พร้อมด้วย เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กว่า 30 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้ตรวจสอบกรณีที่แพทยสภาปล่อยให้มีตราสัญลักษณ์เครื่องดื่มตราช้าง ปรากฏในกิจกรรม "หมอชวนวิ่ง" เนื่องจากรูปแบบของตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ใกล้เคียงกับตราสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ โลโก้เบียร์ช้างอย่างมาก
โดย ศาลได้มีคำพิพากษา การโฆษณาตราสัญลักษณ์ "เครื่องดื่มตราช้าง" มีความผิดมาตรา 32 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 แต่ไม่เคยบังคับใช้กฎหมายใดๆ เลย เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และ การบังคับใช้กฏหมายมีความผิดตามกฎหมายอาญา
เนื่องจากโลโก้ดังกล่าวมีรูปแบบใกล้เคียงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อ "ช้าง" อย่างมาก ซึ่งเป็นอุบายฉ้อฉลของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่หวังผลในการโฆษณา
ขณะที่ นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค รอดูท่าทีของรัฐมนตรี เพราะทำอะไรไม่ได้แน่นอน
โดยตำแหน่งนี้เล็กเกินไป เพราะยุคหมอสมาน ก็เคยโดนมาแล้ว หากยังจี้ดำเนินการก็เตรียมย้ายไปตำแหน่งอื่นได้เลยหมอนิพนธ์ ระบุว่า "ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐมนตรี ตนยืนยันว่าต้องว่าไปตามเนื้อผ้า ไม่มีการช่วยเหลือหรือปกป้องใคร หากตรวจสอบพบว่าทำผิด" แปลความได้ว่า อำนาจของหมอนิพนธ์ เล็กเกินที่จะดำเนินการตามหน้าที่ทางราชการ เพราะ ช้าง เป็นบริษัทที่มีอิทธิพลในไทย
ทั้งนี้ ในงานวิ่งต่างๆ จะพบว่า มีการสนับสนุนน้ำดื่ม จากบริษัทน้ำเมา มาเนิ่นนาน รวมทั้งมีการนำเอาโลโก้ไปติดบนเสื้อนักกีฬาสโมสรดังๆ จำนวนมาก ซึ่งนักเตะเหล่านี้คือไอดอลของเยาวชนไทย ปัญหาเหล่านี้เกิดจาก "สองมาตรฐาน" ที่ต้องจัดการอย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่ทำลายสุขภาพ เหล้า เบียร์ บุหรี่ ที่เสียภาษีให้ สสส.จำนวนมาก พบว่ามีการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจนหากในอนาคต โรงงานยาสูบ และ บริษัทบุหรี่ ทำน้ำดื่มยี่ห้อ สายฝน กรองทิพย์ มาโบโร่ L&M ขึ้นมา และยังพบว่า น้ำดื่มตราช้าง ตราสิงห์ ยังคงทำได้ถูกต้อง คงจะได้เห็นแบรนด์น้ำดื่มยี่ห้อต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นแน่นอน
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit