ทรินา โซลาร์ เผยค่าประสิทธิภาพแผงโซลาร์เซลล์สูงสุด 24.13% ทำสถิติใหม่สำหรับโซลาร์เซลล์โมโนคริสตัลไลน์ชนิด IBC

          ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่น บริการ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ประกาศว่า State Key Laboratory of PV Science and Technology of China (SKL PVST) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัท ได้สร้างสถิติใหม่ด้านประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ (total-area efficiency) ที่ ห้องปฏิบัติการ4.เซลล์แสงอาทิตย์3% ในเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่กว้าง (ขนาด เซลล์แสงอาทิตย์56xเซลล์แสงอาทิตย์56 ตารางมิลลิเมตร) ชนิด IBC (interdigitated back contact) ผลึกโมโนคริสตัลไลน์ซิลิคอน (c-Si) ประเภท n-type

          เซลล์แสงอาทิตย์โมโนคริสตัลไลน์ซิลิคอนประเภท n-type ที่เป็นเจ้าของสถิติใหม่นี้ ประกอบขึ้นจากแผ่นซับสเตรต (substrate) ขนาดใหญ่ที่มาจากซิลิคอนประเภท Cz เจือปนกับฟอสฟอรัส นำมาผ่านกระบวนการ IBC เชิงอุตสาหกรรมต้นทุนต่ำ ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยี tube doping และการเคลือบด้วยโลหะแบบพิมพ์สกรีน เซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 156x156 ตารางมิลลิเมตรนี้ มีค่าประสิทธิภาพอยู่ที่ 24.13% จากการวัดโดยองค์กรอิสระที่ประเมินความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าและสิ่งแวดล้อมอย่าง Japan Electrical Safety & Environment Technology Laboratories (JET) มีพื้นที่การวัดทั้งหมด 243.3 ตารางเซนติเมตร โดยไม่รวมพื้นที่ช่องรับรังสีใดๆ คุณสมบัติของเซลล์แสงอาทิตย์ประกอบด้วยแรงดันไฟฟ้าเมื่อเปิดวงจร Voc = 702.7 มิลลิโวลต์ กระแสไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่รับแสงที่สภาวะลัดวงจร Jsc = 42.1 มิลลิแอมแปร์/ตารางเซนติเมตร และค่า FF = 81.47%

          ก่อนหน้านี้ในเดือนก.พ. 2557 ทรินา โซลาร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ได้ประกาศว่า เซลล์แสงอาทิตย์ IBC สำหรับใช้ในห้องทดลอง ขนาด 4 ตารางเซนติเมตร ซึ่งประกอบด้วยซับสเตรตซิลิคอนประเภท Float Zone (FZ) ที่ถูกถ่ายตารางลายด้วยวิธีโฟโตลิโทกราฟี เป็นเซลล์ที่มีค่าประสิทธิภาพการรับรังสี (aperture efficiency) สูงที่สุดในโลกที่ 24.37% ขณะที่ในเดือนธ.ค. 2557 ทรินา โซลาร์ ได้ประกาศว่า เซลล์แสงอาทิตย์ชนิด IBC ขนาดใหญ่สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม (156x156 ตารางมิลลิเมตร, ซับสเตรทขนาด 6 นิ้ว) มีค่าประสิทธิภาพอยู่ที่ 22.94% ต่อมาในเดือนเม.ย. 2559 บริษัทได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวเซลล์แสงอาทิตย์ต้นทุนต่ำชนิด IBC สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมที่มีค่าประสิทธิภาพที่ 23.5% จนถึงปัจจุบัน บริษัทสามารถพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีค่าประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกครั้งด้วยสถิติใหม่ที่ 24.13% ซึ่งน้อยกว่าค่าประสิทธิภาพการรับรังสีของเซลล์ห้องทดลองขนาดเล็กข้างต้นเพียง 0.24% เท่านั้น ทั้งนี้ ค่าประสิทธิภาพรวมจะน้อยกว่าค่าประสิทธิภาพการรับรังสีเสมอ เนื่องจากสัมพันธ์กับพื้นที่บริเวณขอบและวงจรไฟฟ้า

          "เรามีความยินดีอย่างมากที่ได้ประกาศผลงานล่าสุดจากทีมวิจัยประจำ SKL PVST โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทีมวิจัยของเราได้พัฒนาศักยภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ IBC ประเภท n-type มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำลายขีดจำกัดและสถิติครั้งก่อนหน้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเซลล์ที่ทำขึ้นสำหรับห้องทดลองที่ร่วมกันพัฒนากับมหาวิทยาลัยแห่งชาตอออสเตรเลียเมื่อ 3 ปีที่แล้วให้ได้มากที่สุด" ดร.ปิแอร์ แวร์ลินเดน รองประธานและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของทรินา โซลาร์ กล่าว "เซลล์แสงอาทิตย์ชนิด IBC เป็นหนึ่งในเซลล์แสงอาทิตย์ซิลิคอนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน และยังเหมาะกับกิจกรรมที่ความต้องการความหนาแน่นกำลังสูง (high power density) มีความสำคัญมากกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) โครงการเซลล์ IBC ของเราให้ความสำคัญกับการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่กว้างและกระบวนการเชิงอุตสาหกรรมต้นทุนต่ำมาโดยตลอด เราจึงยินดีที่ได้ประกาศว่าในวันนี้ว่า เซลล์แสงอาทิตย์ IBC สำหรับพื้นที่กว้างที่ใช้ในอุตสาหกรรม มีความสามารถเกือบเทียบเท่าเซลล์ที่สร้างขึ้นสำหรับใช้ในห้องทดลงเมื่อ 3 ปีก่อนด้วยวิธีโฟโตลิโทกราฟี ในอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมนี้ ทรินา โซลาร์ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ล้ำสมัยที่มีประสิทธิมากขึ้นกว่าเดิมแต่ต้นทุนระบบลดลง เป้าหมายของเราคือการต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยี และแปลงโฉมเทคโนโลยีในห้องแล็บให้สามารถนำมาผลิตเชิงพาณิชย์ให้ได้เร็วที่สุด"

          เกี่ยวกับ ทรินา โซลาร์

          บริษัท ทรินา โซลาร์ จำกัด เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่น บริการ และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2540 ในฐานะผู้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันบริษัทส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างชาญฉลาดร่วมกับผู้ติดตั้งระบบ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ให้บริการสาธารณูปโภค และนักพัฒนาทั่วโลก กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.trinasolar.com


ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+เซลล์แสงอาทิตย์วันนี้

สคทช. จับมือ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีรับรองพื้นที่ปลอดการตัดไม้ รองรับกฎ EUDR ดันแพลตฟอร์มตรวจสินค้าโภคภัณฑ์ก่อนส่งออก EU

(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ และรับรองพื้นที่ตามระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัด

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูน... TCMA ร่วม Thailand CCUS สู่เป้าหมาย Net Zero 2050 — นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (Thai Cement Manufacturers Association: TCMA) ร...