นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "กรีนพีซเห็นว่าการนำเอา PM2.5 เข้ามาคำนวณในดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นหมุดหมายสำคัญในการต่อกรกับวิกฤตมลพิษอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาวะของผู้คน และเป็นขั้นตอนสำคัญในการสื่อสาร "คุณภาพอากาศ" และระบุผลกระทบต่อสุขภาพของคนกลุ่มต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและสะท้อนถึงความเป็นจริง ความพยายามในการพัฒนาการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี และเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะปกป้องสุขภาพคนและสิ่งแวดล้อม"
อย่างไรก็ตาม กรีนพีซมีข้อสังเกตว่าการรายงานคุณภาพอากาศ (Air Quality Reporting) ใหม่นี้เป็นการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศโดยใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าคุณภาพอากาศเป็นเช่นนั้นตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง ซึ่งจะแตกต่างอย่างมากจากการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศรายชั่วโมง ซึ่งจะระบุถึงคุณภาพอากาศ ณ ชั่วโมงดังกล่าว เมื่อมีเหตุการณ์วิกฤตมลพิษทางอากาศเกิดขึ้นและ/หรือการที่ระดับมลพิษทางอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากอิทธิพลของกระแสลมจะส่งผลให้ดัชนีคุณภาพอากาศเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างมากในระยะเวลาอันสั้น ทำให้การรายงานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่สามารถตอบรับต่อวิกฤตมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนได้ทันท่วงที ด้วยเหตุนี้ กรีนพีซเสนอแนะให้กรมควบคุมมลพิษมีการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศที่รวม PM2.5 โดยใช้ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตมลพิษทางอากาศขึ้น
ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กรีนพีซทำงานรณรงค์ภายใต้โครงการ "ขออากาศดีคืนมา (Right to Clean Air)" ด้วยความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด โดยทำงานร่วมกับชุมชนและภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเพื่อขับเคลื่อนให้รัฐบาลลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อปัญหาเร่งด่วนด้านสุขภาพและสร้างแผนปฏิบัติการที่หนักแน่นกว่าที่เป็นอยู่เพื่อทำให้อากาศดีขึ้น ลดมลพิษและปกป้องชีวิตคน
ข้อเรียกร้องของกรีนพีซต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องรวมถึง
ร่วมเป็นเสียงหนึ่งเพื่อ "ขออากาศดีคืนมา (Right to Clean Air)" ที่ act.gp/2qba6PN
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit