านหินกบ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ดูแลระบบนิเวศอ่าวไทย ประสานพลังพนักงานปล่อยลูกพันธุ์ปูม้า 20 ล้านตัวกลับคืนสู่ท้องทะเล ปลูกต้นโกงกาง 1,000 ต้น และเก็บขยะชายฝั่ง บริเวณชายหาด ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ โดยชมรมบำเพ็ญประโยชน์และชมรมท่องเที่ยวจิตอาสาได้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้น

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดงานวันทะเ... "ท่าเรือประจวบ" รับใบประกาศคุณประโยชน์ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลฯ — กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดงานวันทะเลโลก 2566 "เปลี่ยนพลิกฟื้น คืนโลกสีคราม Plan...

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธร... ปตท. ผนึกภาครัฐและภาคีเครือข่าย เร่งปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ มุ่งบรรลุเป้า Net Zero Emissions ปี 2050 — นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ...

นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการ และ น... JR ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 ปลูกป่าชายเลน "รักษ์โลก" จำนวน 40 ไร่ — นายนนทิกร กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการ และ นายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ ...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) รับมอบเคร... Dow รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง "รักษ์ทะเลยิ่งชีพ" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) รับมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง "ร...