นางเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุล พาณิชย์จังหวัดลำพูน กล่าวว่า การจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์หัตถกรรม OTOP SMEs และวิสาหกิจชุมชน ประมาณ 50 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการขยายช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จังหวัดลำพูน /เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดของผู้ประกอบการหัตถกรรมสร้างสรรค์ และ เพื่อสร้าง Clusters และ Networks นักการตลาดหัตถกรรมสร้างสรรค์ในจังหวัดลำพูน ตลอดจนพัฒนาผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสร้างสรรค์จังหวัดลำพูนให้ได้มาตรฐานสากล ตามแนวทางการพัฒนาจังหวัดลำพูน ได้กำหนดจุดเน้นตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) ในการพัฒนาให้เป็น เมืองหัตถนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Creative Craft Innopolis) เนื่องจากมีศักยภาพและความโดดเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ที่สืบทอดมายาวนาน จนเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะผ้าฝ้ายทอมือพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ ผ้าฝ้ายยกดอก ผ้าฝ้ายลายโบราณ ผ้าทอกะเหรี่ยง ผ้าทอไทลื้อ และผ้าไหมยกดอกอันเป็นที่ยอมรับ และได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และต้องการเผยแพร่อนุรักษ์และถ่ายทอดสู่คนรุ่นถัดไปผ่านสถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย และกลุ่มวัฒนธรรมพื้นบ้านในอำเภอต่างๆ นอกจากนี้ยังมีฝีมือด้านงานไม้แกะสลัก และอีกมากมาย ภายใต้การผลักดันผ่านผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ผลิตภัณฑ์เด่น สินค้าลำพูนแบรนด์ ซึ่งสร้างรายได้ปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งด้านราคา หรือเทคนิคการผลิตสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผู้ประกอบการในจังหวัดลำพูน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน มาเป็นสินค้าที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกมาเป็นหัตถนวัตกรรม โดยนำจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ด้านอัตลักษณ์ภูมิปัญญา มาต่อยอดในเชิงธุรกิจที่เน้นการตลาด การสร้างพันธมิตรทางการค้า และสามารถกำหนดทิศทาง ตั้งแต่กระบวนการต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อให้สามารถรับมือกับการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุล พาณิชย์จังหวัดลำพูน กล่าวต่อไปว่า ผู้ประกอบการที่เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้จากทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านทั้งวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ อาจารย์ ดร.สุดเขต สกุลทอง ผู้ช่วยอธิการบดี International cluster มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บรรยายในหัวข้อ 'World mega trend & Micro trend เหลียวหลังแลหน้า แนวโน้มของธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ของโลกยุค Digital era" และ "Thailand mega trend & Micro trend ไทยกับหัตถนวัตกรรมสร้างสรรค์แห่งอนาคต"
และหัวข้อ" Online market สำหรับการส่งออกยุค Digital และตลาดสินค้า e-Commerce" / อาจารย์ ดร.นทีทิพย์ สรรพตานนท์ จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บรรยายในหัวข้อ "การวางแผนและการกำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สากล" และอาจารย์จักรพันธ์ ธัมทะมาลา จาก Institute of product quality and standardization (IQS) บรรยายเรื่อง "การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สากล" รวมทั้ง หัวข้อ "ความรู้ด้านพิธีการศุลกากรขาออกและสิทธิประโยชน์ ด้านภาษีศุลกากรในการส่งออก" โดยวิทยากรจากศูนย์บริการศุลกากร กรมศุลกากร และจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (จังหวัดเชียงใหม่) หรือ DITP และวิทยากรจากหน่วยงานภาคเอกชน อาทิ คุณเนติวุฒิ หมื่นพินิจ ผู้อำนวยการสินเชื่อ SME ธนาคาร TMB บรรยายหัวข้อ "ขั้นตอนการเตรียมเอกสารธนาคารเพื่อการส่งออก - วิธีการรับชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ" / คุณฐิติกร โชติพงศ์กุล กรรมการผู้จัดการสุวรรณไพศาลขนส่ง 2010 หัวข้อ " การจัดการ Logistics และ Supply Chain " เป็นต้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit