แพทย์เด็กชี้วิธีรับมือ “เมื่อลูกของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน”

15 Aug 2018
จากกรณีคลิปไวรัลชิ้นหนึ่งที่เสนอให้เห็นเด็กทำลายข้าวของ ไม่ยอมนั่งกินข้าว ดึงทึ้งเสื้อผ้า และลงไปชักดิ้นชักงอบนพื้นห้างสรรพสินค้า คนรอบข้างมีสีหน้าระอา คลิปดังกล่าว มีผู้ชมมากกว่า 1 ล้านวิว ใน4 ชม. ตอนนี้ทะลุ 10 ล้านวิว 1 แสนแชร์ และกว่า 1 หมื่นคอมเมนต์ ถูกวิจารณ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งคลิปดังกล่าว ยังมีการบอกอีกว่า "ลูกเราไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน"
แพทย์เด็กชี้วิธีรับมือ “เมื่อลูกของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน”

ล่าสุดรายการโหนกระแส 15 ส.ค. โดย "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13.30-14.10 น. ทางช่อง 28 ได้เปิดใจสัมภาษณ์ "พญ. เสาวภา พรจินดารักษ์" กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก และ "นฤมล เหล่าเวชประสิทธิ์" หรือ "แม่เจี๊ยบ" ซึ่งลูกมีพฤติกรรมแบบคลิปดังกล่าว

มีคลิปไวรัลตัวนึง มีผู้ชมมากกว่า 1 ล้านวิว ใน4 ชม. ตอนนี้ 10 ล้านวิว 1 แสนแชร์ และกว่า 1 หมื่นคอมเมนต์?

พญ. เสาวภา : "พัฒนาเด็กต้องค่อยๆ พัฒนาขึ้น เด็กจะควบคุมตัวเองได้ พ่อแม่ก็ต้องช่วยเขา เด็กจะควบคุมได้ทั้งอารมณ์ พฤติกรรม คำพูด คุณหมอมีลูก 2 คน คนโต 12 คนเล็ก 5 ขวบกว่าๆ เจอแบบนี้แต่ไม่เหมือนซะทีเดียว คือเรื่องยับยั้งชั่งใจของเด็ก เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว เขาอยากได้อยากมี อย่างที่เห็นเขาอยากได้ของเล่น ไม่อยากนั่งกินข้าว อยากเดิน ไม่อยากรอแม่ แม่ช้อปปิ้งนาน การควบคุมตัวเองรอแม่ได้ นั่งกินข้าวให้เสร็จเรื่องพวกนี้ถ้าแม่ที่อยู่หน้างานเครียด 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเราไมได้รู้วิธีอย่างถ่องแท้ เราจะเลี้ยงตามที่เราเคยได้รับการเลี้ยงดูมาก อาจตี หรือใช้วิธีขู่ หน้างานคนเป็นแม่เครียดก็จะเผลอใส่อะไรที่เราได้รับการเลี้ยงดูมา ประเด็นอยู่ที่ว่าถ้าเราสามารถเตรียมลูกได้ ถ้าจะเลี้ยงให้เขาควบคุมตัวเองได้ ต้องโฟกัสไปที่การพัฒนาสมอง ถ้าเราเข้าในประเด็นนี้ ลูกร้องไห้ในบ้าน ถ้าฝึกให้เขาควบคุมตัวเองได้ ก็ไม่ต้องไปตีเขาให้หยุด ถ้าเราฝึกให้เขาควบคุมตัวเองได้ อย่างเวลาออกไปข้างนอก ลูกสาวก็อยากได้สิ่งล่อใจข้างนอกเยอะมาก ถ้ามีต้นทุนว่าควบคุมตัวเองได้ในบ้าน ออกไปนอกบ้านก็จะควบคุมได้ง่ายขึ้น"

แม่เจี๊ยบมีลูกกี่คน?

