รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (นั่งที่ 5 จากซ้าย) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน
ภาครัฐ โครงการสานพลังประชารัฐ ด้าน
การศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ พร้อมด้วย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี (นั่งที่ 5 จากขวา) ศาสตราจารย์ คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นั่งที่ 4 จากซ้าย) และศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (นั่งที่ 3 จากซ้าย) ร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาสังคมและ12 ซีอีโอ องค์กรเอกชนใหญ่ระดับประเทศ ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) เดินหน้าสานต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการในระยะที่ 1 ส่งผลให้โรงเรียนประชารัฐเกิด Best Practice ที่มีมาตรฐานและดัชนีชี้วัด (KPIs) ระดับสากลรองรับและแสดงผลได้อย่างชัดเจน โดยจัดการประชุมใหญ่หัวหน้าคณะทำงาน ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ อาคาร AIA Capital Center ถ.รัชดาภิเษก หารือแนวทางดำเนินงานระยะที่ 2 ที่จะขยายเครือข่ายไปกว่า 4,600 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพคน ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้านของโครงการฯ
การประชุมครั้งนี้ เป็นการสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการระยะที่ 1 (2559-2560) และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษา 3 ภาคส่วน รวมทั้งแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) ดังนี้
- Job Demand Platform - การสร้างฐานข้อมูลการตลาดทุกภาคอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ในการเตรียมกำลังคนและพัฒนาทักษะต่างๆ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันและอนาคต
- โรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 2 – ภาครัฐและเอกชนเดินหน้าขยายการสนับสนุน "โรงเรียนประชารัฐ" เพิ่มอีก 1,246 โรงเรียน มุ่งสู่เป้าหมายการยกระดับศักยภาพการจัดการศึกษาไทยเพิ่มเป็น 15% ของโรงเรียนทั่วประเทศ พร้อมต่อยอดโรงเรียนประชารัฐสู่การเป็น "โรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ Partnership School" ที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการสถานศึกษาได้อย่างอิสระ ไม่น้อยกว่า 77 แห่งทั่วประเทศ
- Capability Center - ภาคเอกชนร่วมพัฒนา Capability Center ไม่น้อยกว่า 10% ของสถาบันอาชีวะ 80 แห่ง ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของภาครัฐ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ สถานประกอบการจำลอง สำหรับฝึกทักษะอาชีพในภาคอุตสาหกรรมหลัก
- Media & Digital Media - การเพิ่ม 1 นาทีในทุกชั่วโมง ช่วง Prime Time เพื่อสื่อสารคอนเทนต์ด้านการศึกษา และผลักดัน Media & Digital Media เข้ามาส่งเสริมการรับรู้เพื่อสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้านการศึกษาของทุกภาคส่วน
โดยการประชุมดังกล่าว มีองค์ประชุมจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ อาทิ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งภาคประชาสังคม อาทิ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุด โรงเรียนสัตยาไส ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนปัญญาประทีป และภาคเอกชน นำโดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ / ประธานคณะกรรมการ บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชน โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (ยืนที่ 6 จากขวา) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ CONNEXT ED ได้แก่
- บมจ. ธนาคารกรุงเทพ โดย นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร
- บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โดย นางสาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ ที่ปรึกษา
- กลุ่มเซ็นทรัล โดย ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส
- บมจ. ซีพี ออลล์ โดย นายธานินทร์ บูรณมานิต กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร โดย นายเอนก บุญหนุน รองประธานกรรมการด้านโครงการพิเศษ
- กลุ่มมิตรผล-บมจ.บ้านปู โดย นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- บมจ. ปตท. โดย นายกฤษณ์ อิ่มแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กรและความยั่งยืน
- บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ โดย นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย โดย นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่
- บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ โดย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
- บมจ. ไทย ยูเนี่ยนกรุ๊ป โดย นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร