นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์

          ดร.มัตถกา คงขาว นักวิจัยห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสุขภาพ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี พ.ศ. มะเร็งปากมดลูก56วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อทำวิจัยในหัวข้อ "An development of a new delivery system for HPV vaccine candidates against cervical cancer" หรือการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูก จากรัฐบาลออสเตรเลีย (Australia-APEC Women in Research Fellowship) กำหนดสิงหานี้ เดินหน้าทำวิจัยร่วมกับศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ตั้งเป้าให้วิธีรักษามะเร็งโดยใช้วัคซีนเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็งปากมดลูกต่อไป
          ดร.มัตถกา คงขาว เปิดเผยว่า "งานวิจัยที่ได้รับทุน คือเรื่อง "The development of a new delivery system for HPV vaccine candidates against cervical cancer" เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ในการรักษามะเร็งปากมดลูก เนื่องจากในปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ก่อให้เกิดการตายของผู้หญิงทั่วโลกเป็นอันดับที่ มะเร็งปากมดลูก การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดร่วมกับการให้เคมีบำบัดซึ่งเป็นวิธีรักษาทั่วไปของโรคมะเร็ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษาต่ำ หรือแม้กระทั่งตอบสนองในช่วงแรกและเกิดการกลับมาใหม่ของมะเร็ง ดังนั้น การหาวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกวิธีใหม่ จึงยังเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจของนักวิจัยด้านมะเร็ง โดยมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุเกือบ รัฐบาลออสเตรเลียวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี% มาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า HPV หรือ Human papilloma virus ฉะนั้น การรักษาโดยใช้วัคซีนเพื่อไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เพิ่มขึ้นเพื่อทำลายไวรัสเหล่านี้หรือภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษามะเร็งประเภทนี้ นอกจากนี้ วัคซีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกที่มีอยู่ท้องตลาดขณะนี้เป็นวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน แต่ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการรักษาเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็งเหล่านี้"
          "งานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นการทำงานร่วมกับ Professor Istvan Toth จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ในการพัฒนาวัคซีนสำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งออกแบบระบบนำส่ง เพื่อนำส่งวัคซีนที่ได้ไปยังเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส HPV ของมะเร็งปากมดลูกอย่างจำเพาะเจาะจง และยังเป็นการริเริ่มการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดในการต่อต้านและรักษามะเร็งปากมดลูกอีกด้วย โดยมีกำหนดจะเดินทางไปทำวิจัยที่ออสเตรเลียในเดือนสิงหาคมนี้"
          ทั้งนี้ ทุน Australia-APEC women in Research Fellowship เป็นแหล่งทุนที่สนับสนุนเงินทุนวิจัยหลังปริญญาเอกให้กับนักวิจัยหญิง ที่ประสบความสำเร็จในการทำวิจัยจากกลุ่มประเทศเอเปค โดยทุนวิจัยนี้เป็นการส่งเสริมการทำวิจัยร่วมกันของนักวิจัยหญิงในกลุ่มประเทศเอเปคกับสถาบันวิจัยหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในประเทศออสเตรเลีย โดยแหล่งทุนจะเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนเพื่อทำวิจัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและกระชับความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย เพิ่มเครือข่ายงานวิจัยและเปิดโลกทัศน์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับนักวิจัยในประเทศออสเตรเลีย
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์
 
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์
นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์ นักวิจัยนาโนเทค ได้รับทุนนักวิจัยหญิงออสเตรเลีย-เอเปค ประจำปี 2560 เพื่อพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูก ร่วมกับนักวิจัย ม.ควีนส์แลนด์

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+รัฐบาลออสเตรเลียวันนี้

สคทช. จับมือ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีรับรองพื้นที่ปลอดการตัดไม้ รองรับกฎ EUDR ดันแพลตฟอร์มตรวจสินค้าโภคภัณฑ์ก่อนส่งออก EU

(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ และรับรองพื้นที่ตามระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัด

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูน... TCMA ร่วม Thailand CCUS สู่เป้าหมาย Net Zero 2050 — นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (Thai Cement Manufacturers Association: TCMA) ร...