ยูพีเอสชี้ฝ่ายจัดซื้อองค์กรในเอเชียใช้อีคอมเมอร์ซในสัดส่วนสูง ขณะที่การสื่อสารแบบออฟไลน์ยังมีบทบาทไม่น้อย

          ผลสำรวจจากยูพีเอสเกี่ยวกับแนวโน้มการจัดซื้อขององค์กรในเอเชียเผยแม้อัตราการสั่งซื้อออนไลน์เติบโต ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย การพูดคุยแบบเห็นหน้า และบริการหลังการขาย ยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจในการสั่งซื้อมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ 
          ยูพีเอสเผย ผลการศึกษาทิศทางการจัดซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเอเชียแปซิฟิก ปี ผลการศึกษา56ผลการศึกษา (ผลการศึกษาสินค้าออนไลน์เอเชียแปซิฟิก9 UPS Industrial Buying Dynamics Asia Pacific study) พบว่าผู้จัดซื้อในธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในสัดส่วนสูง และขณะเดียวกันยังคงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจและบริการหลังการขายที่ดี โดยทำการสำรวจผู้ซื้อในภาคอุตสาหกรรม กว่า 3,4สินค้าออนไลน์สินค้าออนไลน์ คนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้ 6สินค้าออนไลน์สินค้าออนไลน์ คนมาจากบริษัทต่าง ๆ ในจีน ญี่ปุ่น และไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อมูลเจาะลึกระดับภูมิภาคและแนวโน้มในแต่ละตลาดเพื่อช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ เชื่อมโยงกับผู้ซื้อในเอเชียได้ดียิ่งขึ้น 
          ซิลวี แวน เดน เคิร์กฮอฟ รองประธานฝ่ายการตลาด ยูพีเอส เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "สิ่งที่เราเห็นในเอเชียคือความสัมพันธ์ทางธุรกิจมีหลากหลายมิติ และช่องทางซื้อขายออนไลน์กำลังมาแรง แต่ขณะเดียวกัน รูปแบบการซื้อสินค้าแบบเดิม ๆ ก็เพิ่มมากขึ้น ผู้ค้าที่ต้องการทำธุรกิจในตลาดเอเชียจึงต้องหาจุดสมดุลจากแนวโน้มนี้ และจำเป็นต้องให้ความสำคัญทั้งกับช่องทางการค้าแบบอีคอมเมอร์ซและแบบเดิม ๆ ให้ดำเนินการอย่างสอดประสานกัน ควบคู่ไปกับบริการหลังการขายที่ดี เช่น การรับคืนสินค้าด้วยขั้นตอนง่าย ๆ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อให้กับผู้ซื้อ"
          ขณะที่ในภูมิภาคอื่น ๆ รูปแบบโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปมีบทบาทอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า แต่สำหรับเอเชีย การจะประสบความสำเร็จในตลาดนี้ แนวทางที่ควรทำคือให้พิจารณาผู้ซื้อจากหน้าที่การงาน มากกว่าสัญชาติหรืออายุ การศึกษาชี้ให้เห็นว่าเอเชียคือภูมิภาคที่มีความซับซ้อนสูงมาก ผู้ซื้อทุกคนต่างให้ความสำคัญกับความต้องการเฉพาะในการให้บริการองค์กรที่ตนทำงานอยู่ 
          รูปแบบการจัดซื้อขององค์กรกำลังเปลี่ยนไป
          ผลการศึกษาพบว่าการซื้อสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยผู้ซื้อในเอเชียตอบว่ามีแผนจะใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในห้าปีข้างหน้า ในกลุ่มผู้ที่ตอบว่าชื่นชอบช่องทางออนไลน์ ผู้ซื้อในญี่ปุ่นซื้อสินค้าออนไลน์ในสัดส่วน 3เอเชียแปซิฟิก% ซึ่งสูงกว่าผู้ซื้อในจีนและประเทศไทย ที่มีสัดส่วน เอเชียแปซิฟิก4% ทั้งคู่ ขณะเดียวกัน ในประเทศไทย บริษัทที่มีงบจัดซื้อสูงกว่าตอบว่าตนมีแนวโน้มจะหันไปซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้นในช่วงสามถึงห้าปีข้างหน้า ส่วนในจีน การสั่งซื้อออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือมีอัตราการเติบโตสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย 
          แม้ว่าผู้ซื้อในเอเชียมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น การศึกษายังพบว่า ในเอเชีย การยกหูโทรศัพท์คุยหรือพบปะกับตัวแทนของผู้ขายสินค้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป ผู้ซื้อในเอเชียให้ความสำคัญกับการทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในจีน ที่การทำธุรกิจร่วมกัน จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อกันให้เกิดขึ้นก่อน
          แนวโน้มการสั่งซื้อจากต่างประเทศมีมากขึ้น
