มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ “จับเข่าคุย ล่อซื้อ 10 ปี แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์หรือยัง?”

23 May 2018
มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ "จับเข่าคุย ล่อซื้อ 10 ปี แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์หรือยัง?" เนื่องในสัปดาห์ต่อต้านการค้ามนุษย์ในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2561 ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเวลา 10.30 น. – 16.00 น.
มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ “จับเข่าคุย ล่อซื้อ 10 ปี แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์หรือยัง?”

สืบเนื่องจากเดือนมิถุนายนถูกจัดให้เป็นสัปดาห์วันต่อต้านการค้ามนุษย์ และถึงแม้หลากหลายหน่วยงานจะออกมารณรงค์และทำงานในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องแต่สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยกลับไม่ได้ดีขึ้นเลย โดยเฉพาะนโยบายการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่มีไว้เพื่อปกป้องสิทธิของผู้หญิงแต่ยังมีผู้หญิงจำนวนมากที่ยังถูกจับและได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะนโยบายและแนวทางการ "ล่อซื้อพนักงานบริการ" ที่ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบให้กับพนักงานบริการและครอบครัวเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้การ"ล่อซื้อพนักงานบริการ" เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามหลังสิทธิมนุษยชน และ ป.วิอาญามาตรา 226 ถือว่าเป็นปฏิบัติการ ที่ร่วมกระทำความผิด การบุกทลายก็เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการกระทำที่รุนแรงต่อพนักงานบริการ และสร้างผลกระทบต่อพนักงานบริการทั้งหมด ซึ่งในประเทศไทยมีพนักงานบริการประมาณ 3 แสนคน 10 ปีที่ผ่านมาจับผู้เสียหาย 300 คนทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบกับคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยเหตุการณ์ล่าสุดกรณีการบุกทลายที่นาตาลีอาบอบนวดจับผู้หญิงไป 121 คน ได้ผู้เสียหาย 15 คน ล่าสุดที่วิทตอเรีย ซีเคร็ทจับผู้หญิง 113 คน ได้ผู้เสียหาย 8 คน ส่วนคนที่เหลือถูกจับข้อหามั่วสุมในสถานค้าประเวณี ในหนึ่งปีพนักงานบริการถูกจับไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน ตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีเพื่อช่วยคนที่ด้อยโอกาส แต่เราเห็นว่าการจับกุมไม่ได้เป็นการให้โอกาสแต่อย่างไร

จากเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เห็นชัดเจนว่า การล่อซื้อและบุกทลาย เป็นการละเมิดสิทธิของพนักงานบริการอย่างมาก มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในเรื่องนี้ และกรกฎาคม 2560 ประเทศไทยต้องรายงานต่อคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ หรือซีดอ(CEDAW) ว่าที่ผ่านมาได้มีการปฏิบัติต่อผู้หญิงในประเทศยังไง ตามอนุสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามไว้ และ เอ็มพาวเวอร์ (EMPOWER Foundation) ได้ทำรายงานคู่ขนานไปยังคณะกรรมการซีดอ(CEDAW)จากเหตุการณ์ร้านนาตาลีกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้คณะกรรมการซีดอได้มีข้อเสนอให้กับรัฐบาลไทยต้องทำตามคือ ให้หยุดการล่อซื้อและบุกทลายทันที และให้ยกเลิกความผิดการค้าประเวณี ให้ใช้กฎหมายแรงงานเข้ามาคุ้มครองพนักงานบริการแต่แนวทางดังกล่าวนี้ก็ยังไม่ได้มีการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์จึงได้เตรียมจัดเวที เสวนา "จับเข่าคุย ล่อซื้อ 10 ปี แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์หรือยัง?" ในวันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 10.30 – 16.00 น. ที่ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นตัวแทนพนักงานบริการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิของพนักงานบริการ ร่วมกันจับเข่าคุยเพื่อหาทางออกและวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างเป็นรูปธรรมโดยไม่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเคารพในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของพนักงานบริการทุกคน มูลนิธิเอ็มพาวเว่อร์จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังการเสวนาและเข้าร่วมรับฟังข้อเท็จจริงจากปากของพนักงานบริการที่ได้รับผลกระทบด้วย โดยการจัดงานในครั้งนี้จะมีกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นจำนวน ดังนี้

  • พบกับการจัดฉายภาพยนตร์สั้น "The Last Rescue in Siam" สาวน้อยผจญภัย ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนถึงอุปสรรคที่พนักงานบริการต้องพบเจอในการทำงาน
  • ร่วมรับชมนิทรรศการผ้าปัก "มิดะ" ความยาวว่า 5 เมตรจากสองมือของพนักงานบริการที่บอกเล่าความจริงและชะตากรรมที่พนักงานบริการต้องพบเจอและได้รับผลกระทบจากนโนบายการล่อซื้อของเจ้าหน้าที่
  • ชมนิทรรศการ "ช่วย ไม่ช่วย" โดยพนักงานบริการจากมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ สำหรับกฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านการค้ามนุษย์
  • พบกับเวทีเสวนาหัวข้อ "จับเข่าคุย ล่อซื้อ 10 ปี แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์หรือยัง?" ร่วมเสวนาโดย คุณทันตา เลาวิลาวัณยกุล ผุ้ประสานงานมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ , คุณไหม จันทร์ตา ตัวแทนพนักงานบริการจากมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ,พ.ต.ท.กฤตธัช อ่วมสน รองผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ),คุณอังคณา นีละไพจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการเสวนาโดยคุณปรานม สมวงศ์ ตัวแทนองค์กร PI

หมายเหตุงานเสวนาจะเริ่มตั้งแต่ 10.30 – 12.30 น. และส่วนของนิทรรศการจะมีการจัดแสดงทั้งวันจนถึงเวลา 16.00 น.

HTML::image(