สมาคมจีเอสเอ็มระบุการปล่อยให้ข้อมูลส่งข้ามพรมแดนอย่างอิสระ เป็นสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลในเอเชีย

          สมาคมจีเอสเอ็มระบุการปล่อยให้ข้อมูลส่งข้ามพรมแดนอย่างอิสระ เป็นสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลในเอเชีย การกำหนดกรอบเดียวกันด้านการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลทั่วภูมิภาคจะช่วยสร้างโอกาส การขยายตัวของการค้าโลกและเพิ่มการเติบโตของจีดีพี

          รายงานล่าสุดของสมาคมจีเอสเอ็ม หรือ GSMA ที่เปิดเผยในงานประชุม Mobile เศรษฐกิจ6สมาคมจีเอสเอ็ม – Digital Societies ที่มีขึ้นวันนี้ ชี้รัฐบาลในกลุ่มประเทศเอเชียสามารถขยายเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลของภูมิภาค และสร้างประโยชน์ทางสังคมเศรษฐกิจให้กับประชากรได้เพิ่มขึ้น โดยยกเลิกข้อกำหนดที่ไม่จำเป็นที่ควบคุมการไหลของข้อมูลระหว่างประเทศ ทั้งนี้ รายงาน 'Regional Privacy Frameworks and Cross-Border Data Flows' ชิ้นสำคัญนี้ยังเผยอีกด้วยว่า การทำให้กฎเกณฑ์ข้อบังคับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมีความสมดุลกันสามารถส่งผลเชิงบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สร้างความก้าวหน้าทางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี 5G Internet of Things (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI)
          ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดนมีส่วนช่วยให้ GDP โลกเติบโตขึ้นถึงราว กลุ่มประเทศสมาคมจีเอสเอ็ม.กลุ่มประเทศ เปอร์เซ็นต์กลุ่มประเทศ และคิดเป็นมูลค่ากว่า งานประชุม.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐงานประชุม (ประมาณ 9กลุ่มประเทศ.6งานประชุม ล้านล้านบาท) ของ GDP โลก ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าตัวเลขของการค้าผลิตภัณฑ์ทั่วโลก ความสามารถในการโอน จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการทำการค้า ส่งเสริมนวัตกรรม และผลักดันให้เกิดพัฒนาการด้านเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม และบริการใหม่ๆ 
          แม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีพัฒนาการที่ดีในเรื่องการกำหนดกรอบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถปกป้องผู้บริโภคได้ดี ในขณะที่ยังพอให้มีการส่งผ่านข้อมูลข้ามพรมแดนอยู่บ้าง แต่รายงานชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ความแตกต่างของกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละประเทศเป็นเครื่องกีดขวางการขยายตัวทางการค้าและการสรรค์สร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ ในรายงานฯ ยังชี้แนะให้สร้างการเชื่อมโยงระหว่างสองกรอบความร่วมมือหลักด้านข้อมูลส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชีย คือ ASEAN Framework on Personal Data Protection และ APEC Privacy Framework เพื่อช่วยให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดน 
