คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร

          นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการดำเนินงานโครงการสำคัญตามแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ภาค ในส่วนของโครงการพัฒนาเกษตรกร ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (InnoAgri) ซึ่งดำเนินงานโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อส่งเสริมเกษตรปลอดภัยภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ 1.กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ตำบลสระแก้ว ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำกล้วยไข่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กล้วยไข่ผลสด การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากลำต้นกล้วยไข่ การขยายพันธุ์กล้วยไข่ (การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การชำเหง้า) การใช้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตกล้วยไข่ (แปลงสาธิต) 2.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวสร้อยสุวรรณ 3.กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยไข่ตำบลท่าพุทรา ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบงาดำจากแป้งกล้วยไข่ คุ๊กกี้ธัญพืชจากแป้งกล้วยไข่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบงาดำฯ/ชาเกสรดอกกล้วยไข่/ชาหัวปลีกล้วยไข่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น อาหารสัตว์จากใบกล้วยไข่ และการใช้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มปริมาณผลผลิตกล้วยไข่ (แปลงสาธิต) ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2562 ณ จังหวัดกำแพงเพชร
          ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. กล่าวถึงผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ InnoAgri ดังกล่าวว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่เป็นเกษตรกรไฮเทค (InnoAgri farmer) ที่สามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่เหมาะกับยุคสมัยใช้สำหรับการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (InnoAgri Entrepreneur) ด้วย วทน.ใช้สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตผล และเพื่อสนับสนุนการสร้างเกษตรนวัตกรรมยั่งยืน (InnoAgri Sustainability) ด้วยการสร้างชุมชนเกษตรนวัตกรรม (InnoAgri Village) ที่มีความสามารถในการนำ วทน. มาใช้เพิ่มผลิตภาพการผลิตกล้วยไข่ตลอดหัวโซ่คุณค่าที่มุ่งเน้น โดยผลลัพธ์ของโครงการในปีงบประมาณ 2562 นั้น เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการผลิตพืช/สัตว์ร้อยละ 30มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นหรือสร้างมูลค่าของสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ชุมชนเกษตรกรรมมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
          สำหรับผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ มีดังนี้ เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเกษตรกรไฮเทค 350 ราย เกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร 120 ราย ผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนา/ยกระดับด้วย วทน. จำนวน 16 ผลิตภัณฑ์ ชุมชนต้นแบบการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า 3 แห่ง และมีการดำเนินการจัดทำสื่อองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเกษตรเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
อย่างไรก็ตามในช่วงภัยแล้งช่วงเดือนธันวาคม 2561- เดือนเมษายน 2562 และวาตภัยช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 ได้สร้างความเสียหายแก่แปลงทดลองสาธิตกล้วยไข่ในพื้นที่ดำเนินโครงการ ได้มีการแก้ไขปัญหาโดยกลไกการบูรณาการ ได้แก่ การกำหนดปฏิทินการปลูกกล้วยให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเผยแพร่ผลงานวิจัยการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อลดความสูงของกล้วยและการตัดแต่งใบกล้วยในวงกว้าง
          ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ กล่าวสรุปว่า จากการดำเนินงานโครงการ วว. มีข้อเสนอแนะดังนี้ ในระดับพื้นที่ควรมีจัดแนวทางการพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ด้วย วทน.เป็นยุทธศาสตร์เร่งด่วนของจังหวัด และในระดับนโยบายควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาด้านการเกษตร ควรมีระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี เนื่องจากมีภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร
 
คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร
คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร
 
คณะผู้ตรวจราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการ InnoAgri วว. ด้านการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในจังหวัดกำแพงเพชร
 
 

ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568" — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...