หน่วยปฏิบัติการและบริการบำรุงรักษาของคอนเนอร์ยีที่พัฒนาขึ้นใหม่มุ่งเน้นสนับสนุนและช่วยเหลือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่แล้วในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยการดำเนินงานที่ดีขึ้น หน่วยงานนี้เชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มประสิทธิภาพแก่ทุกกิโลวัตต์จากการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุด
จากการวิเคราะห์ตลาดของคอนเนอร์ยี แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยและภูมิภาคนี้
ข้อบกพร่องทั่วไปในการดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้แก่ การขาดการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-time) การซ่อมแซมที่ล่าช้า ไม่สามารถหาชิ้นส่วนอะไหล่ได้ ช่างเทคนิคขาดทักษะทำให้ล่าช้าในการระบุและแก้ไขปัญหาความผิดพลาดของโรงไฟฟ้าอย่างเหมาะสม และการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งสามารถทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าได้น้อยลงเพราะเงาที่มาจากวัชพืชที่รกรุงรัง รวมถึงแผงรับแสงที่สกปรกมากจนเกินไปเพราะมีฝุ่นติดที่แผงโซล่าทำให้ประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน
คอนเนอร์ยีได้ลงทุนสร้างศูนย์ตรวจสอบและติดตามการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่เพื่อการตรวจสอบประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการและบำรุงรักษาเพื่อคอยให้บริการทั้งประเทศไทยและในภูมิภาค เพื่อแก้ปัญหาตามที่กล่าวมาข้างต้น
"เราเชื่อว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยบางแห่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นเราจึงลงทุนในด้านการปฏิบัติการและบำรุงรักษาในธุรกิจของเรา" นายอเล็กซานเดอร์ เลนซ์ ประธานของคอนเนอร์ยี เอเชียแปซิฟิก กล่าว "โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีศักยภาพที่ยอดเยี่ยม แต่สินทรัพย์บางอย่างจำเป็นต้องได้รับการดูแล เราเชื่อว่าโรงไฟฟ้าบางแห่งในไทยอาจสูญเสียไฟฟ้าหลายพันกิโลวัตต์ชั่วโมงและหลายล้านบาทต่อปี แต่เราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าได้ อีกทั้ง เรามั่นใจอย่างมากว่าเราสามารถช่วยนำพลังงานที่สูญเสียไปกลับคืนมาและช่วยให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างเต็มประสิทธิภาพ คำมั่นสัญญาของเราคือ การขจัดข้อบกพร่องในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้แก่นักลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำงานร่วมกับเราให้หมดไป"
ข้อบกพร่องเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญสำหรับนักลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งหนึ่งมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า 100,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี อาจทำได้ตามเป้าหมายนี้ในปีแรก จากนั้นเมื่อปัญหาด้านการดำเนินงานเกิดขึ้น ในปีที่สองการผลิตไฟฟ้าที่สามารถทำได้อาจลดลงเหลือ 60,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ประสิทธิภาพการผลิตก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
"เราทราบดีว่าเหตุการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการเชิงรุก" นายชเตฟเฟน เฮชเชอ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษาของคอนเนอร์ยี กล่าว
คอนเนอร์ยีติดตามประสิทธิภาพการทำงานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและซ่อมบำรุงเมื่อต้องการการซ่อมบำรุงและการบริการต่างๆ
ในบางกรณี บริการด้านการปฏิบัติการและซ่อมบำรุงของคอนเนอร์ยีช่วยให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย และส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นกว่า 150,000 บาทต่อกำลังการผลิตติดตั้งในแต่ละปี
"เราทุกคนเห็นพ้องกันว่าผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กำลังทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อสิ่งแวดล้อมและประเทศของตน" นายชเตฟเฟน เฮชเชอ กล่าว "ตอนนี้เราแค่ต้องทำให้แน่ใจว่าการลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์เหล่านี้กำลังผลิตพลังงานสะอาดมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สามารถดำเนินงานเต็มประสิทธิภาพตลอดทั้งปี และให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน เรามั่นใจอย่างยิ่งว่าหน่วยปฏิบัติการและบริการบำรุงรักษาของคอนเนอร์ยีจะตอบสนองความต้องการนี้ได้อย่างแน่นอน"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit