ม.พะเยาจัดนิทรรศการ “ตามหาปลาร้องเพลง” ภายใต้โครงการวิจัยต้นแบบการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชน สะท้อนปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นใน กว๊านพะเยา

          ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยพะเยา จัดนิทรรศการหัวข้อ "การตามหาปลาร้องเพลง..ลมหายใจแห่งกว๊านพะเยา" ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การตามหาปลาร้องเพลงที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ; ต้นแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน จากความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาด้านประมง โดยจัดแสดงในงานประชุมวิชาการนานาชาติ และมหกรรมนิทรรศการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างยั่งยืน "BEDO EXPO วิบูลย์ วัฒนาธรมหาวิทยาลัยพะเยางานประชุมวิชาการ6" ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 8มหาวิทยาลัยพะเยาพรรษา 5ธันวาคม วิบูลย์ วัฒนาธร55มหาวิทยาลัยพะเยา ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินในงาน และทรงสนพระทัยนิทรรศการปลาร้องเพลง นับเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยพะเยา อย่างสูงสุดหามิได้
          สำหรับการนำเสนอผลงานวิจัยครั้งนี้ เป็นการสะท้อนปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นใน "กว๊านพะเยา" ซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงผู้คน แต่ในปัจจุบันพบปัญหาจำนวนมากโดยเฉพาะ ความหลากหลายทางชีวภาพด้านชนิดพันธุ์ปลาที่มีจำนวนลดลงทั้งชนิดและปริมาณ สถานการณ์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นคือ ปรากฏการณ์ปลากอง ปลาขึ้น หรือ ฝูงปลาร้องในกว๊านพะเยามีจำนวนการพบเจอน้อยลงทุกที หากเป็นเช่นนี้....ในอนาคตอันใกล้ ความงดงามของทัศนียภาพแหล่งน้ำขนาดใหญ่โล่งกว้างสุดลูกหูลูกตา ที่มีเรือแจวลำเล็กของชาวประมง พื้นบ้าน ล่องเรือหาปลาอยู่ในกว๊านพะเยาอันเป็นภาพสะท้อนความผูกพันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ซึ่งเป็นภาพที่งดงามอยู่เคียงคู่กับบึงน้ำใหญ่แห่งนี้มาช้านานอาจจะหายไป พร้อมๆกับ เสียงปลาร้องเพลงในฤดูกาลผสมพันธุ์ หรือที่ชาวประมงเรียกกันว่า "ปลากอง"จะหายตามกันไปด้วย และปรากฏการณ์แห่งความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาด้านประมงที่กว๊านพะเยาที่ล่มสลายลงไปด้วย การทำประมงพื้นบ้านที่กว๊านพะเยาจะเหลือเพียงตำนานและเรื่องเล่าเท่านั้น หากไม่มีแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมให้ตระหนักถึง คุณค่า ความผูกพันระหว่างวิถีชีวิตของคนกับทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทรงคุณค่า คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพะเยา
          ผศ.ดร.วิบูลย์ กล่าวอีกว่า การวิจัยครั้งนี้ เป็นการหยิบยกประเด็นปรากฏการณ์หนึ่งที่จะเป็นจุดร่วมเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือและเป็นต้นแบบของการพัฒนา โดยเป็นการศึกษาที่มีการบูรณาการงานวิชาการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่จะศึกษาด้านปรากฏการณ์ธรรมชาติปลากองและการเปล่งเสียงของปลาแต่ละชนิดซึ่งในประเทศไทยยังมีงานวิจัยด้านนี้น้อยมาก ส่วนการศึกษาทางสังคมมานุษยวิทยาเพื่อศึกษาถึงภูมิปัญญา ความเชื่อและประเพณีของวิถีประมงที่เกี่ยวข้องกับปลากอง จากนั้นนำไปสู่การยกระดับให้ ปรากฏการณ์ธรรมชาติปลาร้อง ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาด้านประมง สู่การวางแผนจัดการในเชิงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น อันจะเป็นต้นแบบของ การพัฒนาธุรกิจทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแนวใหม่ที่มีการบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในกว๊านพะเยาให้มีความยั่งยืนสืบไป
ม.พะเยาจัดนิทรรศการ “ตามหาปลาร้องเพลง” ภายใต้โครงการวิจัยต้นแบบการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์โดยชุมชน สะท้อนปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นใน กว๊านพะเยา
 

ข่าวมหาวิทยาลัยพะเยา+งานประชุมวิชาการวันนี้

ICT ม.พะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ GIS-IDEAS 2024 ส่งเสริมความร่วมมือ และแก้ไขปัญหาท้าทายในสาขาภูมิสารสนเทศ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการ GIS-IDEAS 2024 ระหว่างวันที่ 11 12 ธันวาคม 2024 ณ โรงแรม แกรนด์วิสต้า จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย โดยงานประชุมวิชาการนี้ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักปฏิบัติจากทั่วโลก เพื่อติดตามและนำเสนอความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมความร่วมมือ และแก้ไขปัญหาท้าทายในสาขาภูมิสารสนเทศ โดยในวันที่ 11 ธันวาคม 2024 เป็นพิธีเปิด ซึ่งกล่าวต้อนรับโดย Prof. Venkatesh Raghavan

อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ... ICT ม.พะเยา เจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 — อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพ...

คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทย... แจ้งเกิด !! พันธุ์ข้าวโพดใหม่ จัดแปลงสาธิตแสดง ณ คณะเกษตรฯ ม.พะเยา — คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย " งานประช...

ดร.ชัชวาล วงค์ชัย รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวด... โรงเรียนสาธิตฯ ม.พะเยา นำเสนอผลงานวิชาการ ณ the Medical University of Graz, Austria — ดร.ชัชวาล วงค์ชัย รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ มหาวิทยาลั...

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงควา... นิสิต คณะวิทยาศาสตร์ ม.พะเยา คว้านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น เวทีระดับชาติ YTSA#20 — คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับ นางสา...