ไทยพาณิชย์ และดิจิทัล เวนเจอร์ส จัดสัมมนา Faster Future Forum 2018 ปลดล็อก Blockchain เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจโลก

          ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารฯ จัดงานสัมมนา 'Faster Future Forum 2ดิจิทัล เวนเจอร์สธนาคารไทยพาณิชย์8' ปีที่สอง ภายใต้หัวข้อ UNLOCK BLOCKCHAIN: The World DISRUPTIVE Technology นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบล็อกเชน เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะมาเปลี่ยนโลกธุรกิจในแง่มุมที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง พร้อมกรณีศึกษาจริงจากการนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ลูกค้าองค์กรของธนาคารในธุรกิจต่าง ๆ ตัวแทนหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงฟินเทคและสตาร์ทอัพ ตลอดจนสื่อมวลชน มาร่วมรับฟังกว่า 6ดิจิทัล เวนเจอร์สดิจิทัล เวนเจอร์ส คน
          ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า "บล็อกเชนคือเทคโนโลยีที่กำลังส่งผลกระทบกับโลกอย่างมากในอนาคตอันใกล้ หลักการของบล็อกเชนคือการอาศัยความสามารถของคอมพิวเตอร์มาสร้างให้เกิดความไว้วางใจ (trust) ระหว่างบุคคลสองฝ่ายที่ไม่รู้จักกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง หรือบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นการลดขั้นตอน ลดต้นทุน จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ธุรกิจต่าง ๆ อยากได้ แต่คำถามคือเราจะกำกับดูแลอย่างไร หน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ จะคุ้มครองทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างไร และผู้บริโภคจะเชื่อมั่นในความปลอดภัยได้ไหม สัมมนาครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อทำความเข้าใจ แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับบล็อกเชน ตลอดจนการนำไปใช้จริงในธุรกิจ เพื่อให้เราสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ" 
          ในการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "Blockchain Changes the World" พลภัทร อัครปรีดี กรรมการผู้จัดการ หน่วยงาน Corporate Venture Capital บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด สรุปภาพรวมของบล็อกเชนว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้หลักการเข้ารหัส (Cryptography) บล็อกเชนเปรียบเสมือนสมุดบัญชีที่เรียงร้อยบล็อกของข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นของอินเทอร์เน็ต โดยมีจุดแข็งคือความโปร่งใส ด้วยหลักการเก็บข้อมูลแบบกระจาย (Distributed) ผู้เกี่ยวข้องทุกคนจึงต่างมีข้อมูลเหมือนกันหมด ข้อมูลเปิดเผยให้ทุกคน และหากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ ก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย และด้วยเหตุที่ข้อมูลนี้ถูกเก็บในลักษณะกระจาย การที่แฮกเกอร์ต้องการจะล้วงข้อมูลไปใช้ในทางทุจริตจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจะต้องตามไปแฮ็กในทุกโหนดข้อมูล ต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพการประมวลผลสูงมาก เสียทั้งกำลังคนและเวลามากมายมหาศาล ไม่คุ้มค่าที่จะทำ จึงเป็นการอุดช่องโหว่ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของระบบ ปัจจุบัน บล็อกเชนได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินและธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้จริงแล้ว เช่น Smart Contracts, การยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล (Digital Identity), การเลือกตั้งออนไลน์, และ การติดตามตรวจสอบสินค้าจากแหล่งกำเนิดจนถึงมือผู้บริโภค (Supply Chain)
ด้วยหลักการทำงานที่ต้องอาศัยการเห็นชอบจากทุกฝ่าย มีการลงประทับวันเวลา (Timestamp) และตรวจสอบได้ การทุจริตจึงทำได้ยาก แพล็ตฟอร์มบล็อกเชนจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่าง ๆ นอกเหนือจากการเงินได้ ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายพลังงานที่ผู้บริโภคและผู้ขายสามารถติดต่อกันโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง ในธุรกิจการผลิตทางอุตสาหกรรม ซึ่งเนสเล่ ยูนิลีเวอร์ และวอลมาร์ทนำมาใช้แล้วในการติดตามตรวจสอบผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบตลอดช่วงวงจรซัพพลายเชน หรือธุรกิจการค้าสามารถใช้ตรวจสอบวัตถุมีค่าต่าง ๆ ว่าเป็นของแท้หรือไม่ เช่น งานศิลปะ เครื่องเพชร หรือนาฬิกา
          สัมนนาครั้งนี้ ยังมีมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในการบุกเบิกบล็อกเชนระดับโลกอย่าง แบรด การ์ลิงเฮาส์ ซีอีโอ (Brad Garlinghouse) และหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของ Ripple ผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศทั่วโลกแบบเรียลไทม์โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดยแบรดให้คำจำกัดความง่าย ๆ ของ Ripple ว่าเป็นผู้แก้ไขปัญหาในโลกจริงของธุรกิจโดยอาศัยจุดแข็ง 3 ประการคือ ความเข้าใจในการทำธุรกรรมการโอนเงินของธนาคาร ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และความเข้าใจในด้านกฏระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน และคุณค่าสำคัญในเชิงธุรกิจของบล็อกเชนคือ สามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นในราคาที่ถูกลงได้
          ปิดท้ายด้วยช่วงเสวนา "Unlock Blockchain to Endless Possibilities" ได้วิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและนักธุรกิจมาร่วมเผยประสบการณ์จากการนำแพล็ตฟอร์มบล็อกเชนไปพัฒนาเป็นโซลูชั่นที่ใช้จริงแล้ว ทั้งในแวดวงราชการ ธุรกิจประกัน และธุรกิจการเกษตร
          เริ่มจาก ดร. ภูมิ ภูมิรัตน ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบการยืนยันตัวตนแทนการใช้รหัสผ่านโดยใช้บล็อก เพื่อการตรวจสอบสถานะตัวบุคคลแบบดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยถือจะเป็นประเทศแรก ๆ ในโลกที่ใช้ระบบนี้ กล่าวถึงความท้าทายของเทคโนโลยีในการขอความเห็นชอบจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่มองว่าเทคโนโลยีนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจมองข้ามในการส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถ และทำให้เกิดแนวทางในการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ
          ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากสิงคโปร์ วาเลนเซีย แยป (Val Yap) ผู้ก่อตั้ง PolicyPal สตาร์ทอัพด้าน InsurTech และได้รับการจัดอันดับจาก Forbes ให้เป็นหนึ่งใน 3ดิจิทัล เวนเจอร์ส ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า 3ดิจิทัล เวนเจอร์ส ปี เล่าถึงที่มาของการก่อตั้งธุรกิจว่าเกิดจากประสบการณ์จริงที่เผชิญความยุ่งยากในการเคลมค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยจากการเสียชีวิตกระทันหันของสมาชิกในครอบครัวจากบริษัทประกันภัยต่าง ๆ จึงเกิดไอเดียริเริ่มธุรกิจผู้ให้บริการตัวแทนประกันดิจิทัลโดยใช้แพล็ตฟอร์มบล็อกเชน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อและบริหารกรมธรรม์หลายฉบับให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการพัฒนาแพล็ตฟอร์มบริการในการช่วยให้ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถเข้าถึงบริการประกันภัยโดยลดอุปสรรคต่าง ๆ จากเงื่อนไขความคุ้มครองของประกันภัยแบบเดิม ๆ 
          สุดท้าย เดวิด เดวี่ส์ (David Davies) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ AgUnity บริษัทด้านการลงทุนเพื่อสังคม ซึ่งช่วยส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาด้วยโซลูชั่นบล็อกเชน ผ่านประสบการณ์ทำงาน ทั้งด้านเทคโนโลยีมาและธนาคารเพื่อการลงทุนระดับโลกหลายแห่งมาแล้ว เสริมว่าแพล็ตฟอร์มบล็อกเชนทำให้เกิดโมเดลของการประสานความร่วมมือในรูปแบบใหม่ และสามารถติดตามตรวจสอบได้ตลอด Value chain ของธุรกิจ ซึ่งทำให้ AgUnity สามารถดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่รายได้น้อยที่สุดของโลกให้พ้นจากความยากจนมาแล้วโดยการส่งเสริมความเชื่อมั่นและสนับสนุนให้เกิดการร่วมมือกัน สร้างตลาดกลางที่เชื่อมโยงไปสู่ผู้ซื้อผลผลิตโดยตรง โดยไม่ผ่านคนกลาง จึงทำให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน
          งานสัมมนา Faster Future Forum 2ดิจิทัล เวนเจอร์สธนาคารไทยพาณิชย์8 ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของดิจิทัล เวนเจอร์สที่ได้ไปสร้างรากฐานและเครือข่ายธุรกิจในระบบนิเวศด้านฟินเทคในต่างประเทศ ทั้งเครือข่ายในด้านการลงทุน และเทคโนโลยี และเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะได้นำความรู้เหล่านี้กลับมาส่งต่อให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ตลอดจนลูกค้าองค์กรของธนาคารในภาคธุรกิจต่าง ๆ เพื่อสร้างความตื่นตัว และพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลไปพร้อมกัน นับเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินของไทย

          เกี่ยวกับ ดิจิทัล เวนเจอร์ส (Digital Ventures)
          ดิจิทัล เวนเจอร์ส คือบริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 ตามกลยุทธ์ในการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ของทางธนาคารฯ ดิจิทัล เวนเจอร์ส มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธนาคารผ่านการลงทุน การค้นคว้านวัตกรรม รวมถึงการบ่มเพาะ สนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศสำหรับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศไทย เบื้องต้น ดิจิทัล เวนเจอร์ส มีเงินลงทุนในFinancial Technology จำนวน ธนาคารไทยพาณิชย์,75ดิจิทัล เวนเจอร์ส ล้านบาทหรือประมาณ 5ดิจิทัล เวนเจอร์ส ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้อมูลเพิ่มเติม www.dv.co.th
ไทยพาณิชย์ และดิจิทัล เวนเจอร์ส จัดสัมมนา Faster Future Forum 2018 ปลดล็อก Blockchain เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจโลก
 
ไทยพาณิชย์ และดิจิทัล เวนเจอร์ส จัดสัมมนา Faster Future Forum 2018 ปลดล็อก Blockchain เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจโลก
ไทยพาณิชย์ และดิจิทัล เวนเจอร์ส จัดสัมมนา Faster Future Forum 2018 ปลดล็อก Blockchain เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจโลก
ไทยพาณิชย์ และดิจิทัล เวนเจอร์ส จัดสัมมนา Faster Future Forum 2018 ปลดล็อก Blockchain เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจโลก

ข่าวดิจิทัล เวนเจอร์ส+ธนาคารไทยพาณิชย์วันนี้

AWC ผนึก SCB ร่วมยกระดับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทย นำ B2P แพลตฟอร์มจัดซื้อจัดจ้างบนเทคโนโลยีบล็อคเชน

บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ยกระดับซัพพลายเชนอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทยผ่านเทคโนโลยีบล็อคเชน นำแพลตฟอร์ม B2P (Blockchain for Procure-to-Pay) แพลตฟอร์มจัดซื้อจัดจ้างดิจิทัลครบวงจรบนเทคโนโลยีบล็อคเชนเชื่อมต่อเครือข่ายซัพพลายเชนของ AWC รองรับการจัดซื้อจัดจ้างและชำระเงินด้วยระบบดิจิทัลทั้งกระบวนการ ตอกย้ำความเป็นแพลตฟอร์มแห่งความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีที่แม่นยำ

นายธนวัฒน์ กิตติสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการให... ดิจิทัล เวนเจอร์ส นำแพลตฟอร์ม PayZave คว้ารางวัล Editors' Triple Star จากงาน The Asset Triple A Awards 2022 — นายธนวัฒน์ กิตติสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ...

U.REKA รุ่นที่ 2 ประกาศรายชื่อ 8 ทีมนักวิจัย Deep Tech ผ่านเข้าสู่รอบ Incubation เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-สังคมอย่างยั่งยืน

บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ U.REKA รุ่นที่ 2 ขณะนี้ได้คัดเลือกทีมนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง (Deep Tech) เข้าสู่รอบ...

U.REKA รุ่นที่ 2 ประกาศรายชื่อ 8 ทีมนักวิจัย Deep Tech ผ่านเข้าสู่รอบ Incubation เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-สังคมอย่างยั่งยืน

บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ U.REKA รุ่นที่ 2 ขณะนี้ได้คัดเลือกทีมนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง (Deep Tech) เข้าสู่รอบ...

ดิจิทัล เวนเจอร์ส ตอกย้ำการเป็นองค์กรทางด... โครงการ U.REKA ยกกำลังสอง เดินหน้าเปิดรับนักวิจัยไทยผุดนวัตกรรม Deep Tech สานต่อโครงการรุ่นที่ 2 — ดิจิทัล เวนเจอร์ส ตอกย้ำการเป็นองค์กรทางด้านนวัตกรรมและ...

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจ... มจธ.โชว์เทคโนโลยี Blockchain ในงาน Digital Government Summit 2019 — มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมงาน Digital Government Summit 2019 จ...