ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ กล่าวด้วยว่า สาระสำคัญของร่างมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาตินั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการดูแลพัฒนาและจัดการศึกษา และการดำเนินงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดที่ดูแลเด็กในเวลากลางวัน ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด - 6 ปีบริบูรณ์ หรือก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ป.1) ที่สามารถนำไปใช้ประเมินการดำเนินงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในทุกสังกัด ประมาณกว่า 53,335 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดบริการและความต่อเนื่องของการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยกำหนดมาตรฐานย่อย 3 ด้าน คือ 1.ด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 2.ด้านครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแลและจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และ 3.ด้านคุณภาพของเด็กปฐมวัย แบ่งเป็นเด็กแรกเกิด - อายุ 2 ปี และเด็กอายุ 3 - 6 ปี หรือช่วงก่อนเข้าศึกษาระดับ ป.1 ซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของเด็กและควรได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิดและมีความต่อเนื่องสอดคล้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580)
"สกศ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.พ.ป. จะได้เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเตรียมจัดประชุมชี้แจง แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พร้อมคู่มือมาตรฐานฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่มีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและสถานศึกษาในสังกัดจำนวนมาก ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันแล้วขับเคลื่อนการนำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พร้อมคู่มือมาตรฐานสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยแห่งชาติสู่การปฏิบัติ หลังจากนี้ สกศ. จะได้เร่งจัดพิมพ์มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ฉบับที่ ครม. ให้ความเห็นชอบ พร้อมกับแจกจ่ายคู่มือมาตรฐานฯ เผยแพร่สู่สาธารณะอย่างกว้างขวางต่อไป" ดร.วัฒนาพร กล่าว.
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit