เอเอ็มดีโชว์เทคโนโลยีประมวลผลประสิทธิภาพสูงสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ในงาน Next Horizon

          — เปิดตัวจีพียู 7 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลก สำหรับ Machine Learning และ AI พร้อมสาธิตซีพียู x86 ขนาด 7 นาโนเมตรรุ่นแรกของโลก ขับเคลื่อนด้วยแกนประมวลผล"Zen โปรเซสเซอร์" และดีไซน์ชิปเล็ดที่ก้าวล้ำ —
          — Amazon Web Services เปิดตัวอินสแตนซ์เซิร์ฟเวอร์รุ่นยอดนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์ AMD EPYC —

          เอเอ็มดี (NASDAQ: AMD) ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมด้านการประมวลผลสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่งาน Next Horizon ในนครซานฟรานซิสโก ด้วยการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการประมวลผลและกราฟิกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต7 นาโนเมตร ซึ่งเตรียมที่จะวางจำหน่ายในอนาคต โดยผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่นี้ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อขยายขีดความสามารถของดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทันสมัย ภายในงานดังกล่าว เอเอ็มดีได้เปิดเผยข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอร์โปรเซสเซอร์ "Zen โปรเซสเซอร์" รวมไปถึงดีไซน์ซีพียู x86 แบบใหม่ที่ใช้ชิปเล็ต (Chiplet) และพร้อมกันนี้ ยังได้เปิดตัวจีพียู 7 นาโนเมตร รุ่น AMD Radeon Instinct(TM) MI6ดาต้าเซ็นเตอร์ และเปิดให้สาธารณชนได้รับชมการสาธิตเป็นครั้งแรกสำหรับโปรเซสเซอร์ EPYC(TM) ขนาด 7 นาโนเมตร ที่ใช้ขับเคลื่อนเซิร์ฟเวอร์ ภายใต้โค้ดเนม "Rome" ทั้งนี้ Amazon Web Services (AWS) บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ครบวงจรและได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุดในโลก เข้าร่วมกับเอเอ็มดีในงานดังกล่าว เพื่อเปิดตัวอินสแตนซ์ยอดนิยม ขับเคลื่อน รุ่นบนAmazon Elastic Compute Cloud (ECโปรเซสเซอร์) ซึ่งขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์ EPYC(TM) ของเอเอ็มดี
          ดร. ลิซ่า ซู ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอเอ็มดี กล่าวว่า "เราได้ลงทุนเป็นระยะเวลาหลายปีในแผนการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ส่งผลให้ซีพียูและจีพียูของเราได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ องค์กรขนาดใหญ่ และลูกค้าที่ใช้ระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) เรามีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเร่งการเติบโตสำหรับธุรกิจของเรา ด้วยการนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์ซีพียูและจีพียูสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและความหลากหลายมากที่สุดในอุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตร ซึ่งจะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงไม่กี่ไตรมาสนับจากนี้"

          ข้อมูลอัพเดตเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมการประมวลผลของเอเอ็มดี
          นับเป็นครั้งแรกที่เอเอ็มดีเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับซีพียู x86 ประสิทธิภาพสูง "Zen โปรเซสเซอร์" ที่เตรียมเปิดตัวในไม่ช้า โดยซีพียูดังกล่าวมาพร้อมกับดีไซน์ระบบแบบแยกส่วน (Modular) ที่แปลกใหม่ ซึ่งใช้การเชื่อมต่อ AMD Infinity Fabric รุ่นปรับปรุง เพื่อเชื่อมโยงแต่ละชิ้นส่วนของซิลิคอน หรือที่เรียกว่า "ชิปเล็ต"(Chiplet) ซึ่งอยู่ภายในแพ็คเกจโปรเซสเซอร์เดียวกัน โปรเซสเซอร์แบบมัลติชิปนี้ใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตรสำหรับคอร์ซีพียู "Zen โปรเซสเซอร์" และใช้เทคโนโลยีการผลิต เซิร์ฟเวอร์4 นาโนเมตรสำหรับส่วนอินพุต/เอาต์พุตของชิป ผลลัพธ์ที่ได้คือ ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นอย่างมาก เพราะมีคอร์ซีพียูมากขึ้น แต่กินไฟเท่าเดิม และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีต้นทุนต่ำกว่าดีไซน์ชิปแบบเก่าที่รวมทุกอย่างไว้เป็นเนื้อเดียว (Monolithic)

          ดีไซน์ที่ก้าวล้ำดังกล่าว บวกกับเทคโนโลยีการผลิตขนาด 7 นาโนเมตรที่เหนือชั้นของ TSMC ทำให้ "Zen โปรเซสเซอร์" มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเจนเนอเรชั่นก่อนหน้า ทั้งในเรื่องของสมรรถนะ การประหยัดพลังงาน และความหนาแน่น ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ ทั้งยังลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดความต้องการด้านการระบายความร้อนอีกด้วย ส่วนการปรับปรุงที่สำคัญอื่นๆ เมื่อเทียบกับคอร์ "Zen" เจนเนอเรชั่นแรก มีดังนี้:
          - มีการปรับปรุง Execution Pipeline เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลคำสั่ง
          - การพัฒนาส่วน Front-end – ปรับปรุง Branch Predictor ปรับปรุงการดึงคำสั่งจากแคช (Instruction Pre-fetching) ปรับแต่งแคชคำสั่ง และ Op Cache มีขนาดใหญ่ขึ้น
          - ปรับปรุงจุดลอยตัว (Floating Point) – ขยายจุดลอยตัวสองเท่าเป็นแบบ โปรเซสเซอร์56 บิต รวมถึงแบนด์วิธการโหลด/จัดเก็บ เพิ่มแบนด์วิธDispatch/Retire และรักษาอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงสำหรับทุกโหมด
          - ฟีเจอร์ความปลอดภัยขั้นสูง – ป้องกันมัลแวร์ Spectre โดยอาศัยฮาร์ดแวร์ ปรับปรุงการโยกย้ายซอฟต์แวร์และรวมไว้ในการออกแบบ และเพิ่มความยืดหยุ่นในการเข้ารหัสหน่วยความจำ

          เอเอ็มดีกำลังดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 7nm เช่น ซีพียู AMD EPYC และจีพียู AMD Radeon Instinct ซึ่งเอเอ็มดีได้เปิดเผยรายละเอียดและสาธิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในงาน Next Horizon นอกจากนี้ เอเอ็มดียังเปิดเผยว่าบริษัทฯ มีแผนที่จะพัฒนาสถาปัตยกรรมคอร์ x86 รุ่น"Zen ขับเคลื่อน" และ "Zen 4" ซึ่งใช้เทคโนโลยี 7nm+ ด้วยเช่นกัน

          ข้อมูลอัพเดตเกี่ยวกับซีพียู AMD EPYC สำหรับเซิร์ฟเวอร์
          เพื่อตอกย้ำความสำเร็จของโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เจนเนอเรชั่นปัจจุบัน แมทท์ การ์แมน รองประธานฝ่ายบริการประมวลผลของ AWS เข้าร่วมกับเอเอ็มดีบนเวทีภายในงาน Next Horizon เพื่อเปิดตัวอินสแตนซ์เซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC บน Amazon Elastic Compute Cloud (ECโปรเซสเซอร์) โดยเป็นส่วนหนึ่งในตระกูลอินสแตนซ์ยอดนิยมของ AWS อินสแตนซ์รุ่นใหม่ที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC มีความหนาแน่นของคอร์ประมวลผลและแบนด์วิธหน่วยความจำระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม จึงมอบประสิทธิภาพต่อดอลลาร์ที่เหนือกว่าสำหรับเวิร์กโหลดทั่วไปและเวิร์กโหลดหน่วยความจำแบบเพิ่มประสิทธิภาพ ความหนาแน่นของคอร์ประมวลผลในโปรเซสเซอร์ AMD EPYC ช่วยให้ลูกค้าที่ใช้อินสแตนซ์ M5a และ Tขับเคลื่อนa ได้รับประโยชน์จากสมดุลของทรัพยากรการประมวลผล หน่วยความจำ และทรัพยากรเครือข่ายสำหรับเว็บแอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์, แบ็คเอ็นด์เซิร์ฟเวอร์สำหรับแอพพลิเคชั่นองค์กร และสภาพแวดล้อมการทดสอบ/การพัฒนา โดยรองรับการโยกย้ายแอพพลิเคชั่นอย่างไร้รอยต่อ สำหรับลูกค้าที่ใช้อินสแตนซ์ R5a แบนด์วิธหน่วยความจำที่เหนือกว่าของโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เหมาะสำหรับการประมวลผลในหน่วยความจำ การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) และการประมวลผลข้อมูลแบบไดนามิก

          นอกจากนี้ เอเอ็มดีได้เปิดเผยรายละเอียดใหม่ๆ รวมถึงการพรีวิวประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ EPYC รุ่นถัดไป ภายใต้โค้ดเนม "Rome":
          - การปรับปรุงโปรเซสเซอร์ รวมถึงคอร์ "Zen โปรเซสเซอร์" สูงสุด 64 คอร์ การเพิ่มคำสั่งต่อรอบ[i] และแบนด์วิธการประมวลผล, I/O และหน่วยความจำที่เหนือชั้น[ii]
          - การปรับปรุงแพลตฟอร์ม รวมถึงโปรเซสเซอร์เซิร์ฟเวอร์ x86 รุ่นแรกในแวดวงอุตสาหกรรมที่รองรับ PCIe 4.ดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมแบนด์วิธต่อแชนเนลเพิ่มขึ้นสองเท่า[iii] ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการเร่งความเร็วของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างมาก
          - ประสิทธิภาพการประมวลผลต่อซ็อกเก็ตเพิ่มขึ้นสองเท่า[iv] และประสิทธิภาพการคำนวณจุดลอยตัวต่อซ็อกเก็ตเพิ่มขึ้นสี่เท่า[v] เมื่อเทียบกับโปรเซสเซอร์ AMD EPYC รุ่นปัจจุบัน
          - เข้ากันได้กับซ็อกเก็ตของแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ AMD EPYC รุ่นปัจจุบัน

          เอเอ็มดีได้สาธิตประสิทธิภาพและความได้เปรียบด้านแพลตฟอร์มของโปรเซสเซอร์ EPYC รุ่นถัดไป โดยทำการสาธิตสองชุดภายในงาน Next Horizon:
          - โปรเซสเซอร์ AMD EPYC แบบซ็อกเก็ตเดียวรุ่นถัดไป มีสมรรถนะเหนือกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ดูอัลโปรเซสเซอร์ Xeon รุ่นท็อปที่วางจำหน่ายในปัจจุบันจากอินเทล ตามผลการทดสอบด้วยการรันเบนช์มาร์ก "C-Ray" ซึ่งใช้การคำนวณอย่างหนักหน่วงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม[vi]
          - การสาธิตแพลตฟอร์ม x86 รุ่นแรกของอุตสาหกรรมที่รองรับ PCIe 4.ดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งใช้โปรเซสเซอร์ Radeon Instinct MI6ดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อเร่งความเร็วในการจดจำรูปภาพ

          โปรเซสเซอร์ "Rome" อยู่ระหว่างการทดลองใช้งานโดยลูกค้า และคาดว่าจะเป็นซีพียู x86 แบบประสิทธิภาพสูงรุ่นแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยี 7nm

          ข้อมูลอัพเดตเกี่ยวกับจีพียูของเอเอ็มดีสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์
          เอเอ็มดีเปิดตัวจีพียูขนาด 7nm รุ่นแรกของโลก และเป็นจีพียูหนึ่งเดียวที่มีการทำเวอร์ช่วลไลซ์บนฮาร์ดแวร์ นั่นคือ AMD Radeon Instinct MI6ดาต้าเซ็นเตอร์ และMI5ดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งจะเริ่มจัดส่งให้แก่ลูกค้าในช่วงไตรมาสนี้ การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่เหล่านี้ใช้สถาปัตยกรรม "Vega" ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น และออกแบบเป็นพิเศษสำหรับระบบ Machine Learning และ Artificial Intelligence (AI) โดยยกระดับประสิทธิภาพสำหรับการคำนวณจุดลอยตัว (floating-point)[vii] พร้อมสมรรถนะการทำงานที่เหนือกว่า[viii] และฟีเจอร์ใหม่ๆ สำหรับการใช้งานในดาต้าเซ็นเตอร์ การสาธิตที่ดำเนินการภายในงานดังกล่าวแสดงให้เห็นการทำงานของจีพียูรุ่นเรือธง AMD Radeon Instinct MI6ดาต้าเซ็นเตอร์ สำหรับการฝึกสอนระบบแบบเรียลไทม์ การอนุมาน และการจำแนกรูปภาพ

          นอกเหนือจากการเปิดตัวฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ แล้ว เอเอ็มดียังได้เผยโฉม ROCm โปรเซสเซอร์.ดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์แบบเปิดรุ่นใหม่สำหรับเร่งความเร็วในการประมวลผล โดยประกอบด้วยไลบรารีคณิตศาสตร์ใหม่ๆ การรองรับเฟรมเวิร์กของซอฟต์แวร์อย่างกว้างขวางมากขึ้น และการดำเนินการด้าน Deep Learning ที่ปรับปรุงดีขึ้น นอกจากนั้น ROCm โปรเซสเซอร์.ดาต้าเซ็นเตอร์ ยังถูกรวมเข้าไว้ในเคอร์เนลของ Linux ช่วยให้ผู้พัฒนาและผู้ใช้ Linux หลายล้านคนสามารถเข้าถึง ROCm ทั้งนี้ ROCmออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรองรับการปรับขนาดของระบบ ช่วยให้ลูกค้าสามารถติดตั้งระบบประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่มีความหลากหลาย (Heterogeneous) และประหยัดพลังงาน ในสภาพแวดล้อมแบบเปิด

          สามารถดูพรีเซนเทชั่นจากงานดังกล่าวได้ที่ www.amd.com/NextHorizon โดยจะสามารถเล่นวิดีโอทั้งหมดได้ใน เซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์ ชั่วโมง และเปิดให้รับชมเป็นเวลาหนึ่งปี

          ข้อมูลเพิ่มเติม
          - เยี่ยมชมเว็บเพจของงาน Next Horizon เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม
          - ติดตามแฟนเพจของเอเอ็มดีบนเฟซบุ๊ก
          - ติดตามเอเอ็มดีบนทวิตเตอร์

          เกี่ยวกับ AMD
          เป็นเวลากว่า 45 ปีที่ AMD ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในส่วนของการประมวลผลกราฟิก และเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับวงการเกม เป็นแพลตฟอร์มระดับมืออาชีพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูล ผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน องค์กรธุรกิจชั้นนำที่จัดอยู่ในกลุ่มFortune 5ดาต้าเซ็นเตอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ และหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั่วโลก ต่างใช้เทคโนโลยีของ AMD เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง พนักงานของ AMD ทุกคนทั่วโลกล้วนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะก้าวข้ามขอบเขตของข้อจำกัดทั้งหลาย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD (NASDAQ: AMD) และกระบวนการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เราทำในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ที่เว็บไซต์ website, blog,Facebook และ Twitter
 
 

ข่าวดาต้าเซ็นเตอร์+เซิร์ฟเวอร์วันนี้

เรฟบิตส์ดูแลความปลอดภัยทางอีเมลครบวงจร ปกป้องได้ตั้งแต่เซิร์ฟเวอร์เมลไปจนถึงอินบ็อกซ์ของผู้ใช้งาน

โซลูชันรักษาความปลอดภัยทางอีเมลอันล้ำหน้าช่วยปกป้องการรับอีเมลทั้งสองฝั่ง ตั้งแต่ดาต้าเซ็นเตอร์/เซิร์ฟเวอร์เมลบนคลาวด์ ไปจนถึงอุปกรณ์เอดจ์ ด้วยการวิเคราะห์ SEG และเอเจนต์อินบ็อกซ์ฝั่งไคลเอนต์ เรฟบิตส์ (RevBits) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ครบวงจร ครอบคลุมอุปกรณ์ปลายทาง ระบบคลาวด์ และระบบภายในองค์กร ประกาศเปิดตัวเรฟบิตส์ ซีเคียว อีเมล เกตเวย์ (Secure Email Gateway หรือ SEG) เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางอีเมลฝั่งไคลเอนต์ที่มีอยู่เดิมไปอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ลูกค้าป้องกันอีเมลมุ่งร้ายที่มีกลไกซับซ้อน

ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทร... นักลงทุนเพิ่มเม็ดเงินลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยและเอเชียแปซิฟิกปี 2565 — ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก รายงานว่า ธุรกิจดาต้าเซ...

นักลงทุนรวมถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เ... การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยมีโอกาสขยายตัว — นักลงทุนรวมถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เริ่มให้ความสนใจมองหาโอกาสการลงทุนในอสังหาริมทร...

เซิร์ฟเวอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ของ Hewlett Packard Enterprise ผ่านการรับรองความยั่งยืนจาก TCO Certified เป็นแบรนด์แรก

ผลิตภัณฑ์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์ไอทีอื่น ๆ และเซิร์ฟเวอร์ของ Hewlett Packard Enterprise ก็ขึ้นแท่นเซิร์ฟเวอร์ตัว...

ดร.ลิซ่า ซู ซีอีโอ บริษัท AMD เข้าร่วมการบรรยายในงาน CES 2021 - เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นครั้งแรกบนโลกดิจิทัล

ดร.ลิซ่า ซู ซีอีโอ บริษัท AMD ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษใน งาน CES 2021 keynote ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และในด้านความบันเทิงต่าง ๆ โดยมี HP, Lenovo,...

Big Data Exchange (BDx) สร้างความร่วมมือกับ Cogent ในดาต้าเซ็นเตอร์ SIN1 ในสิงคโปร์

BDx จับมือกับ Cogent มุ่งให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้าทั่วเอเชีย Big Data Exchange (BDx) ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์อิสระที่ดำเนินกิจการครอบคลุมทั้งเอเชีย ประกาศสร้างความร่วมมือครั้งใหม่กับ Cogent Communications ในดาต้า...

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดตัว PowerScale สตอเรจ สร้างมาตรฐานใหม่ ปลดล็อคศักยภาพใหม่ทางข้อมูล

ระบบ PowerScale สตอเรจ นำสิ่งที่ดีที่สุดของฮาร์ดแวร์ เดลล์ อีเอ็มซี เซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์ สตอเรจ มาเพื่อช่วยลูกค้าในการจัดการไฟล์ และข้อมูลต่างๆ ในดาต้าเซ็นเตอร์หลัก ที่พื้นที่ปลายทาง (edge) และที่พับลิคคลาวด์...

ไลท์ ออน สตอเรจ เปิดตัวคลาวด์เจนเนอเรชั่น... LITE-ON เปิดตัวคลาวด์เจนเนอเรชั่นล่าสุด และโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลองค์กรในงาน COMPUTEX 2019 — ไลท์ ออน สตอเรจ เปิดตัวคลาวด์เจนเนอเรชั่นและโซลูชั่นการจัดเ...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ขานรับเทรนด์โซลูชั่นเ... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จัดแสดงโซลูชั่นเอดจ์ (Edge Solution) ในงาน IEEE PES GTD ASIA 2019 — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ขานรับเทรนด์โซลูชั่นเอดจ์ (Edge Solution) มาแร...