เจี๊ยบ : "มี 2คน คนแรก 4 ขวบกว่า คนเล็กขวบกว่า เป็นลูกสาวทั้งคู่ ด้วยวัยเขาห่างกัน คนโตกับคนเล็กจะมีพฤติกรรมคนละแบบ คนโตสื่อสารรู้เรื่อง เวลาอยากได้อะไรจะไม่ยอม สิ่งที่อยากได้ถ้าไม่พอใจก็จะลงไปชักดิ้นชักงอในที่สาธารณะ แต่แม่ก็ไม่ได้ใหนะคะ แม่พยายามสอน มีดุแต่ไม่ตีนะคะ ดุอย่างเช่นไม่หยุดแม่เดินหนีแล้วนะ"

แบบนี้ได้มั้ย?

พญ. เสาวภา : "ตามหลักการแล้วเราต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองก่อน ถ้าเคยได้ยินเด็กเห็นต้นแบบกำลงนิ่ง กำลังสงบ ก็มีโอกาสเขาควบคุมตัวเองได้มากขึ้น ท่าทีที่เรานิ่งแล้วรอเขาสงบ จะเป็นตัวช่วยเขาอย่างหนึ่งว่าเราไมได้ทอดทิ้งเขา ถ้าบอกว่าจะไปแล้วนะ เรากำลังมีอารมณ์ทอดทิ้งเขานะ เด็กสงบเพราะกลัวแม่ทิ้ง ไม่ใช่การควบคุมตัวอง มีส่วนทำให้เขากังวล เวลาแม่ออกจากพื้นที่นั้น ยิ่งเด็กๆ เล็กๆ แยกจากและกังวล ยิ่งเคยมีพฤติกรรมที่ไม่ดี และแม่ละทิ้งหนูไป ก็จะทำให้เขากังวลมากยิ่งขึ้น อาจเป็นเรื่องของปม แต่ประเด็นสำคัญคืออยากให้ลูกฝึกการควบคุมอารมณ์ตัวเอง"

แม่เจี๊ยบเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด?

เจี๊ยบ : "เรื่องแรก ถ้าเจอของที่ถูกใจแล้วเราไม่ซื้อให้ เขาจะร้องไห้เสียงดัง กรี๊ดลงไปนอน อย่างที่สองคือร้านอาหาร ลูกคนเล็กควบคุมพฤติกรรมตัวเองไม่ได้ เขาจะเคาะจานเล่น ข้างๆ จะมองด้วยหางตาทำไมไม่ห้ามลูกหนักไปกว่านั้นไม่อยากกินเขวี้ยงช้อน เอาอาหารปาทิ้ง พนักงานได้แต่มองส่ายหัว แม่ไม่รู้จะทำยังไง ได้แต่ขอโทษ พยายามบอกลูกว่าอย่าทำแบบนี้ แต่ที่พีคสุดเดินทางด้วยเครื่องบิน ลูกง่วงนอน ไม่อยากอยู่ที่นั่งนานๆ ก็เจอชาวต่างชาติบอกแอร์โฮสเตสว่าขอย้ายที่นั่งได้มั้ย ลูกเราร้องดังมาก รบกวนคนอื่น แอร์ฯ ก็มาบอกเรา เราก็ได้แต่ขอโทษและอุ้มลูกมาห้องน้ำ ให้ลูกหยุดร้องได้ แต่เราร้องไห้ซะเอง"

ทำไมคุณถึงร้องไห้?

เจี๊ยบ : "(ร้องไห้) กดดันค่ะ ลูกยังเล็ก อยากให้เขาเข้าใจ ถ้าลงได้เราก็คงลงแล้ว"

ลูกเราก็เป็นมนุษย์ อยากให้เข้าใจว่าเขาไม่รู้เรื่องเพราะยังเป็นเด็ก?

เจี๊ยบ : "ใช่ค่ะ คนไทยด้วยกัน อาจช่วยหลอกล่อ แต่คนต่างชาติเขาขอเปลี่ยนที่นั่งเลย"

ครั้งนึงมายูเคยมีปัญหา?

พญ. เสาวภา : "เวลาที่เราเจอสถานการณ์นั้น คนเป็นแม่ก็เครียด คุณหนุ่มก็คงต้องเครียด คนเป็นเจ้าของร้านก็เครียดทุกคนมีความรู้สึกทั้งนั้น ประเด็นอยู่ที่ว่า ตอนเราอยู่นอกบ้านมันจะไม่เหมือนอยู่ในบ้าน ถ้าเรารับมือลูกให้คล่อง ให้ถูกวิธี ตั้งแต่อยู่ในบ้าน เวลาอยู่นอกบ้านจะง่ายขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีเลย หมอเองลูกมีต้นทุนในการจัดการตัวเอง แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีเลยนะ ก่อนให้ลูกควบคุมตัวเอง เราก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองก่อน อะไรที่ไม่ได้ควรเข้าไปจับมือและบอกว่าอันนี้เล่นไม่ได้ลูก ขอนะ ยิ่งเด็กเล็กๆ ยิ่งต้องพูดช้าๆ ใช้ภาษา สีหน้าท่าทางและความเมตตาเข้าใจเด็ก บอกว่าเล่นไม่ได้แล้วหยิบมาใส่มือเรา ภาษาท่ามันคือไม่ได้ แต่ถ้าบอกว่าไม่ได้ลูก ไม่เล่นลูก เด็กอาจไม่ได้เข้าใจ สองเด็กอาจไม่ได้ฟังเรา สามมันไม่หนักแน่น ถ้าจับมือคือความชัดเจนว่าไม่ได้ ส่วนใหญ่เวลาอยู่ในบ้านเด็กนึกไม่ออกว่าจะเล่นอะไรเป็นเรื่องเป็นราว ก็สำรวจไปเรื่อย ดีไปใหญ่เลยเราจะพาเขาไปเล่นในบ้านโฟกัสให้ถูกเรื่อง อย่างเล่นทราย ระบายสี เก็บของ ถ้าสมองลูกเทมาที่การทำแบบนี้ โฟกัสตรงนั้นได้รับฟีดแบ็กตรงบวก สมองจะเทมาตรงนี้ ถ้าบอกว่าไม่ได้ลูกๆ อันตราย สมองลูกก็จะเทไปอีกฝั่ง"

กรณีในคลิปไวรัลเบบี้มายด์ มันชัดมาก แล้วจะทำยังไง?

พญ. เสาวภา : "เวลาไปอยู่นอกบ้าน คนเป็นแม่ที่พยายามจัดการลูก ไม่ว่าจะเป็นในคลิปเบบี้มายด์ที่เห็น แม่พยายามหลายวิธีให้ลูกสงบ ถ้าดูความตั้งใจของแม่ คือความตั้งใจที่ยอดเยี่ยม แต่คนที่เห็นว่าพ่อแม่ปล่อยลูก ไม่เห็นตั้งใจทำอะไร เช่น ไปกินข้าว พ่อแม่ปล่อยลูกวิ่งเล่น โดยพ่อแม่ก็นั่งเล่นโทรศัพท์ไป อันนั้นคือพ่อแม่ไม่ได้คิดที่จะช่วยเหลืออะไร ถ้าอย่างนี้ คนที่เป็นเจ้าของร้าน คนรอบข้างก็คงรับไม่ได้ และหมอคิดว่าไม่ใช่เรื่องที่จะยอมรับได้เช่นกัน"

ไล่ออกจากร้านสิงั้น?

พญ. เสาวภา : "(หัวเราะ) แต่ถ้าตั้งใจทำอะไร หมอเชื่อว่าคนไทยมีน้ำใจ ประเด็นคือวิธีการทำยังไงให้กระชับขึ้นและรบกวนคนอื่นให้น้อยที่สุด เวลาเราเลี้ยงลูก ไม่ใช่แค่ต้องการให้ลูกเงียบ กินข้าวให้หมด ไม่ร้องไห้ แต่เวลาเลี้ยงลูกโฟกัสสมองลูก สมองส่วนหน้าคือการควบคุมอารมณ์ตัวเอง สมองส่วนซ้ายคือเรื่องของเหตุผล งั้นเราต้องบอกตัวเองว่าลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองหรือเปล่า ถ้าเราบอกแบบนี้ทุกวัน เวลาอยู่ในบ้าน ไม่ใช่ลูกร้องไห้แล้วเบี่ยงเบน"

ถ้าเอาไอแพดให้ลูกดู?

พญ. เสาวภา : "ก็เป็นการเบี่ยงเบนเหมือนกัน แต่ไม่ได้ถูกฝึกให้คิดอะไร ไม่ใช่แล้ว ลูกต้องเข้าใจเหตุผล เช่นคุณหนุ่มไม่อยากให้ลูกเล่นของเล่น คุณหนุ่มก็จับมือมายู ลูกรักกินข้าวแบบนี้ลูก"

เหมือนฝังโปรแกรมในสมองไปเรื่อยๆ?

พญ. เสาวภา : "คล้ายๆ อย่างนั้นถ้าเป็นเด็กเล็ก อายุไม่เกิน 2 ปี ประเด็นคือสุดท้ายเราต้องชื่นชมเด็ก อย่างหนูกินข้าวหมดแล้ว เก่งมากเลย มันจะหนังคนละม้วน หนูกินข้าวเอง เก่งจังเลย จากฟีดแบ็กลบก็มาฟีดแบ็กบวก นี่คือการให้เด็กร่วมมือในระดับเด็กเล็ก แต่เด็กโตเขารู้เรื่องแล้ว"

เด็กชอบต่อรอ เกิดจากผู้ใหญ่ก่อนหรือเปล่า?

พญ. เสาวภา : "เป็นส่วนเกี่ยวเยอะเลย หลักการกินข้าว หิวก็กิน หมดเวลาก็เก็บ ไม่ควรมีเวลาต่อรอง ถ้าเราบอกว่ากินข้าวเสร็จก็จะไปกินขนม เขาจะลืมไปเลยว่าหิวก็ต้องกินข้าว"

ในคลิปเบบี้มายด์ มี 3 ประเด็นหลัก คือหนึ่งการปล่อยให้ลูกไปดึงเสื้อผ้าตามร้าน สองอยู่ในรถ ขึ้นเครื่องบินแล้วคนรอบข้างทำยังไง อีกเรื่องคือการพาไปทานข้าวข้างนอก?

พญ. เสาวภา : "ปล่อยลูกร้องไห้ ถ้าปล่อยเพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าร้องไห้แล้วไม่ได้ ต้องบอกว่าเขามีความตั้งใจที่ดี แต่สถานที่มันก็รบกวนคนอื่น เราก็โยกที่ค่ะ ทำแบบนี้แต่พาไปมุมที่เงียบๆ ไม่มีคนหรืออุ้มไปที่รถก็ได้ถ้าเรามีรถส่วนตัวมา อุ้มเขาไปแล้วปล่อยให้เขาร้องไห้ เราก็จะบอกว่าลูกยังคุยไม่รู้เรื่อง เดี๋ยวรอลูกสงบแล้วเราคุยกันนะลูก เขาจะสงบเอง"

ถ้าร้องงอหงายหนักมากจะทำยังไง?

พญ. เสาวภา : "ตามธรรมชาติ คนเราร้องไห้ก็ต้องหยุด"

หมอบอกว่าร้องไห้ไม่ตาย อย่าไปโอ๋เด็กมาก จะทำให้เกิดความเคยชิน?

