กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันไม่มีล้มมวย พร้อมสู้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศกับบริษัท คิงส์เกตฯ คาดจะรู้ผลภายใน 2 ปี
นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ชี้แจงว่า กรณีมีประเด็น สื่อสังคมออนไลน์ว่า ส่อแววล้มมวยเรื่องค่าโง่เหมืองทองคำ เพราะดองเรื่องตรวจสอบคิงส์เกตติดสินบน และมีการไล่ยึดที่ดินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมืองทอง เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคล โดยข้อเท็จจริงกรณีที่ประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ขอย้ำว่า ขณะนี้คณะกรรมการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด โดยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและที่ปรึกษากฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญในระดับสากล อยู่ระหว่างการต่อสู้ในชั้นอนุญาโตตุลาการ คาดว่าจะรู้ผลการพิจารณาภายใน 2 ปี ทั้งนี้ รัฐบาลมีความมั่นใจว่าการดำเนินการของรัฐบาลไทยเป็นการคุ้มครองประชาชนจากผลกระทบเฉพาะหน้าด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนอย่างทันท่วงที เป็นไปตามมาตรฐานสากลสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และพร้อมสู้คดีต่อไป ส่วนการตรวจสอบกรณีทุจริตในการทำเหมืองแร่ทองคำที่เกี่ยวข้องกับบริษัท คิงส์เกตฯ นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ไม่อยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาล
สำหรับกรณีการไล่ยึดที่ดินชาวบ้านให้นายทุนทำเหมืองทอง ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด และการยึดที่ดินต่าง ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่แต่อย่างใดเช่นกัน เป็นเรื่องของการดำเนินการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ตามนโยบายทวงคืนผืนป่า ทั้งนี้ ในส่วนของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 กำหนดให้การอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้เฉพาะในพื้นที่ที่เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองซึ่งเป็นการกำหนดเขตพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการทำเหมืองภายใต้วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรแร่อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยการยื่นขอประทานบัตรในพื้นที่ใดต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน หรือหากเป็นที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐก็ต้องได้รับอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์เพื่อการทำเหมืองในพื้นที่นั้น ๆ จากหน่วยงานของรัฐเจ้าของพื้นที่ก่อน
ดร. พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน (พย.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกลุ่ม พย. ประกอบด้วย ดร.สุวิทย์ อัจริยะเมต ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม และดร.เรวดี อนุวัฒนา รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ หารือแนวทางความร่วมมือกับ ดร.อดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
สภาการเหมืองแร่
—
นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานเปิดงาน "การประชุมสามัญประจำปี 2567" พร้อมบรรยายพิเศษหัวข้อ ...
สวทช. ผนึกกำลัง กพร. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0
—
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมอุตสาหกรรมพื...
สวทช. ผนึกกำลัง กพร. ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0
—
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมอุตสาหกรรมพื...
TCMA และ กพร. ร่วมยินดีข้าราชการรับทุน สำเร็จการศึกษา เสริมทัพยกระดับเหมืองแร่สีเขียวอย่างยั่งยืน พร้อมตอบโจทย์ลดโลกร้อน
—
สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (T...
TPBI ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการรับรองแห่งชาติ (มตช.9-2565)
—
คุณศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) เป็นตัว...
CHOW มุ่งยกระดับธุรกิจสู่องค์กร"คาร์บอนต่ำ"เปิดทางสู่ตลาดโลก
—
บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์...
โรงหลอมเหล็ก CHOW รับรางวัล CSR-DPIM ประจำปี 2565 เป็นปีที่ 5
—
บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ...
หนุนศก.หมุนเวียน "SSI-กพร.-ม.สุรนารี" วิจัยสำเร็จ แปรกรดเกลือเสื่อมสภาพเป็นวัตถุดิบทำสีกันสนิม
—
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ "เอสเอสไอ...