PwC เผยเทรนด์การนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับองค์กรพุ่ง มุ่งสู่โลกแรงงานดิจิทัล

          PwC ประเทศไทย เผยภาคธุรกิจกำลังเร่งปฏิวัติองค์กรเข้าสู่แรงงานในรูปแบบดิจิทัล (Digital workforce) ผ่านการนำระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจมากขึ้น หวังเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานที่ไม่ซับซ้อนและลดต้นทุนไปพร้อมๆ กัน พร้อมแนะพนักงานเสริมทักษะใหม่ๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล
          นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มของการนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในองค์กรไทยกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่า ภาคธุรกิจต้องการปฏิรูปองค์กรเข้าสู่กำลังแรงงานในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งหมายถึง การนำระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติเข้ามาใช้ทดแทนงานบางประเภทที่ต้องทำซ้ำๆ (Routine) ของมนุษย์ เช่น ระบบจัดการกระบวนการแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation: RPA) กระบวนการประมวลผลอัจฉริยะ (Intelligent Process Automation: IPA) และ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานขององค์กรในยุคปัจจุบัน
          "ระบบออโตเมชั่นและกำลังแรงงานในรูปแบบดิจิทัลกำลังเข้ามาเปลี่ยนโฉมรูปแบบการทำงานของมนุษย์ โดยการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในองค์กรไม่ได้เป็นแค่ตัวเลือกอีกต่อไป แต่กลายเป็นภารกิจสำคัญที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ หากต้องการเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในการทำงานไปควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย และร่นระยะเวลาในการตอบสนองต่อลูกค้า"
          "ทั้งนี้ การนำระบบอัตโนมัติ หรือ ซอฟต์แวร์มาใช้จะช่วยให้พนักงานที่เป็นมนุษย์มีเวลาไปทำงานในเชิงคิดวิเคราะห์ หรืองานที่เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้มากขึ้น โดยที่ผ่านมา กระแสของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับองค์กรเป็นไปในลักษณะที่เกื้อหนุนมากกว่าเข้ามาแย่งงานคน แต่แทนที่เราจะมัวกังวลกับเรื่องนี้ อยากให้ทั้งองค์กรและพวกเราเองหันมาเตรียมความพร้อม เรียนรู้ และหาทางอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ให้ได้จะดีกว่า" นางสาว วิไลพร กล่าว
          นางสาว วิไลพร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเห็นสัญญาณของการนำระบบจัดการกระบวนการแบบอัตโนมัติ หรือ อาร์พีเอ มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ในหลายอุตสาหกรรมชั้นนำ โดยหลายองค์กรกำลังอยู่ในช่วงการทดสอบการใช้ระบบ (Proof of Concept: POC) ว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและตรงความต้องการ หรือต่างก็กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำระบบอัตโนมัติมาปรับใช้
          ทั้งนี้ ผลการศึกษาฉบับหนึ่งของ PwC ยังระบุว่า 45% ของกระบวนการทำงานปัจจุบันสามารถถูกจัดการได้โดยอัตโนมัติ และระบบอัตโนมัตินี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทั่วโลกได้มากถึง ตลาดแรงงาน ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ราวกว่า 66 ล้านล้านบาท
          ขณะเดียวกัน กระบวนการประมวลผลอัจฉริยะขั้นสูง หรือ ไอพีเอ ซึ่งถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกำลังแรงงานในรูปแบบดิจิทัลก็กำลังถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเทคโนโลยีไอพีเอนี้ ถูกออกแบบมาให้ช่วยงานมนุษย์ในงานประเภทที่ต้องทำซ้ำๆ แต่มีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ และสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานของตนให้ดีขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป
          นางสาว วิไลพร อธิบายว่า บอต (Bot) ย่อมาจาก โรบอต (Robot) หรือ โปรแกรมอัตโนมัติ (ไม่ใช่โรบอตที่ใช้ในโรงงานหรือ อุตสาหกรรมหนัก) เหล่านี้มีความสามารถในการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน และทำการเปรียบเทียบข้อมูลเบื้องต้นได้ แต่ยังคงต้องอาศัยความสามารถเฉพาะทางของมนุษย์เข้ามาช่วยในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย หรือจัดการข้อยกเว้นบางประการ
          ส่วนระบบอัตโนมัติในรูปแบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ถือเป็นขั้นสูงสุดของเทคโนโลยีประเภทนี้ โดยบอตจะมีความสามารถในการเรียนรู้ ปรับปรุงและพัฒนา รวมทั้งทำการตัดสินใจที่ดีที่สุดภายใต้กรอบข้อมูลหรือปัจจัยที่ถูกกำหนดไว้ โดยการทำงานของบอตประเภทนี้จะช่วยขับเคลื่อนกระบวนการและการตัดสินใจเป็นหลัก ส่วนมนุษย์จะกำหนดกรอบปัจจัยที่ต้องการรวมทั้งข้อมูลที่จะถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจ
          ตัวอย่างของเอไอที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ แชทบอต (Chatbot) หรือ ผู้ช่วยอัจฉริยะ (Digital assistant) ซึ่งสามารถสื่อสารกับลูกค้า และจัดการกับคำร้องในการขอรับบริการต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยคาดว่า เทคโนโลยีนี้จะถูกนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพได้ในอีก ยุคดิจิทัล-5 ปีข้างหน้า
          "ความยั่งยืนของการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ไม่ได้หมายถึงการหมดเงินมากมายมหาศาลไปกับการลงทุนในเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วหมายถึงการสื่อสาร การปรับปรุงวิธีคิด กระบวนการทำงาน และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดิจิทัลขององค์กรด้วย ในทางกลับกัน คนทำงานอย่างพวกเราเองก็ต้องหมั่นเรียนรู้ และพัฒนาทักษะใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เสี่ยงที่จะตกงาน อีกทั้งต้องตระหนักว่า การเรียนรู้ คือ การเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด" นางสาว วิไลพร กล่าวสรุป

PwC เผยเทรนด์การนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับองค์กรพุ่ง มุ่งสู่โลกแรงงานดิจิทัล

ข่าววิไลพร ทวีลาภพันทอง+ระบบอัตโนมัติวันนี้

DigitalCEO8 เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล นำคณะผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 8 จำนวน 82 คน เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand นายพิสิฐ ทางธนกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC (ประเทศไทย) ให้เกียรติต้อนรับผู้อบรม ก่อนนำเข้าสู่การบรรยายพิเศษ "กรณีศึกษา PwC digital Transformation" โดยคุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) จำกัด และหัวข้อ

PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบ... PwC ประเทศไทย เผยโซลูชัน BaaS จิ๊กซอว์สำคัญพลิกโฉมระบบนิเวศทางการเงินของไทย — PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ หรือ BaaS จะเป็นส่วนสำคัญในก...

PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่ส... PwC ประเทศไทย ชี้ธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลไม่สำเร็จ — PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำ...

PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปล... PwC แนะธุรกิจไทยวางกลยุทธ์ย้ายโครงสร้างไอทีดั้งเดิมสู่ระบบคลาวด์ — PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบดั้งเดิมสู่...

PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thai... PwC ประเทศไทย คว้ารางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565 — PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2...