พญ. เสาวภา : "เราอยากให้ลูกร้องไห้จนเงียบเอง เพราะเวลาเด็กร้องไห้แล้วกลับมาสู่การเงียบเอง เขาจะกลับมาที่ตัวเอง ควบคุมตัวเองได้ ตรงนี้ควรเป็นอาวุธที่ติดให้ลูกตั้งแต่อยู่ในบ้าน ร้องเองก็เงียบเองเป็น เพราะเขารู้ว่าร้องไห้ไปก็ไม่มีใครสนใจ แต่อย่าลืมนะคะเวลาเขาร้องเสร็จก็ต้องชื่นชมว่าเขาสงบได้แล้ว สองคือเหตุผล ลูกรู้รึเปล่าทำไมแม่ซื้ออันนี้ไม่ได้ เวลาเขาเลิกร้องไห้เขาจะฟัง พ่อแม่ทำใจร่มๆ รอเขาสงบ เขาจะฟังค่ะ"

กรณีพาขึ้นรถตู้ รถโดยสาร ไปร้องไห้ คนอื่นรับไม่ได้?

พญ. เสาวภา : "เมื่อกี้ฟังแม่เจี๊ยบก็เห็นใจ คือเวลาเด็กร้องไห้ เขาเป็นเด็ก เมื่อกี้คุยกับแม่เจี๊ยบว่าเราก็เกรงใจคนอื่น แต่หมอเชื่อว่าคนอื่นก็เข้าใจเรา ขณะเดียวกัน เราก็ต้องมั่นใจว่าถ้าเราเอาลูกกินนมแล้ว ให้นอนแล้ว แล้วคนอื่นขอย้ายที่ คิดอีกมุมนึง ชาวต่างชาติคนนั้นอาจต้องการความสงบ เขาอาจไม่ได้รังเกียจเรา แต่เขาอาจต้องการพื้นที่ส่วนตัวเพื่อให้พรุ่งนี้ทำงานได้"

จำเป็นต้องปรึกษาจิตแพทย์เด็กมั้ย?

พญ. เสาวภา : "คือถ้าเราไม่ได้ช่วยลูกให้มีการคุมการควบคุมตัวเอง ส่วนใหญ่พ่อแม่จะหาวิธีอื่น อาจมีการดุ การตี การขู่ เด็กจะก้าวร้าวมากขึ้น แต่ถ้าเด็กอายุ 5-7 ปี ตอนปล่อยลูกร้องไห้ มีข้อแม้อย่างหนึ่งคือถ้าเขาร้องไห้ทำลายข้าวของ เราต้องเข้าไปจับมือเขานะ แล้วบอกว่าไม่โยน ไม่ตี เพื่อให้เขารู้ว่าร้องไห้ได้ แต่ทำลายข้าวของไม่ได้"

สุดท้ายอยากบอกอะไร?

เจี๊ยบ : "อยากให้คนเข้าใจเรา ใครไม่มีลูก ลูกหลานที่มีอยู่ก็เป็นแบบนี้ อยากให้ปรับความเข้าใจนิดนึง เด็กก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่แล้วตามที่คุณหมอบอก อาจให้ลดอารมณ์ ลดความหัวร้อนไม่พอใจ ให้เข้าใจคุณแม่บ้าง"

พญ. เสาวภา : "ทุกคนเห็นคลิปแล้ว สิ่งที่จะได้เรียนรู้คือพ่อแม่ทุกคนฝึกสอนลูก พ่อแม่ที่ฝึกสอนลูกแล้วไม่กระชับ โยกไปทำที่บ้านให้กระชับ ติดอาวุธให้ลูกควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ออกจากบ้านก็จะง่ายขึ้น"

แพทย์เด็กชี้วิธีรับมือ “เมื่อลูกของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน” แพทย์เด็กชี้วิธีรับมือ “เมื่อลูกของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน” แพทย์เด็กชี้วิธีรับมือ “เมื่อลูกของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน”
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit