พิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์ ผนึกความร่วมมือ โคเวสโตร และ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ผลักดันโครงการ “Rethink the Rink” พัฒนาด้านวัสดุศาสตร์ เพื่อยกระดับความปลอดภัยกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง

          - ประเดิมก้าวแรกของโปรเจกต์ความร่วมมือครั้งพิเศษด้วยกิจกรรม "Make-a-thon" เพื่อแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการทำให้กีฬาฮอกกี้น้ำแข็งมีความปลอดภัยมากขึ้นสำหรับผู้เล่นทุกวัย

          ทีมฮอกกี้น้ำแข็ง พิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์ ของลีกเอ็นเอชแอล จับมือสองยักษ์ใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก ในแผนริเริ่มสุดท้าทายเพื่อทำให้การเล่นกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งปลอดภัยขึ้นในทุกระดับ

          "Rethink The Rink" ถือเป็นโครงการแรกที่จะมาท้าทายเหล่านักศึกษาจากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ในการพัฒนาวัสดุที่จะช่วยตอบโจทย์การเพิ่มความปลอดภัยของกีฬาโดยไม่กระทบกับเกมการแข่งขัน โครงการริเริ่มดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบแผ่นกันกระแทกและกระจกป้องกันในลานฮอกกี้น้ำแข็ง โดยนักศึกษาจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนนำความรู้ทางด้านทฤษฎีและวิชาการไปปรับใช้ ทั้งยังสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีวัสดุจาก โคเวสโตร (Covestro) ผู้ผลิตพอลิเมอร์ไฮเทคในฐานะที่เป็น "พันธมิตรด้านนวัตกรรมอย่างเป็นทางการของพิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์" 

          "ผู้เล่นตัวใหญ่ขึ้น ว่องไวขึ้นและแข็งแรงมากกว่าที่เคย ดังนั้นความท้าทายของเราคือการหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อให้พวกเขาปลอดภัยยิ่งขึ้น และลดการบาดเจ็บ" เดวิด มอร์เฮาส์ ประธานและซีอีโอของพิตต์สเบิร์ก เพนกวินส์ กล่าว "ความร่วมมือกับโคเวสโตรและมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอนในครั้งนี้ เจาะจงไปที่การใช้ความก้าวหน้าล่าสุดในด้านวัสดุศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาขอบเขตทางกายภาพรอบลานฮอกกี้น้ำแข็ง เราจะสามารถคิดค้นโซลูชันในด้านวัสดุที่จะช่วยลดการกระแทกของนักกีฬาบริเวณขอบสนามและทำให้การแข่งขันมีความปลอดภัยสำหรับผู้เล่นทุกวัยได้หรือไม่"

          สำหรับก้าวแรกที่สำคัญของกระบวนการดังกล่าวคือ "Make-a-thon" ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 12-16 มีนาคม ที่วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ โดยกิจกรรมแบบอินเตอร์แอคทีฟนี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ได้รวมทีมกันเพื่อออกแบบและพัฒนาต้นแบบสำหรับใช้ทดสอบ

          หากประสบความสำเร็จ ต้นแบบดังกล่าวจะถูกส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญของเอ็นเอชแอล และสมาคมฮอกกี้นำแข็งสหรัฐ (USA Hockey) เพื่อขอคำแนะนำติชม จากนั้นจะมีการทดสอบวัสดุต้นแบบโดยนักกีฬาสมัครเล่น ที่ลานสเก็ตน้ำแข็ง FedEx Rink ภายใน UPMC Lemieux Sports Complex ในเมืองแครนเบอร์รี

          "ผมนึกไม่ออกว่าจะมีพันธมิตรรายใดที่ดีไปกว่า โคเวสโตร และ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สองแรงขับเคลื่อนระดับโลกซึ่งเป็นที่ยอมรับในด้านนวัตกรรมวัสดุและวิศวกรรม" มอร์เฮาส์กล่าว "เมื่อประกอบกับข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งและการจัดการลานสเก็ตน้ำแข็งจากทีมเพนกวินส์และเอ็นเอชแอลแล้ว เราคิดว่านี่คือสุดยอดทีมที่จะมาร่วมกันเสาะแสวงหาวิธีการในการทำให้กีฬาที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วงนั้นมีความปลอดภัยสำหรับผู้เล่นทุกคน และถ้าหากเราบรรลุเป้าหมายได้ นี่อาจเป็นโครงการวิจัยสำคัญที่สร้างผลลัพธ์ในระยะยาวต่อเกมการแข่งขัน"

          แนวคิด "Rethink the Rink" เริ่มต้นจากการพูดคุยกันมาอย่างต่อเนื่องระหว่างมอร์เฮาส์และเจอร์รี แมคเคลียร์รี ซีอีโอของโคเวสโตร แอลแอลซี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอเมริกาเหนืออยู่ในพิตต์สเบิร์ก

          "เราสนใจทำโปรเจกต์นี้ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ใช่เพราะโปรเจกต์นี้เป็นการผสมผสานระหว่างการแก้ปัญหาซึ่งเป็นสิ่งที่เราหลงใหล และความปลอดภัยซึ่งเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญอย่างมากเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะเราเชื่อในศักยภาพระยะยาวของโครงการนี้" แมคเคลียร์รีกล่าว "เราวางแผนการเล่นไปพร้อมกับการเล่น และนั่นทำให้เราผลักดันขอบเขตออกไปได้เรื่อย ๆ และทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้น แรงผลักดันของเราจะแข็งแกร่งมากยิ่งกว่าเดิม ด้วยพลังสามประสานที่อยู่เบื้องหลังโปรเจกต์นี้"

          "ที่คาร์เนกี เมลลอน เราท้าทายนักศึกษาให้เอาชนะปัญหาที่ไม่ธรรมดา ให้คิดใหม่ทำใหม่ ให้อยากรู้อยากเห็น และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงการเรียนรู้ด้วยตนเองสุดท้าทายอย่าง 'Rethink the Rink'" เจมส์ เอช. การ์เรตต์ จูเนียร์ คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน กล่าว "โครงการนี้เกิดขึ้นจากสามองค์กรชั้นนำระดับโลก อันเป็นการสะท้อนถึงความร่วมมือระดับสูงที่เราลงมือผลักดันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่"

          หากโครงการออกแบบแผ่นกันกระแทกและกระจกป้องกันในลานฮออกกี้น้ำแข็งนี้ประสบความสำเร็จ ทางกลุ่ม "Rethink the Rink" ก็จะทำการสำรวจบทบาทของวัสดุในขอบข่ายอื่น ๆ ของกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งต่อไป อย่างเช่น อุปกรณ์สำหรับผู้เล่น และ การก่อสร้างลานฮอกกี้

          การ์เรตต์เสริมว่า "การนำสามองค์กรซึ่งตั้งอยู่ในเมืองพิตต์สเบิร์กมารวมตัวกันเพื่อคิดริเริ่มสร้างสรรค์เกี่ยวกับโครงการที่ท้าทายเช่นนี้ นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังและจิตวิญญาณของเมืองแห่งนี้ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นว่าเหตุใดพิตต์สเบิร์กจึงเฟื่องฟูในทุกวันนี้" 

          เกี่ยวกับโคเวสโตร แอลแอลซี 
          โคเวสโตร แอลแอลซี เป็นหนึ่งในผู้ผลิตพอลิเมอร์ประสิทธิภาพสูงชั้นนำในอเมริกาเหนือ และเป็นธุรกิจระดับโลกในเครือ โคเวสโตร ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทพอลิเมอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยยอดขาย 1.19 หมื่นล้านยูโรในปี 2559 กิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทมุ่งเน้นไปที่การผลิตวัสดุพอลิเมอร์ไฮเทค และการพัฒนาโซลูชั่นนวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ๆ ได้แก่ ยานยนต์ การก่อสร้าง การแปรรูปไม้และฟอร์นิเจอร์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการแพทย์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างกีฬาและสันทนาการ เครื่องสำอาง ตลอดจนอุตสาหกรรมเคมีเองด้วยเช่นกัน โคเวสโตร มีโรงงานผลิต 30 แห่งทั่วโลก และมีพนักงานราว 15,600 คน ณ สิ้นปี 2559

          เกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน
          มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน (www.cmu.edu) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ติดอันดับต้น ๆ ในระดับนานาชาติ ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และธุรกิจ ไปจนถึงด้านนโยบายสาธารณะ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์ โดยนักศึกษากว่า 13,000 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันและวิทยาลัยในเครือของมหาวิทยาลัยล้วนได้ประโยชน์จากอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่เหมาะสม และรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และนำวิธีการต่าง ๆ ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนการบูรณาการสหวิทยาการ และนวัตกรรม

          ติดต่อ: 
          Pittsburgh Penguins: Tom McMillan, 412-255-1828, [email protected]
          Covestro: Bob Walker, 412-413-2369, [email protected]
          Carnegie Mellon Engineering: Lisa Kulick, 412-268-5444, [email protected]

          วิดีโอ - https://www.youtube.com/watch?v=58jTItqgi34
          รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/652679/Rethink_the_Rink_GRAPHIC.jpg
          โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/652680/Joint_Logo_Header_Logo.jpg


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+มหาวิทยาลัยคาร์เนกีวันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...