          ในด้านการเลือกซื้อสินค้าจากผู้จำหน่ายในประเทศ เอเชียก็มีสัดส่วนสูงไม่ต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก คือ 67% ของการจัดซื้อภาคธุรกิจในเอเชียมาจากผู้จำหน่ายในประเทศ ขณะที่ในสหรัฐฯ อยู่ที่ 73% และยุโรปอยู่ที่ 64% แต่ประเทศที่เด่นชัดที่สุดคือญี่ปุ่น ซึ่งผู้ซื้อ 9สินค้าออนไลน์% เลือกซื้อสินค้าจากแหล่งจำหน่ายในประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในอนาคตอันใกล้อาจเปลี่ยนไป เนื่องจากญี่ปุ่นเพิ่งลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยเฉพาะกับสหภาพยุโรป สำหรับคำถามว่าอะไรคืออุปสรรคในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญสามลำดับแรกจากผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชียคือระยะเวลาส่งสินค้าที่นานกว่า (6สินค้าออนไลน์%) ความล่าช้าทางศุลกากร (55%) และความลำบากในการคืนสินค้า (45%) 
          บริการหลังการขายคือปัจจัยเสริมสร้างประสบการณ์ลูกค้า
          ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก บริการหลังการขายยังคงเป็นส่วนสำคัญสำหรับการจัดซื้อขององค์กร ในทุกประเภทของสินค้าและทุกภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่าผู้ซื้อในเอเชียจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับบริการหลังการขายมากกว่าผู้ซื้อในภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ได้แก่ การรับคืนสินค้า บริการรับของถึงที่สำหรับสินค้าที่ยากต่อการขนส่ง รวมทั้งบริการบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป สำหรับการส่งคืนสินค้า ในจีนและญี่ปุ่น บริการหลังการขายที่สำคัญที่สุดคือการบำรุงรักษาและซ่อมแซมถึงที่ ส่วนในประเทศไทย การรับคืนสินค้าคือประเด็นสำคัญที่สุด
          รัสเซล รี้ด กรรมการผู้จัดการ ยูพีเอส ประเทศไทย กล่าวว่า "การที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและ เทคโนโลยีส่งผลให้ประเทศไทยมุ่งสู่แนวทางเศรษฐกิจแห่งการสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเราเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตของไทย การเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าผู้จัดซื้อไทยในภาคธุรกิจให้ความสำคัญมากกับการคืนสินค้า ซึ่งบริการดังกล่าวนับเป็นหนึ่งในหลายโซลูชั่นที่ยูพีเอสมีรองรับ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสร้างจุดแข็งที่แตกต่างจากคู่แข่งได้ ข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษายังช่วยให้เรามอบโซลูชั่นที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ผลิตในประเทศไทยที่ต้องการแสวงหาโอกาสการเติบโตในตลาดภูมิภาคหรือตลาดโลกได้"
          เกี่ยวกับผลการศึกษา Industrial Buying Dynamics
          การศึกษาประจำปี ผลการศึกษา56ผลการศึกษา จัดทำในนามของยูพีเอสโดย Burke, Inc. โดยทำการสำรวจในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นฝ่ายจัดซื้อชิ้นส่วนอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ในสำนักงาน ใน เอเชียแปซิฟิก5 อุตสาหกรรม จำนวนกว่า 3,4สินค้าออนไลน์สินค้าออนไลน์ คนทั่วโลก โดยในจำนวนนี้ 6สินค้าออนไลน์สินค้าออนไลน์ คนอยู่ในเอเชีย 
          เกี่ยวกับยูพีเอส
          ยูพีเอส เป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจโลจิสติกส์ ด้วยโซลูชั่นต่าง ๆ ที่หลากหลายครบวงจรสำหรับการจัดส่งพัสดุภัณฑ์และคอนเทนเนอร์ บริการอำนวยความสะดวกสำหรับการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการมุ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการบริหารโลกของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยูพีเอสมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา และให้บริการในกว่า ผลการศึกษาผลการศึกษาสินค้าออนไลน์ ประเทศและเขตการปกครองต่าง ๆ ทั่วโลก ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัท สามารถค้นหาได้ที่เว็บไซต์ ups.com หรือ pressroom.ups.com และบล็อกขององค์กรที่ longitudes.ups.com ติดตามข่าวสารโดยตรงจากยูพีเอสได้ทาง Twitter ที่ @UPS_Asia

ยูพีเอสชี้ฝ่ายจัดซื้อองค์กรในเอเชียใช้อีคอมเมอร์ซในสัดส่วนสูง ขณะที่การสื่อสารแบบออฟไลน์ยังมีบทบาทไม่น้อย

ข่าวสินค้าออนไลน์+เอเชียแปซิฟิกวันนี้

Cortina Watch เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ Shop.CortinaWatch.com รุกค้าปลีกออนไลน์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ความพิถีพิถันคัดสรรเรือนเวลาหรู

Cortina Watch (คอร์ติน่า วอทช์) ผู้ค้าปลีก และตัวแทนจำหน่ายแบรนด์นาฬิกาหรูชั้นนำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์มค้าปลีกดิจิทัลใหม่ Shop.CortinaWatch.com ที่ได้รับการออกแบบเพื่อยกระดับประสบการณ์การเลือกซื้อนาฬิกาออนไลน์ที่นำความเห็นจากทุกด้านมาใช้พัฒนาอินเตอร์เฟซให้ง่ายต่อการใช้งาน ยกระดับฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และความพิถีพิถันในการคัดเลือกแบรนด์ รวมถึงนาฬิกาที่คู่ควรด้วยความใส่ใจอย่างไม่เคยเปลี่ยนแปลง พร้อมแล้วที่จะมอบประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว

FACEUP PRESSED POWDER แป้งฝุ่นอัดแข็งจาก ... เติมความไบรท์ให้ผิวด้วยแป้งฝุ่นอัดแข็ง Faceup Pressed Powder จาก COVERMARK — FACEUP PRESSED POWDER แป้งฝุ่นอัดแข็งจาก COVERMARK ประเทศญี่ปุ่น มอบผิวสว่างส...

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล... PDPC ร่วมตำรวจ-ธปท. ทลายขบวนการใช้ข้อมูลบัตรเครดิตผิดกฎหมาย ยึดกว่า 3.3 ล้านรายการ — สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC โดย พ.ต.อ....

อนาคตค้าส่งออนไลน์: ธุรกิจปรับตัวสู่ยุคดิ... ผู้ประกอบการรายย่อยแห่สั่งสินค้าออนไลน์ ดัน Makro Pro ขึ้นแท่นอันดับ 1 Grocery E-Commerce Platform ของไทย — อนาคตค้าส่งออนไลน์: ธุรกิจปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล...

SM กางแผนปี 68 ตั้งเป้ารายได้โต 15% ออลไท... SM กางแผนปี 68 ตั้งเป้ารายได้โต 15% ออลไทม์ไฮ — SM กางแผนปี 68 ตั้งเป้ารายได้โต 15% ออลไทม์ไฮ ลุยขยายช่องทางขายออนไลน์-ออฟไลน์-จับมือพันธมิตรใหม่ เ...

เปิดศักราชใหม่รับปีงู LINE MAN MART ชวนคน... LINE MAN MART ชวนช้อปลดหย่อนภาษี ลดเพิ่ม 20% แจกหนักทั้งลูกค้าเก่า-ใหม่ หนุน Easy E-Receipt 2.0 — เปิดศักราชใหม่รับปีงู LINE MAN MART ชวนคนไทยช้อปสินค้าออ...

เครื่องสำอาง PAUL & JOE (พอล แอนด์ โจ) จา... ปรนนิบัติผิวกายให้ชุ่มชื้นตลอดคืน ด้วยทรีตเมนต์ใหม่ล่าสุดจาก พอล แอนด์ โจ — เครื่องสำอาง PAUL & JOE (พอล แอนด์ โจ) จากประเทศฝรั่งเศส แนะนำ TREATMENT BODY ...

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2024 ณ โรงแรม Cent... FastShip ร่วมแบ่งปันความรู้ในงาน Seller Meet Up by Amazon สนับสนุนผู้ขายไทยสู่ตลาดโลก — เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2024 ณ โรงแรม Centara Riverside เชียงใหม่ ไ...