ก.ล.ต. รับฟังความเห็นโครงการ Regulatory Sandbox ด้านงานให้บริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์

          ก.ล.ต. เปิดให้ผู้สนใจทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม (Regulatory Sandbox) สำหรับงานให้บริการหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ (post-trade service ซึ่งได้แก่ สำนักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และนายทะเบียนหลักทรัพย์) เพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) หรือนวัตกรรมการให้บริการรูปแบบใหม่มาใช้ในตลาดทุน
          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น Blockchain Technology ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริการและลดต้นทุนได้อย่างมาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงมีแนวคิดสนับสนุนการนำ FinTechหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการในตลาดทุน โดยเปิดโครงการให้ผู้ประกอบธุรกิจในปัจจุบันและรายใหม่สามารถทดสอบแนวคิดการให้บริการกับผู้ใช้ได้จริงโดยไม่ติดกรอบกฎเกณฑ์ในปัจจุบันและไม่ต้องรับภาระต้นทุนการดำเนินงานที่สูงเกินจำเป็น ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการยังคงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและขอบเขตที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับความคุ้มครองในระดับที่เหมาะสม
          การรับฟังแนวทางการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ 1) คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนของกระบวนการดำเนินงานเป็นสำนักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และนายทะเบียนหลักทรัพย์ 2) เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจหลังได้รับใบอนุญาต sandbox อาทิ มีระบบควบคุมภายในและกระบวนการดูแลผู้ใช้บริการและ 3) การสิ้นสุดการทดสอบ ซึ่งครอบคลุมลักษณะการยุติการเข้าร่วมโครงการ
          ทั้งนี้ การรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนงานภายใต้โครงการ Regulatory Sandbox ที่ ก.ล.ต. สนับสนุน เพิ่มเติมจากการรับฟังความคิดเห็น Regulatory Sandbox ในด้านธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
          ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th/hearing) ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือ โทรสาร 0-2033-9660 หรือทาง e-mail ที่ [email protected] จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560
 
 
 

ข่าวo:eco+o:finวันนี้

ดีป้า เผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล Q1/68 ฟื้นสู่ระดับ 'เชื่อมั่น' หลังได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และปัจจัยบวกอื่น

ดีป้า เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 1/2568 ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับลดลง และการแข่งขันด้าน AI ระดับโลก ขณะเดียวกัน การประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มาตรการกีดกันทางการค้าต่างประเทศ และการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับเทคโนโลยีเกิดใหม่ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อมั่น เผยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยคาดหวังให้ภาครัฐเร่งพัฒนากำลังคนดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม สำนักงานส่ง

บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด ... SPRC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 พร้อมอนุมัติจ่ายเงินปันผล 0.15 บาทต่อหุ้น — บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC จัดการประ...

พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2025 จัดขึ้... Plastics & Rubber Thailand 2025 งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพลาสติกและยาง — พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2025 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยได้รับคว...

New ImagePLUS color feature offers highes... BASF Coatings sets new standard in end-to-end digital color solutions for body shops with Refinity — New ImagePLUS color feature offers highest-precision ...