ซีพีเอฟ ต้นแบบการเลี้ยงสัตว์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชวนเกษตรกรทำกรีนฟาร์มรักษ์โลก

09 Jun 2017
องค์การสหประชาชาติประกาศให้ วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" (World Environment Day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้คนบนโลกหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมรอบข้างมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าวันนี้ทั่วทุกมุมโลกจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากมาย
ซีพีเอฟ ต้นแบบการเลี้ยงสัตว์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชวนเกษตรกรทำกรีนฟาร์มรักษ์โลก

สำหรับประเทศไทยแล้วต้องถือว่ามีความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตลอด โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่มีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจนเกิดเป็นการเลี้ยงสัตว์แบบ "รักษ์โลก" ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเลี้ยงสัตว์ในระบบโรงเรือนปิดที่ไม่เพียงช่วยป้องกันเรื่องกลิ่น แต่ยังช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการเลี้ยงไม่ให้แพร่กระจายออกไปโดยตรง เหมือนการเลี้ยงสัตว์ในอดีต ขณะเดียวกัน ยังคิดค้นนวัตกรรมการบำบัดของเสียด้วยระบบก๊าซชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส ที่ช่วยลดกลิ่นและได้พลังงานสะอาดจากกระบวนการหมักจนก๊าซมีเทนเปลี่ยนเป็นไบโอแก๊ส

เรื่องที่กล่าวมานี้ต้องยกให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่เป็นผู้นำการเลี้ยงสัตว์รักษ์โลก ด้วยการพลิกโฉมหน้าฟาร์มเลี้ยงสัตว์สู่ ฟาร์มสีเขียว หรือกรีนฟาร์ม (Green Farm) โดยมีฟาร์มเลี้ยงหมูของบริษัทเป็นต้นแบบ แล้วจึงต่อยอดไปสู่ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ และฟาร์มเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน

ผู้บริหารด้านการเลี้ยงสุกรของซีพีเอฟ สมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บอกว่า ซีพีเอฟมุ่งเสาะแสวงหาและค้นคว้าเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพปลอดภัยเหมาะแก่การบริโภค และยังเป็นเทคโนโลยีเพื่อโลกและสิ่งแวดล้อมที่เผยแพร่ให้เกษตรกรทั่วไปได้นำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งการเลี้ยงสัตว์ในระบบโรงเรือนปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรืออีแวป (Evaporative Cooling System : EVAP) ที่ไม่เพียงสามารถปรับให้อากาศภายในโรงเรือนเหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภท ทำให้สัตว์อยู่สบาย ไม่เครียด จึงเติบโตได้ดีตามศักยภาพของพันธุ์สัตว์ และการใช้ระบบไบโอแก๊ส ที่ถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนและมีผลพลอยได้เป็นกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในฟาร์ม ช่วยลดต้นทุนด้านไฟฟ้าถึง 50-80%

สำหรับโครงการกรีนฟาร์มนั้นเป็นการตอบโจทย์แนวคิดการยกรีสอร์ทมาไว้ที่ฟาร์มของบริษัท โดยเน้นการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน ประหยัดพลังงาน และใส่ใจชุมชน ซึ่งซีพีเอฟได้พัฒนาฟาร์มสุกรทุกแห่งของบริษัททุกแห่งให้กลายเป็นกรีนฟาร์มและเป็นต้นแบบการพัฒนาที่หลายองค์กร ทั้งในและต่างประเทศต่างมาศึกษาดูงานเพื่อนำไปปรับใช้ ขณะเดียวกัน ก็ได้ผลักดันฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสุกรกับบริษัทให้ร่วมโครงการกรีนฟาร์มด้วย เพื่อมีส่วนร่วมลดโลกร้อนเช่นเดียวกัน

"การทำกรีนฟาร์มไม่ใช่เรื่องยาก เพียงให้ความสำคัญกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทั้งการเลี้ยงในโรงเรือนปิด การจัดการของเสียด้วยไบโอแก๊สที่ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า การทำระบบฟอกอากาศท้ายโรงเรือนให้เหมาะสมกับฟาร์มของตนเอง เช่นการใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติมาช่วยบำบัดในระบบฟอกอากาศท้ายโรงเรือน ทำให้การลงทุนไม่สูง และพบว่าได้ผลดีมาก หรือแม้แต่การปลูกต้นไม้ในบริเวณฟาร์ม ที่ช่วยเพิ่มความร่มรื่นและลดความร้อนให้กับโรงเรือนได้ หากทุกๆคนร่วมมือกันเช่นนี้ ก็เท่ากับภาคปศุสัตว์ไทยได้มีส่วนช่วยลดปัญหาโลกร้อน" สมพร กล่าว

ความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการปฏิวัติภาพลักษณ์ฟาร์มเลี้ยงสัตว์สู่กรีนฟาร์ม ช่วยเสริมให้การผลิตสัตว์ของซีพีเอฟและเกษตรกรไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการเลี้ยงสัตว์ของไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าทุกๆ ขั้นตอนที่พัฒนาขึ้นนั้น อยู่บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานควบคู่ไปด้วยเสมอ สะท้อนภาพองค์กรรักโลกรักษ์สิ่งแวดล้อมของซีพีเอฟได้อย่างแท้จริง./

ซีพีเอฟ ต้นแบบการเลี้ยงสัตว์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชวนเกษตรกรทำกรีนฟาร์มรักษ์โลก ซีพีเอฟ ต้นแบบการเลี้ยงสัตว์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชวนเกษตรกรทำกรีนฟาร์มรักษ์โลก ซีพีเอฟ ต้นแบบการเลี้ยงสัตว์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชวนเกษตรกรทำกรีนฟาร์มรักษ์โลก