สมัชชาฯ สมุทรสงคราม ลุยสร้าง "มาตรฐานแม่กลอง" เริ่มจากคุณภาพน้ำดื่มตู้กด สานพลังเคลื่อนเรื่องเล็กสะท้อนภาพใหญ่

20 Dec 2016
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ในเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9 ในส่วนของเวทีสมัชชาเฉพาะพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงครามศูนย์วัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี นพ.ศุภฤทธิ์ เฮงคาวิทย์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมกล่าวถึงความสำคัญของการระดมความเห็นต่อร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในครั้งนี้ว่า นับเป็นโอกาสที่ดีในการส่งผ่านประเด็นปัญหาจากพื้นที่เข้าสู่ระดับนโยบาย เนื่องจากหนึ่งในวาระขับเคลื่อนหลักของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปีนี้ตรงกับสถานการณ์ที่จังหวัดสมุทรสงครามกำลังเผชิญอยู่ คือ เรื่องคุณภาพของตู้กดน้ำหยอดเหรียญ ซึ่งจากการสำรวจของคณะทำงานสมัชชาสุขภาพในจังหวัดพบว่ามีจำนวนตู้กดน้ำหยอดเหรียญกระจายอยู่ไม่ต่ำกว่า100 เครื่องในจังหวัด โดยเฉลี่ยหมู่บ้านละ 1-2 เครื่อง ซึ่งเกินครึ่งคุณภาพน้ำไม่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะระบบกรองน้ำ ต้นสายปลายเหตุมาจากชุมชนยังขาดความเข้าใจเรื่องคุณภาพน้ำที่ได้มาตรฐาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำที่บริโภค โดยคิดว่าน้ำที่ได้จากตู้ถือเป็นน้ำสะอาดไม่ต้องตรวจคุณภาพซ้ำอีกครั้ง
สมัชชาฯ สมุทรสงคราม ลุยสร้าง "มาตรฐานแม่กลอง" เริ่มจากคุณภาพน้ำดื่มตู้กด สานพลังเคลื่อนเรื่องเล็กสะท้อนภาพใหญ่

"ปัจจุบันในสมุทรสาครมีตู้กดน้ำหยอดเหรียญไม่ต่ำกว่า 100 เครื่อง แทบทุกหมู่บ้านบริโภคน้ำจากตู้กดที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะระบบกรองน้ำ หลายเครื่องไม่เคยเปลี่ยนไส้กรองหรือทำความสะอาดตู้เลยตั้งแต่ติดตั้ง" นพ.ศุภฤทธิ์ กล่าวทั้งนี้ นพ.ศุภฤทธิ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงโอกาสในการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการเสนอแผนการแก้ไขจากเจ้าของพื้นที่ผ่านไปยังเวทีสมัชชาสุขแห่งภาพชาติ ผ่านการแสดงความเห็นต่อร่างสมัชชาฯ ในครั้งนี้ ซึ่งในเบื้องต้น จังหวัดสมุทรสงครามมีแผนขั้นแรกคือประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดให้เข้ามาสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณภาพน้ำกับชุมชน จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากตู้กดน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่

นอกจากนี้ ภก. ชำนาญการพิเศษ ภานุโชติ ทองยัง หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชกรสาธารณสุข กล่าวเสริมถึงแผนการเฝ้าระวังเรื่องน้ำที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ว่า ได้ประสานกับเจ้าของกิจการน้ำดื่มในจังหวัด โดยทางสาธารณสุขเข้าไปตรวจคุณภาพน้ำด้วยการจัดเก็บตัวอย่างเอง เพื่อป้องกันการปกปิดคุณภาพน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ผลิตน้ำดื่มในจังหวัดเป็นอย่างดี ซึ่งรายใดที่ได้มาตรฐานทางหน่วยงานจะมอบตราสัญลักษณ์มาตรฐานแม่กลอง ให้เพื่อเป็นการารันตรีคุณภาพ

สอดคล้องกับที่นายสุรพงษ์ พรมเท้า ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงความสำคัญของการให้พื้นที่เจ้าของปัญหาเป็นผู้เสนอแนวทางแก้ไข เพราะนอกจากจะเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแล้ว ยังสามารถเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านแนวนโยบาย หรือข้อเสนอจากพื้นที่สู่ระดับชาติด้วยกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และเนื่องจากปัญหาเฉพาะพื้นที่ของสมุทรสงครามเป็น 1 ใน 4 วาระเคลื่อนของสมัชชาฯ ในปีนี้ อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่สมาชิกสมัชชาสุขภาพ ในทุกพื้นที่กำลังทำอยู่ ณตอนนี้ คือการเคลื่อนเรื่องเล็กสะท้อนภาพใหญ่

"รูปธรรมที่ชัดเจนคือ แนวทางแก้ไขปัญหาที่เราตกผลึกร่วมกัน ผ่านการระดมสมองด้วยข้อมูลจากคนในพื้นที่ เช่น เรื่องน้ำดื่ม ซึ่งเป็นปัญหาร่วมทั้งของพื้นที่และระดับประเทศ เท่ากับว่า ณ ตอนนี้เรากำลังเคลื่อนเรื่องเล็กสะท้อนภาพใหญ่ของปัญหาในประเทศ"นายสุรพงษ์กล่าว

นายสุรพงษ์กล่าวทิ้งท้ายด้วยการเชื่อมให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมจากพื้นที่สู่นโยบายโดยกล่าวว่า เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 9ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21-23 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี จะเป็นข้อต่อใหญ่ให้กับสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่แต่ละได้ตกผลึกร่วมกันมา โดยมีตัวแทนแต่ละจังหวัดเลือกเป็นกระบอกเสียงลิ้งส์ insert ข่าวhttps://youtu.be/t0B4XNoUZnI https://youtu.be/6S9mmw3SraAhttps://youtu.be/vAMGuq0pkichttps://youtu.be/MoVepLJvhGMhttps://youtu.be/4CSV1N-tqgA

HTML::image(