“ห้องเรียนชุมชน” สู่วัฒนธรรมการอ่านของเด็กไทย มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

          หลังจากรัฐบาลบรรจุให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้ ปี 2552 -256สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน พร้อมทั้งมีแนวทางส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติ ทว่าที่ผ่านมาการอ่านกับคนไทยกลับไม่กระเตื้องเท่าที่ควร จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่สำรวจในปี 2558 และเผยแพร่ผลสำรวจในปี 2559 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีการขยายนิยามของ"การอ่าน"นอกจากอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำรา ยังหมายรวมถึงการอ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ SMS และ E-mail ด้วย โดยพบว่า คนไทยใช้เวลาในการอ่าน"เฉลี่ย 66 นาที/วัน" 
          แม้จากสถิติข้างต้นสะท้อนว่าการอ่านยังไม่เป็นวัฒนธรรมของคนไทย รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสื่อการอ่านยังมีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนเมืองและคนชนบทมากนัก โดยเฉพาะตัวเลขการอ่านหนังสือของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ควรได้รับการปลูกฝัง พบว่ายังคงน่าเป็นห่วง
          เช่นเดียวกับโรงเรียนบ้านดู่ ตำบลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนระดับประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่อนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติ68 คน ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนยังมีปัญหาเรื่องเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
          จากปัญหาดังกล่าวนายอดิศักดิ์ ไสว ผู้อำนวยการโรงเรียน จึงร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาจัดกิจกรรมอ่านหนังสือให้ผู้ใหญ่ฟัง แบ่งเป็น 2 กิจกรรม คือ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.กิจกรรมในโรงรียน แบ่งนักเรียนในโรงเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละประมาณ 2งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ คน ในทุกๆเช้าหลังเข้าแถวเคารพธงชาติ นักเรียนทั้งหมดจะเข้าห้องประชุมของโรงเรียนเพื่อฟังเพื่อนกลุ่มที่ถึงคิวอ่านหนังสือให้ผู้อำนวยการฟัง
          ส่วนกิจกรรมในชุมชนคือ นักเรียนแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานจากคุณครูผู้สอนให้ไปอ่านหนังสือให้ผู้นำในชุมชนหรือผู้ปกครองของตนเองฟัง เมื่ออ่านเสร็จแล้วผู้นำหรือผู้ปกครองจะให้ความเห็นต่อการอ่านของนักเรียน เพื่อนำกลับมาส่งคุณครู กิจกรรมนี้ดำเนินมาได้ 2 ปีแล้ว ซึ่งสามารถกระตุ้นให้นักเรียนสนใจฝึกฝนการอ่านมากขึ้นระดับหนึ่ง
          ขณะที่ในมุมมองของเยาวชนบ้านดู่ด้วยกันเองอย่าง ซัน-อภิชญา เทาศิริ ครีม-สุจิตรา สายจันทร์ ปาล์ม- สุกัญญา บุษบา แซน-ณัฐณิชา เทาศิริ และนัด-อภิภาวดี วัตรจันทร์ ในฐานะศิษย์เก่าของโรงเรียน เห็นปัญหาดังกล่าวและมองเห็นความสามารถของตนเองในการช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระผู้ใหญ่ เมื่อพี่ ๆ จากโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพานิชย์ จำกัด (มหาชน) ชักชวนให้ทำกิจกรรม พวกเขาจึงรวมกลุ่มกันทำโครงการชวนน้องอ่าน สานความรู้สู่มือน้อง โดยมองว่าการศึกษาในระบบไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ของน้องๆ ดังนั้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนในแบบฉบับของพี่สอนน้อง จึงถือเป็นความพิเศษในการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ไปด้วยกัน รวมทั้งเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กวัยเดียวกันและหวังว่า กิจกรรมที่ทำจะเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้น้อง ๆ อ่านออกเขียนได้ และรักการอ่านมากขึ้น
          กลุ่มเป้าหมายของโครงการเน้นนักเรียนชั้น ป.4- ป.6 ที่อาศัยอยู่หมู่ 2 และหมู่ 8 ซึ่งใกล้เคียงกับพื้นที่โรงเรียนบ้านดู่ เพื่อความสะดวกในการรวมตัวทำกิจกรรม จากนั้นทีมงานได้เข้าพบผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดู่ แนะนำโครงการและขออนุญาตทำกิจกรรมกับน้องๆ ซึ่งผลการตอบรับมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการถึง 4งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ คน
          กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ที่ทีมงานเยาวชนออกแบบคือ การเล่นเกมต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน แฝงเนื้อหาสาระที่การสะท้อนบทเรียนการเรียนรู้ โดยหลังจบเกมแต่ละครั้ง ทีมงานจะสร้างเงื่อนไขให้น้องๆ พูดแสดงความคิดเห็น พร้อมการรับฟังและต้องมีการจดบันทึก รวมถึงต้องอ่านให้เพื่อนฟังด้วย เช่น การสะท้อนความรู้สึกหลังเล่นเกมว่า รู้สึกอย่างไร เขียนประโยชน์จากการเล่นเกมลงในกระดาษบรู๊ฟแล้วออกมานำเสนอเป็นกลุ่ม บางครั้งทีมงานต้องยอมให้น้องพูดเป็นภาษาถิ่นบ้าง เพราะต้องการฝึกให้น้องกล้าพูดก่อน 
          นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนโดยให้คนเฒ่าคนแก่ที่มีความสามารถเล่านิทานพื้นบ้าน มาเล่านิทานให้น้องๆ ฟัง กิจกรรมนี้นอกจากสร้างการเรียนรู้ด้านการฟังแล้ว ยังช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยและเห็นถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านในการถ่ายทอดจากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนสู่ลูกหลานด้วย ดังนั้นนิทานเรื่องนางสิบสองและพระรถเมรีในเวอร์ชั่นคุณยาย จึงได้รับความสนใจจากเด็ก และผู้ใหญ่ที่มาล้อมวงกันฟัง เสียงโต้แย้งสอดแทรกเป็นระยะๆ จากผู้เฒ่าผู้แก่ที่ร่วมรับฟัง สร้างสีสันความสนุกสนานให้แก่วงเล่านิทาน รอยยิ้มของผู้เฒ่าผู้แก่ ประสานเสียงหัวเราะจากผู้เยาว์ เป็นภาพความสัมพันธ์ที่ถูกรื้อฟื้นให้เกิดความชิดใกล้โดยไม่ตั้งใจ
          การสะท้อนความรู้สึกหลังการเรียนรู้ครั้งนี้ น้อง ๆ ส่วนใหญ่ต่างบอกว่า ไม่เคยได้ฟังเรื่องราวนิทานแบบฉบับนี้มาก่อน แม้ว่าจะเคยอ่านนิทานทั้งสองเรื่องผ่านตา หรือได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่อรรถรสในการฟังครั้งนี้ต่างออกไป อาจจะด้วยเพราะคุณยายเล่าเป็นภาษาลาว ทำให้เด็กๆ รุ่นใหม่ได้รู้จักคำแปลกใหม่ในภาษาพื้นถิ่นของตนเองมากขึ้น
          ด้านผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดู่ กล่าวว่า โครงการชวนน้องอ่าน สานความรู้สู่มือน้องถือเป็นกิจกรรมที่ดี เพราะทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อีกทั้งยังเติมเต็มในส่วนที่โรงเรียนต้องการพัฒนาด้วย ขณะเดียวกันทางโรงเรียนได้ให้การสนับสนุนด้านสถานที่ และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม โดยมองว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นแนวทางให้การช่วยบางเบาภาระการสอนของครูในโรงเรียนซึ่งมีอยู่เพียง 9 คน เท่านั้น อีกทั้งเด็กวัยประถมศึกษาเป็นวัยที่จะต้องค่อย ๆ สอนทีละน้อย ยิ่งเป็นการเล่นปนเรียนยิ่งทำให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ ทั้งยังเป็นการสร้างพื้นฐานในการรักการอ่านและการเรียนรู้ที่ดีด้วย 
          การลุกขึ้นขยับของเยาวชนบ้านดู่สื่อให้เห็นว่า หากลงมือทำอย่างจริงจัง ผ่านความร่วมมือกันระหว่างผู้ใหญ่ในชุมชน ครู และเด็ก นำมาซึ่งการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยแต่ละคนวางบทบาทความถนัดของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นปราชญ์ชุมชนที่ถ่ายทอดเรื่องเล่า หรือบทบาทของโรงเรียนและครู ที่ต้องคัดกรองหนังสือให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย จะชวนให้เด็กสามารถซึมซับการอ่านได้โดยอัตโนมัติ และเชื่อว่าหากมีการต่อยอดหรือขยายแนวคิดสู่ชุมชนอื่น จะทำให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมการอ่านหนังสือในเด็กและผู้ใหญ่ได้อย่างแพร่หลาย และจะเป็นแรงผลักดันให้การอ่านกลายเป็นวัฒนธรรมของเด็กไทยได้ในที่สุด.///
“ห้องเรียนชุมชน” สู่วัฒนธรรมการอ่านของเด็กไทย มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
 
“ห้องเรียนชุมชน” สู่วัฒนธรรมการอ่านของเด็กไทย มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
“ห้องเรียนชุมชน” สู่วัฒนธรรมการอ่านของเด็กไทย มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) “ห้องเรียนชุมชน” สู่วัฒนธรรมการอ่านของเด็กไทย มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)

ข่าวงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ+ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดวันนี้

จุดประกายแรงบันดาลใจทางการเงิน! เปิดตัวหนังสือ "PASSIVE INCOME" และ"กองทุนรวม 101X" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

ภายใต้แนวคิด "Good Books Make Good Friends" ในโอกาสเฉลิมฉลอง 50 ปี ซีเอ็ด ร่วมกับสำนักพิมพ์ Money Fitness จัดงานเปิดตัวหนังสือใหม่สองเล่มคุณภาพ "PASSIVE INCOME เครื่องทุ่นแรงสู่อิสรภาพการเงิน" และ "กองทุนรวม 101X" ผลงานล่าสุดจาก โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บรรยากาศอบอุ่น และแรงบันดาลใจจากผู้อ่านที่สนใจการสร้างอิสรภาพทางการเงิน โดย โค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ได้ถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการสร้างรายได้แบบพาสซีฟ (Passive Income) ที่ช่วย

บีทูเอส ในเครือ เซ็นทรัลรีเทล จัดงานประกา... "B2S Book Awards 2025" งานประกาศรางวัล Book & BookFluencerอย่างยิ่งใหญ่ — บีทูเอส ในเครือ เซ็นทรัลรีเทล จัดงานประกาศรางวัล "B2S Book Awards 2025" งานป...

ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของซีเอ็ด บริษัทมีความ... 50 ปีซีเอ็ด ร่วมฉลองมิตรภาพแห่งการอ่าน ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2568 — ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของซีเอ็ด บริษัทมีความยินดีที่จะส่งต่อพลังแห่งการอ่านที่สร้าง...