          "การไหลเวียนของข้อมูลและเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลสามารถก่อให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลอย่างที่ไม่มีใครสามารถโต้แย้งได้" นายบอริส วอยแทน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายข้อมูลส่วนบุคคล การดูแลส่วนงานภาครัฐและกฎระเบียบสมาคมจีเอสเอ็ม กล่าวว่า "ความร่วมมือด้านมาตรการข้อมูลส่วนบุคคลที่ครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ หลุดพ้นจากอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลไม่จำกัดอยู่แค่ในเอเชียเท่านั้น แต่ส่งผลทั่วโลก การใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำหนดขึ้นเองจากแต่ละประเทศเพื่อควบคุมและบังคับการใช้ข้อมูลของประชากรในประเทศนั้นๆ จะตีกรอบจำกัดขีดความสามารถขององค์กรต่างๆ ในเอเชียในการนำเสนอสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภคในอนาคต ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันหามาตรการในการปิดช่องว่างความแตกต่างระหว่างกฎข้อบังคับด้านข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น"
          งานวิจัยชิ้นนี้ประเมินกรอบและหลักการสำคัญด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับภูมิภาคที่หลากหลาย
รวมทั้งการวิเคราะห์เจาะลึกในระดับประเทศ เพื่อระบุหาแนวทางของประเทศนั้นๆ ว่ามีข้อกำหนดในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง รายงานนี้ยังได้แนะนำมาตรการสำคัญที่ทุกประเทศ รวมทั้งประเทศที่กำลังพัฒนา ควรสนับสนุนและร่วมมือในการนำมาปฏิบัติใช้ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียสามารถก้าวเดินไปในทิศทางเดียวกันได้ดียิ่งขึ้น โดยข้อแนะนำที่สำคัญบางประการที่มีระบุไว้ในรายงานฉบับนี้ ได้แก่ 
          รัฐบาลประเทศสมาชิกเอเปคและอาเซียนควรร่วมกันพิจารณาทางเลือกที่ระบุไว้ในรายงานเพื่อปิดช่องว่างความแตกต่างด้านข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศตนเอง และเชื่อมโยงกับกรอบข้อกำหนดในระดับภูมิภาคมากขึ้น 
          ประเทศต่างๆ ควรพัฒนากฎข้อบังคับด้านข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยทำการวิเคราะห์ภูมิทัศน์ด้านข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศตนว่าเป็นเช่นไร และศึกษาประสบการณ์ของรัฐบาลในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพื่อทำความเข้าใจ และกำหนดทิศทางในอนาคตร่วมกัน
          ผู้กำหนดนโยบายในภาครัฐและผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในระดับภูมิภาค
          รัฐบาลควรชี้แจงแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลทั้งจากภาคเอกชนและภาควิชาการด้านข้อมูลส่วนบุคคลถึงแนวทางการปฏิบัติต่างๆ 
          นอกจากนั้น ในวันเดียวกันนี้ GSMA ได้ตีพิมพ์รายงานอีกหนึ่งฉบับ ในหัวข้อ 'Cross-Border Data Flows: Realising Benefits and Removing Barriers' ที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่บุคคล ธุรกิจและรัฐบาลจะได้รับจากการไหลเวียนของข้อมูลทั่วโลก รวมทั้งผลเสียที่เกิดจากการเพิ่มมาตรการกำหนดขอบเขตข้อมูลให้อยู่เฉพาะในพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้บริษัทต่างๆ ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดไว้ในประเทศต้นกำเนิด หรือแม้กระทั่งการห้ามไม่ให้บริษัทฯ โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลมาไว้ด้วยกัน โดยรายงานฉบับนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกยกเลิกมาตรการที่ไม่จำเป็นในการจำกัดข้อมูลให้อยู่เฉพาะในพื้นที่ และส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของข้อมูลข้ามชาติบนแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการพัฒนาแล้ว

          เกี่ยวกับ GSMA
          GSMA เป็นผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก เป็นสมาคมศูนย์รวมของผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 75สมาคมจีเอสเอ็ม ราย และกว่า เศรษฐกิจ5สมาคมจีเอสเอ็ม บริษัทในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาทิ ผู้ผลิตอุปกรณ์และหูฟังโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัทซอฟต์แวร์ ผู้ให้บริการอุปกรณ์และบริษัทอินเตอร์เน็ต รวมถึง องค์กรอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงด้วย นอกจากนี้ GSMA ยังเป็นผู้สร้างกิจกรรมชั้นนำในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาทิ การประชุม Mobile World Congress การประชุม Mobile World Congress ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ การประชุม Mobile World Congress ในอเมริกา และการประชุมในกลุ่ม Mobile เศรษฐกิจ6สมาคมจีเอสเอ็ม อีกด้วย

          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์บริษัท GSMA ที่ www.gsma.com และติดตาม GSMA บน Twitter ได้ที่ @GSMA
สมาคมจีเอสเอ็มระบุการปล่อยให้ข้อมูลส่งข้ามพรมแดนอย่างอิสระ เป็นสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลในเอเชีย
 
สมาคมจีเอสเอ็มระบุการปล่อยให้ข้อมูลส่งข้ามพรมแดนอย่างอิสระ เป็นสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลในเอเชีย
สมาคมจีเอสเอ็มระบุการปล่อยให้ข้อมูลส่งข้ามพรมแดนอย่างอิสระ เป็นสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจเชิงดิจิทัลในเอเชีย
 
 
 

ข่าวสมาคมจีเอสเอ็ม+กลุ่มประเทศวันนี้

หัวเว่ยยกระดับความยิ่งใหญ่ Healthcare Summit ในไทย ผนึกกำลังพันธมิตรหนุนระบบนิเวศด้านสาธารณสุขอัจฉริยะครบวงจร

หัวเว่ยจัดต่อเนื่อง Huawei Intelligent Healthcare Summit 2024 ภายใต้แนวคิด Accelerating Healthcare Intelligence ซึ่งในครั้งนี้จัดขึ้นแบบเอ็กซ์คลูซีฟภายในงาน Asia-Pacific ICT Summit 2024 มหกรรมงานเทคโนโลยีไอซีทีที่จัดร่วมกันโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, หัวเว่ย และสมาคมจีเอสเอ็มในฐานะพันธมิตรในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญที่ยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคในประเทศไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายวิลเลี่ยม จาง ประธานธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

รายงาน GSMA เผย อินเทอร์เน็ตมือถือ 5G จ่อโต 10 เท่าในเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2573 ก้าวเข้ายุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม ภูมิภาค APAC มีความเหลื่อมล้ำด้านการใช้งานมือถือมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เหตุบางประเทศยังเผชิญอุปสรรค สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เผยแพร่รายงาน Mobile Economy APAC 2023 ในวันนี้...

เข้าร่วมระบบนิเวศดิจิทัลได้ที่งาน MWC SHANGHAI 2023 จัดโดยสมาคมจีเอสเอ็ม

บัตรผ่านเข้างาน MWC Shanghai สำหรับสื่อมวลชน เปิดให้ลงทะเบียนแล้ว สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน MWC Shanghai 2023 ระหว่างวันที่ 28 30 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการนานาชาติเซี่ยงไฮ้แห่งใหม่ (SNIEC) เราขอเชิญสื่อมวลชน...

ความก้าวหน้าล่าสุดของย่านความถี่ 6GHz ในอ... ย่านความถี่ 6GHz ที่มาแรงในอุตสาหกรรมการสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล — ความก้าวหน้าล่าสุดของย่านความถี่ 6GHz ในอุตสาหกรรมการสื่อสารวิทยุและโทรคม...

สะท้อนให้เห็นว่า "5G เหมืองอัจฉริยะ" ที่ส... แซดทีอีและพันธมิตรร่วมคว้ารางวัล "5G เอเนอร์จี ชาลเลนจ์ อวอร์ด" จากสมาคมจีเอสเอ็ม — สะท้อนให้เห็นว่า "5G เหมืองอัจฉริยะ" ที่สร้างขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง...

สมาคมจีเอสเอ็มเปิดตัวรายงานฉบับใหม่ พบการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความเหลื่อมล้ำมากกว่าความครอบคลุมสัญญาณถึง 8 เท่า

ในปัจจุบัน พื้นที่กว่า 95% ของโลกมีเครือข่ายบรอดแบนด์เคลื่อนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม กว่า 40% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้กลับต้องเผชิญกับอุปสรรคอื่น ๆ ที่ทำให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่...

สมาคมจีเอสเอ็มเผย การแก้ไข 'ความเหลื่อมล้ำด้านการใช้งาน' บนโทรศัพท์มือถือคือกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

รายงานประจำปี GSMA SDG Impact Report ครั้งที่ 7 แสดงให้เห็นว่าความครอบคลุมทางดิจิทัลคือศูนย์กลางแห่งความพัฒนาของ SDG จีเอ็สเอ็มเอ (GSMA) หรือสมาคมจีเอสเอ็ม เปิด...