พญ. ดวงมณี ธนัพประภัศร์ สูตินรีแพทย์และมะเร็งนรีเวช โรงพยาบาลวัฒโนสถ กล่าวถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งไข่และการรับมือของการเกิดมะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่พบมากเป็นอันดับที่ 7 ของมะเร็งสตรีทั่วโลก และพบเป็นอันดับที่ 6 ของมะเร็งสตรีในประเทศไทย รองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 2,600 รายในปี พ.ศ.2556 และพบ ว่า ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งที่ต้องเสียชีวิตจากโรคนี้ ซึ่งในแต่ละวันจะพบสตรีไทยทั่วประเทศเสียชีวิตจากโรคมะเร็งรังไข่ประมาณ 4 ราย โดยผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ในระยะลุกลามแล้วเป็นส่วนใหญ่ และพบว่ามะเร็งรังไข่สามารถเป็นได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 20-80 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี โดยมะเร็งรังไข่สามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และปัจจัยที่ทำให้เกิด มะเร็งรังไข่ ได้แก่ สตรีที่ ไม่เคยตั้งครรภ์ ไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก สตรีที่มีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ มีประวัติครอบครัว โดยเฉพาะญาติใกล้ชิด มารดา พี่สาวน้องสาว เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็ง--มดลูก และ มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือตรวจพบมีสารพันธุกรรมที่ผิดปกติ สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศอุตสาหกรรมจะมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม สตรีที่เคยเป็น หรือเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าคนปกติและการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดนาน 5 ปีขึ้นไปพบว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ หากมีอาการท้องอืดเป็นประจำ อาหารไม่ย่อย ปวดท้องเรื้อรัง รับประทานยาลดกรดไม่ดีขึ้นมักมีอาการท้องโตกว่าปกติและคลำพบก้อน มีก้อนในท้องน้อยหรือปวดแน่นท้อง และหากเป็นก้อนมะเร็งที่มีขนาดโตมากก้อนเนื้อนั้นจะไปกดกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลายจนทำให้ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก ตามด้วยอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ในระยะท้ายๆของโรคอาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโต ขึ้นกว่าเดิม ผอมแห้งและภาวะขาดอาหารร่วมด้วยควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจภายในมักจะคลำพบก้อนในท้อง หรือบริเวณท้องน้อยและการคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัยหมดประจำเดือนร้อยละ 30 มักเป็นมะเร็งของรังไข่ (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อและมีขนาดเล็กลง)หรือการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) ช่วยบอกได้ว่ามีก้อนหรือมีน้ำในช่องท้อง ในบางรายที่อ้วนหรือหน้าท้องหนามาก การตรวจร่างกายตามปกติอาจตรวจได้ยากและ ไม่ชัดเจน ดังนั้นควรตรวจร่วมกับการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือแพทย์ก็จะมีการตรวจเลือดประกอบเพื่อช่วยในการวินิจฉัย และติดตามการรักษาผลควบคู่กันไป
สูตินรีแพทย์และมะเร็งนรีเวช โรงพยาบาลวัฒโนสถ ห่วงใยสุภาพสตรีที่มีอายุ 30-35 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจเช็คสุขภาพและตรวจภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับสตรีที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งควรตรวจห้องปฎิบัติการเพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ ที่ Contract 1719
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit