นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานพิธีลงนามสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาจัดทำ โครงการศึกษาความเหมาะสมและแนวทางในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสำรองไฟฟ้าสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ (Grid Energy Storage) ว่า ส.อ.ท.ได้พิจารณาแล้วว่า อุตสาหกรรมสำรองไฟฟ้า หรือ แบตเตอรี่เป็น Quick win project สำหรับการตั้งนิคมอุตสาหกรรม New S-Curve เนื่องจากมีความพร้อมทุก ๆ ด้าน จึงเชื่อว่าสามารถเริ่มลงทุนได้เป็นกลุ่มแรกๆ และจะเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นฐานกำลังอันสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอีกหลายแขนง เช่น การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของทั้งประเทศ ยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่นๆ
ด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมสำรองไฟฟ้านี้ ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีมูลค่าการลงทุนในระดับแสนล้าน ส.อ.ท.และเป็นก้าวแรกในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอีกจำนวนมาก ภาคเอกชนที่สนใจลงทุนจึงได้หารือกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อหาวิธีการในการศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ จนมีความเห็นพ้องกันว่า ควรว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความเป็นอิสระ ดังนั้น ส.อ.ท. โดยคลัสเตอร์พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงได้ทำการว่าจ้าง มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เพื่อทำ "โครงการศึกษาความเหมาะสมและแนวทางในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสำรองไฟฟ้า" โดยมีระยะเวลาในการศึกษา 7 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายงานผลการศึกษาที่ได้ มาประกอบการวางแผนพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ (Grid Energy Storage) เพื่อรองรับปริมาณการผลิตและใช้ไฟฟ้าในอนาคต
นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า ภาคเอกชนตื่นตัวและเร่งศึกษาเทคโนโลยีแบตเตอรี่กันอย่างจริงจัง โดยในส่วนของ EA ได้เริ่มศึกษามาไม่ต่ำกว่า 3 ปีแล้ว และได้ติดตามพัฒนาการของเทคโนโลยีมาโดยตลอด เราเล็งเห็นถึงประโยชน์และความคุ้มค่าในภาพรวมของประเทศ หากสามารถนำแบตเตอรี่มาใช้เป็นระบบสำรองไฟฟ้าและทำให้เสถียรภาพในสายส่งได้ ประกอบกับขณะนี้เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีครั้งสำคัญ จึงเป็นโอกาสของผู้เล่นอย่าง EA ในการก้าวเข้ามาลงทุนเป็นรายแรกๆ โดย EA อยู่ระหว่างเตรียมที่จะลงทุนในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาดกำลังการผลิตรวม 50 GWh มูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีอันทันสมัยจาก Industrial Technology Research Institute หรือ ITRI ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ของรัฐบาลไต้หวัน และจะจับมือกับบริษัท Amita Technologies Inc. ผู้นำในธุรกิจแบตเตอรี่จากไต้หวัน และบริษัท Shenzen Growatt New Energy Technology Co., Ltd. ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่จากจีน ตลอดจนพันธมิตรอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย
HTML::image(