ด้าน นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ โฆษกกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ "โคบาลบูรพา" มีการดำเนินการใน 2 กิจกรรมหลัก คือ 1) ส่งเสริมการเลี้ยงแม่โคเนื้อผลิตลูก เป้าหมายระยะแรกเกษตรกร 6,000 ราย สนับสนุนแม่โคเนื้อ รายละ 5 ตัว เป้าหมายโคเนื้อ รวม 30,000 ตัว ซึ่งเกษตรกร จำนวน 618 ราย ได้รับแม่โคแล้ว 3,090 ตัว ผสมเทียม 123 ตัว ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถส่งมอบแม่โคให้ครบ 100% ได้ ภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ และเป็นที่น่าดีใจแทนเกษตรกรเนื่องจากแม่โคบางตัวตั้งท้องมาแล้วมีลูกโคคลอดมาแล้ว 10 ตัว (เกษตรกรมีความพร้อม จำนวน 2,600 คน สร้างคอกแล้วเสร็จ 2,600 หลัง ปลูกหญ้า 13,000 ไร่) 2) ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เป้าหมายระยะแรกเกษตรกร 100 ราย สนับสนุนแพะเพศเมีย รายละ 30 ตัว เพศผู้รายละ 2 ตัว รวมทั้งสิ้น 32 ตัว ต่อราย ซึ่งเกษตรกรจากอำเภออรัญประเทศ แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการแล้ว 50 ราย สร้างคอกเสร็จแล้ว 20 ราย ปลูกหญ้า จำนวน 60 ไร่
ส่วนการเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับกลุ่มเกษตรกร ให้เป็นองค์กรเกษตรกร ด้านการสร้างกระบวนให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายการบริหารงานที่เป็นระบบ ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ฯ เพื่อดำเนินการแล้ว จำนวน 7 แห่ง คือ
1. สหกรณ์ปศุสัตว์โคบาลบูรพาอรัญประเทศ จำกัด เมื่อ 15 มิถุนายน 2560
2. สหกรณ์ปศุสัตว์โคบาลบูรพาวัฒนานคร จำกัด เมื่อ 6 กรกฎาคม 2560
3. สหกรณ์ปศุสัตว์โคบาลบูรพาโคกสูง จำกัด เมื่อ 24 กรกฎาคม 2560
4. สหกรณ์ปฏิรูปที่ดินอำเภอวัฒนานคร (คทช.) จำกัด เมื่อ 24 กรกฎาคม 2560
5. สหกรณ์ปฏิรูปที่ดินอำเภออรัญประเทศ (คทช.) จำกัด เมื่อ 16 มิถุนายน 2560
6. สหกรณ์ปฏิรูปที่ดินอำเภอโคกสูง (คทช.) จำกัด เมื่อ 16 มิถุนายน 2560
7. สหกรณ์ปฏิรูปที่ดินอำเภอวังน้ำเย็น (คทช.) จำกัด เมื่อ 1 สิงหาคม 2560
ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) มีการตรวจสอบโรค มีการดำเนินการทั้งจากต้นทาง มีการเจาะเลือดส่งตรวจและกักไม่น้อยกว่า 21 วัน เพื่อตรวจสอบโรคตามที่กำหนด และปลายทาง ในพื้นที่มีคอกกักใน จังหวัดสระแก้ว หรือใกล้เคียงในพื้นที่เขต 2 ที่ได้รับการรับรอง อย่างน้อย 3 วัน เพื่อกักดูอาการก่อนส่งมอบให้เกษตรกรต่อไป 2) เตรียมการสำรองอาหารสัตว์ ให้เกษตรกรทุกราย ปลูกสร้างแปลงหญ้าตามเงื่อนไข รายละ 5 ไร่ แม้จะกระทบช่วงแล้งบ้าง ประเมินแล้วน่าจะไม่มากนัก 3) เตรียมกระตุ้น แนะนำให้สำรองยอดมัน ใบมัน กิ่งอ่อน หมักในถัง สำรองให้กินเสริมตอนเย็น เนื่องจากมีการเก็บหัวมันในช่วงแล้งนี้ และยังมียอดอ้อยในพื้นที่ที่สามารถนำมาใช้เลี้ยงโคในแล้งนี้ได้ และ 4) เตรียมสำรองเสบียงสัตว์ในพื้นที่ใกล้เคียง รวม 20,000 ฟ่อน สำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit