“สกุลฎ์ซี” พัฒนาเรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ

          " สกุลฎ์ซี " ผู้ผลิต เรืออลูมิเนียม สัญชาติไทยที่ได้รับการลงบัญชีนวัตกรรมไทยทางด้านความแข็งแรง ของโครงสร้างและการประกอบที่ได้มาตาฐานสากล จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติหรือ NIA ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกุลฎ์ซี จึงได้ต่อยอดความปลอดภัยให้กับเรือสกุลฎ์ซี โดยมีการคำนวณการลอยตัวและใส่วัสดุช่วยลอยตัว เพื่อพยุงผู้โดยสารและตัวเรือกรณีเกิดอุบัติเหตุน้ำเข้าเต็มลำ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้โดยสารด้านความปลอดภัย จึงได้มีการจัดจำลองสถานการณ์กรณีน้ำเข้าเต็มเรือ และการทำงานของระบบช่วยลอยตัว ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะใช้ เรือโดยสารขนาด 19m ความจุ 80 ถึง 100 คนและเรือเร็วขนาด 5m ในการจำลองสถานการณ์ "
          นายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกลุ่มบริษัท โชคนำชัย เผยว่า บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด หนึ่งในบริษัทย่อยแห่ง กลุ่มบริษัทโชคนำชัย หรือ CNC Group ยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมแม่พิมพ์รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ผลิตเรืออลูมิเนียมคุณภาพสูงภายใต้แบรนด์ "สกุลฎ์ซี (SakunC)" โดยบริษัทฯ อยู่ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์รถยนต์มาอย่างยาวนาน ส่งบริษัทชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Honda, Nissan, Toyota และ GM ได้นำความชำนาญในงานโลหะชนิดพิเศษอย่าง Super Steel (High Tensile) มาผสานรวมกับความรู้ในการสร้างเรือ จนก่อให้เกิดนวัตกรรมเรืออลูมิเนียมสัญชาติไทย คุณภาพสากล
          เรืออลูมิเนียมของ "สกุลฎ์ซี" สร้างขึ้นด้วยอลูมิเนียมชนิด 5083-H116 Marine Grade เป็นอลูมิเนียมชนิดที่แข็งที่สุด ทำให้เรือยุคใหม่ของสกุลฎ์ซี มีความเบา, แข็งแรงกว่า, ใช้กำลังเครื่องยนต์น้อยกว่า, ซ่อมบำรุงน้อยกว่า และอัตราการสิ้นเปลืองน้อยกว่า ซึ่งเรืออลูมีเนียมสกุลฎ์ซี มีให้เลือกหลายขนาด ทั้งขนาด 5 เมตร. (6 ที่นั่ง), 19 เมตร. (80 ที่นั่ง) และขนาดอื่นๆ ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า
          "สกุลฎ์ซี" มีความสามารถผลิตเรืออลูมิเนียมขนาด 19 เมตร ได้เดือนละ 2 ลำ และกำลังพัฒนากระบวนการผลิต ในรูปแบบ Mass production เชื่อมrobot ให้ได้ 10 ลำต่อเดือน
          ซึ่งความสามารถในการทำให้คุณภาพของชิ้นงานทุกชิ้นส่วนเท่ากันจนสามารถใช้ Robot นั่นคือการนำเอาเทคโนโลยีแม่พิมพ์มาใช้ผลิตทุกชิ้นส่วนเรือ โครงสร้างขนาดใหญ่ 12 เมตร เพื่อลดรอยต่อ เพิ่มความแข็งแรง ทดแทนการพับ ตัด ต่อ เชื่อมแบบเดิม รวมทั้งผ่านการทดสอบทางวิศวกรรม ทั้งกระบวนการMaterial Test, Strength Simulation, Model Test ทำให้ได้เรือที่มีคุณภาพสูง
          นายวีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับการทดสอบ Buoyancy Test หรือทดสอบระบบช่วยการลอยตัวของเรือ ของสกุลฏ์ซี กับเรืออลูมิเนียม 2 รุ่น คือ เรือโดยสาร F190EM1 ขนาด 19 เมตร 80 - 100 ที่นั่ง และ เรือ Speed boat S50 ขนาด 5เมตร ด้วยนวัตกรรมเรืออลูมิเนียมที่สร้างขึ้น จะผ่านขั้นตอนการทดสอบลักษณะนี้ โดยในการทดสอบเราจะนำทราย ไปวางเรียงบนเรือทั้งสองฝั่งแทนผู้โดยสารตามน้ำหนักบรรทุก และทำการปั๊มน้ำเข้าไปในเรือ จากนั้นจะทำการปล่อยให้เรืออยู่ในน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าเรือของสกุลฎ์ซีทุกลำไม่มีการจม ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก กรมเจ้าท่า, ตำรวจท่องเที่ยว, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาร่วมชมการทดสอบในครั้งนี้ เพื่อยืนยันว่าเรืออลูมิเนียม "สกุลฎ์ซี" เป็นเรือนวัตกรรมใหม่ที่จะมายกระดับความปลอดภัยในการโดยสารทางน้ำ ให้ได้มาตรฐาน และความปลอดภัยสูงสุดโดยฝีมือคนไทย
          ทางด้านนายวิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ด้านเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการท่องเที่ยวจึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่จะช่วยสร้างคุณค่าให้เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านเอกลักษณ์ ความแตกต่าง ความสะดวกสบาย และที่ขาดไม่ได้คือ "ความปลอดภัย" เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศให้ดีขึ้น โดยที่ผ่านมา NIA ได้มุ่งสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในภาคการท่องเที่ยวทั้งด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวก การบริหารจัดการ การพัฒนาสินค้า – บริการ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความคิดสร้างสรรค์และต่อยอดรูปแบบธุรกิจด้วยการผสมผสานนวัตกรรม ตลอดจนยังได้มุ่งเน้นการบูรณาการให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งในหลายๆกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถเติบโตได้พร้อมกัน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและแพลทฟอร์มที่จำเป็นในเรื่องการสร้างมาตรฐาน การบริหารจัดการ และความปลอดภัยให้มากขึ้น เพื่อให้มีความครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาวะ และคุณภาพชีวิต และเกิดความยั่งยืนในกิจกรรมการท่องเที่ยว
          นายวิเชียร กล่าวเพิ่มเติมว่า NIA ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการนวัตกรรมด้านธุรกิจเพื่อการท่องเที่ยวมูลค่าสูง (HVA Smart Tourism) ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาและใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์และบริการตลอดห่วงโซ่มูลค่า ล่าสุด "สกุลฎ์ซี" (SAKUN C) นวัตกรรมเรืออลูมิเนียมแบบโครงสร้างชิ้นเดียว เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างโครงการนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก NIA ภายใต้โครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุน ในวงเงิน 2.79 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเรืออลูมิเนียมลำนี้เน้นความปลอดภัยในการขนส่งผู้โดยสารสำหรับนักท่องเที่ยว มีจุดเด่นที่ใช้ "นวัตกรรมโครงสร้างอลูมิเนียมชิ้นเดียวตลอดทั้งลำ" และการใช้ "นวัตกรรมฉีดโฟมพิเศษความหนาแน่นสูง บรรจุไว้ใต้ท้องเรือ" ทำให้เรือสามารถลอยน้ำได้หากเกิดเหตุเรือรั่ว นับเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตเรือขนส่งผู้โดยสารสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่จมน้ำ
“สกุลฎ์ซี” พัฒนาเรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
 
“สกุลฎ์ซี” พัฒนาเรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
 
“สกุลฎ์ซี” พัฒนาเรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
“สกุลฎ์ซี” พัฒนาเรือนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ

ข่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติวันนี้

วว. ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศฟิลิปปินส์ในโอกาสศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัย/พัฒนา ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นายมนตรี แก้วดวง ผอ.สถานีวิจัยลำตะคอง (สลค.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Renato U. Solidum, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Secretary of the Department of Science and Technology : DOST) และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใน

นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเ... นครเฉิงตูโชว์ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีในงานแสดงสินค้าไฮเทค — นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านนว...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digi... นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน จัดการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 6 — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digital China Summit) ครั้งที่ 6 เปิดฉากขึ้...

จีนเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและเวิร์กช็อปบ่มเพาะอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ ชวนทั่วโลกเข้าร่วมได้ฟรี

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนครฉงชิ่ง และรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและส่ง...

รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความ... จีน-อาเซียน สำรวจความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี — รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ค...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้... การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 (The 5th Digital China S...