ประเทศไทยพร้อมสัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ขึ้นด้วยเทคโนโลยีเครื่องยนต์อัจฉริยะ บ๊อชนำเสนอโซลูชันส์ที่ก้าวล้ำด้านระบบส่งกำลังไฟฟ้าและเทคโนโลยีระบบเบรก

27 May 2019
- มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกต่อปี
ประเทศไทยพร้อมสัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ขึ้นด้วยเทคโนโลยีเครื่องยนต์อัจฉริยะ บ๊อชนำเสนอโซลูชันส์ที่ก้าวล้ำด้านระบบส่งกำลังไฟฟ้าและเทคโนโลยีระบบเบรก
  • แบตเตอรี่ไฮบริด 48 โวลต์ของบ๊อชออกแบบมาเพื่อลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • เทคโนโลยี iBooster ของ ESP(R)hev สร้างฝุ่นจากเบรกน้อยลงถึงร้อยละ 95 พร้อมช่วยลดปัญหาการปล่อยฝุ่นละอองในเมือง
  • การเข้าซื้อกิจการ EM-motive ทำให้บ๊อชเป็นผู้นำตลาดด้านการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

การก้าวสู่ความเป็นเมือง คือปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองสำคัญอื่นๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็วทั่วประเทศไทย เมื่อเมืองเหล่านี้มีความทันสมัยมากขึ้น ความต้องการด้านการขนส่งและการเดินทางจึงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยรายงานเกี่ยวกับเมืองของโลก โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations' World Cities) ประจำปี 2559 ระบุว่าภายในปี 2573 จะมีผู้อยู่อาศัยในเมืองอย่างน้อย 5,000 ล้านคนทั่วโลกและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภูมิภาคเดียวจะมีคนจะย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองถึง 90 ล้านคน โดยมีการคาดการณ์ว่าการจราจรในเมืองจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่านับตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงปี 2593 ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการจราจรติดขัด อุบัติเหตุทางการจราจรและมลพิษที่เพิ่มขึ้น

"บ๊อชมุ่งหวังให้ถึงวันที่การเดินทางในเมืองของประเทศไทยปราศจากความเครียด อุบัติเหตุและมลพิษ จึงก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ซึ่งสามารถบรรลุผลได้ด้วยระบบนิเวศที่ยั่งยืนด้วยการผสมผสานโซลูชันส์ทางเลือกด้านการคมนาคมขนส่งและการสร้างเครื่องยนต์เพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยกว่า สะดวกสบายกว่า และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" นายมาร์ติน เฮย์ส ประธานบริษัทบ๊อชประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลไทย ซึ่งครอบคลุมถึงแผนแม่บทด้านการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม โดยโครงการหลักในกรุงเทพฯ ประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่เชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อและการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการร่างชุดแผนกลยุทธ์ที่รัฐบาลจะช่วยเอื้ออำนวยต่อความเจริญทางเศรษฐกิจด้วยการก้าวไปสู่สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ให้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าและสุขภาพที่ดีขึ้น

การศึกษาที่ดำเนินการโดย World Economic Forum ระบุว่าทั่วโลกมีมลพิษทางอากาศที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 7 ล้านคนต่อปี และทำให้คนอายุสั้นลงโดยเฉลี่ย 1.8 ปี ในขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังประสบภาวะสำลักฝุ่นควันที่หนา โดยประเทศต่าง ๆ ได้นำวิธีการที่เข้มข้นไปใช้ในการปรับสภาพอากาศ เช่น การกระตุ้นเมฆฝน และการกำจัดหมอก ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 ที่เป็นอันตรายเกินขีดความปลอดภัยในกรุงเทพฯ เชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง ปรากฏการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ทั้งหมดต้องได้รับการพิจารณาหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน

แนวทางของ Bosch สำหรับการการเดินทางในเมือง

ระบบส่งกำลังไฟฟ้าที่บ๊อชผลิตขึ้นมาทั่วโลกนั้นได้นำไปใช้กับรถมากกว่า 5 แสนคันบนท้องถนน ในประเทศไทย ยานยนต์แบบไฟฟ้าไฮบริด (HEV) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของระบบส่งกำลังไฟฟ้าชนิดนี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการปรับปรุงคุณภาพอากาศในเมือง

ระบบแบตเตอรี่ไฮบริด 48 โวลต์

ผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่ายต่างมุ่งมั่นที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในทางปฏิบัติแล้วหมายถึงการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ โดยแบตเตอรีบ๊อช 48 โวลต์ได้รับการออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่บ๊อชใช้มีขนาดกะทัดรัดที่สุดในขณะที่ยังคงสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ส่วนแบตเตอรี่ 48 โวลต์ที่เป็นนวัตกรรมของบ๊อช ได้รับการรับรองมาตรฐานสำหรับการใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรถไมโครคาร์ สนนราคายังช่วยให้มันกลายเป็นพลังงานไฮบริดสำหรับทุกคนได้ ทั้งนี้ขณะที่ตลาดไฮบริดขยายตัว บ๊อชคาดว่าแบตเตอรี่ของทางบริษัทจะประสบความสำเร็จในภูมิภาคด้วย

การผลิตแบตเตอรี่ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายปี 2561 โดยบ๊อชได้แบตเตอรี่ขนาด 48 โวลต์ พร้อมสร้างสรรค์ส่วนประกอบของระบบส่งกำลังเพื่อหวังเข้าถึงตลาดยานพาหนะระบบไฮบริดระดับเริ่มต้นที่มีขนาดใหญ่ ทั้งนี้บริษัทคาดการณ์ว่ารถยนต์ไฮบริดขนาด 48 โวลต์จำนวน 15 ล้านคันจะออกสู่ตลาดภายในปี 2568

ฝุ่นจากเบรกน้อยลงร้อยละ 95 ด้วยระบบเบรกแบบใหม่

ระบบเบรกเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถยนต์ ระบบจะแปลงแรงเบรกจากผู้ขับขี่ให้กลายเป็นการเบรกที่ต้องการในรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่ายานพาหนะจะหยุดอย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม ในวันนี้มีอีกเหตุผลที่ระบบเบรกเป็นจุดสนใจของผู้คน นั่นคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มลพิษจากฝุ่นละอองจากการจราจรส่วนใหญ่บนถนนเกิดจากถนน ยางรถยนต์ และผ้าเบรกมากกว่าการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลประเทศเยอรมนีระบุว่าเบรกและยางมีผลร้อยละ 32 ในการปล่อยฝุ่นละออง และครึ่งหนึ่งเป็นฝุ่นจากเบรก การลดฝุ่นจากเบรกจึงช่วยให้อากาศในเมืองดีขึ้นได้

ระบบเบรกเทคโนโลยีรีเจนเจอเรทีฟ (Regenerative braking systems) ช่วยให้ระบบเบรกสามารถฟื้นพลังงานเบรกแทนการใช้เบรกแบบเสียดทาน (friction brake) และยังช่วยการเบรกนั้นปลอดมลพิษ การเผาไหม้ของเครื่องยนต์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจำเป็นต้องอาศัยโซลูชันในแบบโมดูลาร์ และ scalable vacuum-independent ทั้งนี้ iBooster ซึ่งเป็นหม้อลมเบรกที่ใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถใช้ได้กับยานพาหนะทุกประเภท โดยเฉพาะรถยนต์แบบไฮบริดและรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หม้อลมเบรกชนิดนี้ช่วยลดระยะเบรกและทำให้รถยนต์ไฮบริดและรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยประหยัดการใช้เชื้อเพลิงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการจราจรในเมืองที่ต้องมีการเบรกและเร่งความเร็วตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อ ใช้ร่วมกับเทคโนโลยี ESP(R)hev ระบบเบรกแบบใหม่ที่ใช้สุญญากาศสำหรับรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทำให้การแปรรูปเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานสามารถช่วยลดฝุ่นละอองการจากเบรกได้ถึงร้อยละ 95

การเดินทางแห่งอนาคต

ระบบการส่งกำลังที่ประหยัดพลังงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิธีแก้ปัญหาด้านพลังงานและภาวะโลกร้อน บ๊อชเชื่อว่าเครื่องยนต์ที่สันดาปภายในที่เหมาะสมและระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญต่ออนาคตของการคมนาคมภายในเมืองและทางบริษัทจะยังคงพัฒนาและปรับปรุงระบบการส่งกำลังทั้ง 2 ประเภทต่อไป

เมื่อต้นปีนี้บ๊อชได้เข้าซื้อหุ้นของ EM-motive ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าของยุโรป ทั้งนี้ EM-motive ก่อตั้งขึ้นโดยบ๊อชและเดมเลอร์ในปี 2554 ในฐานะบริษัทร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 50:50 โดยทาง EM-motive ได้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 450,000 ตัว การซื้อบริษัทในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับบ๊อชในฐานะผู้นำด้านการคมนาคมด้วยระบบไฟฟ้า ทั้งยังช่วยผลักดันขีดจำกัดทางเทคนิคให้เกิดขึ้นจริงได้ต่อไป

"สำหรับบ๊อช การให้หลักประกันเรื่องอากาศที่บริสุทธิ์ในเมืองของประเทศไทยไม่ได้ไกลจากความเป็นจริงเลย ทั้งนี้เพราะวิศวกรของเรามีความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เมืองของเราน่าอยู่และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น" คุณเฮย์สกล่าว

เกี่ยวกับบ๊อชในประเทศไทย

บ๊อชได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ปัจจุบัน บ๊อชสร้างความหลากหลายในธุรกิจถึงสี่ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน เทคโนโลยีอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร บริษัทมีโรงงานผลิตในธุรกิจโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อนถึงสามแห่ง พร้อมทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา อีกทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการสำหรับอุปกรณ์ไฮดรอลิกและเครื่องจักรในจังหวัดระยอง ในปีที่ผ่านมา บ๊อชในประเทศไทยมีพนักงานกว่า 1,500 คน

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.bosch.co.th และhttps://www.facebook.com/BoschThailand.

เกี่ยวกับกลุ่มบ๊อช

กลุ่มบริษัทบ๊อช ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเทคโนโลยีและบริการชั้นนำของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 410,000 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561) ปี 2561 บริษัทมียอดขายรวมทั้งสิ้นกว่า 78.5 พันล้านยูโร โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจสำคัญได้แก่ กลุ่มโซลูชั่นส์แห่งการขับเคลื่อน กลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานและอาคาร ในฐานะผู้นำทางด้าน IoT (Internet of Things) บ๊อชนำเสนอนวัตกรรมแห่งโซลูชั่นส์เพื่อบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ยานยนต์ และ อุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อถึงกัน ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเซนเซอร์ ซอฟท์แวร์ และการให้บริการ รวมถึงไอโอทีคลาวด์ของบ๊อชเอง เราจึงสามารถให้บริการโซลูชั่นส์ที่เชื่อมต่อแบบข้ามโดเมนได้เบ็ดเสร็จจากแหล่งเดียว เป้าหมายกลยุทธ์ของเรา คือการส่งมอบนวัตกรรมและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อชีวิตที่เชื่อมต่อถึงกัน ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเสนอคำตอบที่ล้ำสมัยและเป็นประโยชน์ที่นับได้ว่าเป็น "เทคโนโลยีเพื่อชีวิต" กลุ่มบ๊อช ประกอบด้วยบริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช และบริษัทในเครืออีกกว่า 460 บริษัท รวมถึงสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศต่าง ๆ อีกกว่า 60 ประเทศ หากรวมบริษัทคู่ค้าผู้จัดจำหน่ายและให้บริการต่าง ๆ ทั้งส่วนการผลิต งานวิศวกรรม และเครือข่ายด้านการขาย บ๊อชครอบคลุมอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก เพราะพื้นฐานสำคัญสำหรับการขยายตัวในอนาคตของบริษัทขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรม บริษัทจึงมีพนักงานในส่วนการวิจัยและพัฒนากว่า 68,700 คน ในศู นย์วิจัยกว่า130 แห่งทั่วโลกในปัจจุบัน

HTML::image( HTML::image(