สำหรับการเยือนเมียนมาในครั้งนี้ คณะฯ ได้เข้าพบและหารือร่วมกับมุขมนตรีรัฐมอญ (Dr. Aye Zan) ซึ่งทางภาครัฐและเอกชนรัฐมอญยินดีที่เอกชนไทยจะไปร่วมพัฒนารัฐมอญ หากสามารถเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างกันได้ จะทำให้มีความสะดวกมากขึ้น โดยประเด็นที่มีการหารือ ประกอบด้วย
1) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2) ด้านการท่องเที่ยว ทางรัฐมอญวางแผนที่จะเปิดด่านฝั่งตรงข้ามกับด่านเจดีย์สามองค์ โดยจะให้มีการออก Visa on Arrival (VOA) ณ ด่านชายแดน แทนการขยาย Border Pass
3) ด้านอุตสาหกรรมและการลงทุน มีความสนใจมาลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจห้องเย็น ธุรกิจแปรรูปอาหารอาหารทะเล
4) ด้านการเกษตร นักธุรกิจไทยสนใจที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์
5) ด้านการศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ สถาบันพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี ยินดีที่จะให้ทุนการศึกษาในการพัฒนาบุคลากรในรัฐมอญ
นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้ประชุมหารือร่วมกับสภาการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (UMFCCI) โดยมีประเด็นหารือ ประกอบด้วย
1. การทำความตกลงการขนส่งทวิภาคี เฉพาะรถส่วนบุคคล (ไทย-เมียนมา) เสนอให้ภาคเอกชนเมียนมา ช่วยสนับสนุนข้อเสนอนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน
2. การอำนวยความสะดวกการทำ Visa on Arrival (VOA) ณ ด่านชายแดน ระหว่างไทย-เมียนมา ขอให้ทั้ง 2 ประเทศ อนุญาตให้มีการทำ Visa on Arrival (VOA) ณ ด่านชายแดนแม่สอด และเมียวดี
3. ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกับ UMFCCI ในการเปิดมหาวิทยาลัยในเมียนมา ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ร่วมมือกับ UMFCCI เปิดหลักสูตร MBA ที่ UMFCCI ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ตั้งแต่ปี 2012
4. ความร่วมมือด้าน Wellness สภาหอการค้าฯ จะให้ความร่วมมือกับUMFCCI เพื่อพัฒนาด้าน Wellness โดยเฉพาะการรักษาพยาบาล สมุนไพร และ digital health
อย่างไรก็ตาม การเยือนในครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งคณะนักธุรกิจจากหอการค้าไทยได้มีความสนใจที่จะขยายความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างกัน และคาดว่าในอนาคตหอการค้าไทยจะนำคณะฯ ไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าต่อไป