มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้าท้องถิ่นไทย (OTOP Extravaganza)

          ปัจจุบันตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP (One Tumbon One Product) มีมูลค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงรวมกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีประเภทสินค้าจำนวนกว่า 80,000 รายการ และมีส่วนในการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในระดับฐานราก อย่างไรก็ตามจากปัญหาภัยแล้งซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน และความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม2559 จึงได้มีมติเห็นชอบหลักการมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมสินค้า OTOP เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการใช้จ่ายของประชาชนในการซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP และกระจายรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น และชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง มีรายละเอียดของมาตรการภาษี ดังนี้
          หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการซื้อสินค้า OTOP ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
          1. ต้องเป็นสินค้า OTOP ที่ได้รับการรับรองและลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน
          2. เป็นรายจ่ายในการซื้อสินค้า OTOP ให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยใบกำกับภาษีต้องระบุรายการว่าเป็นสินค้า OTOP
          ทั้งนี้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

          มาตรการดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในภาพรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการใช้จ่ายของประชาชนในการซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP และกระจายรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น และชุมชน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจ ระดับฐานรากที่มีห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ แรงงาน วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยังเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีมากยิ่งขึ้น

          สำนักนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
          โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3514, 3513, 3506


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง+เศรษฐกิจการคลังวันนี้

ม.ศรีปทุม ผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญ เรียนรู้ "การวางแผนบริหารจัดการทางการเงินและการคุ้มครองเงินฝาก" พัฒนานักศึกษาบัญชีให้เป็นมืออาชีพ

ผศ.ดร.ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ คณบดีคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามโครงการ เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง ในหัวข้อ "การวางแผนบริหารจัดการทางการเงินและการคุ้มครองเงินฝาก" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ คุณบรรพชัย พุฑฒิบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการคุ้มครอนงผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ,คุณปภินวิช ไหวดี เศรษฐกรชำนาญการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และ คุณผกามาศ สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่ง

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดยบริษัทร่วมทุนระหว่าง SFIs และ บบส. (JV AMC) และมาตรการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระให้แก่ลูกหนี้ตามนโยบายรัฐบาล

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566...

ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภั... สมาคมประกันวินาศภัยไทย แสดงความยินดี ครบรอบ 62 ปี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง — ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีเ...

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนา... EXIM BANK เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ครั้งที่ 4/2566 — ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแ...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่... SME D Bank เข้าพบผู้บริหารกระทรวงการคลัง เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 66 — ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนางสาวนาร...

ผลการจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้"มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" ครั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัด "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16 18 ธันวาคม 2565 ณ...