PwC เผยเทรนด์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่ หรือ 'ดิจิทัลเฮลธ์' (Digital Health) กำลังมาแรง เหตุช่วยยกระดับบริการด้านสุขภาพ ลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล แถมต้นทุนต่ำกว่า ชี้ผู้ให้บริการสุขภาพ-โรงพยาบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มหันมาใช้ดิจิทัลเฮลธ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ป่วย-ชนชั้นกลางที่ใส่ใจสุขภาพ แนะหากไทยสามารถนำดิจิทัลเฮลธ์เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ จะช่วยยกระดับบริการทางการแพทย์ของประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงรายงาน The Digital Healthcare Leap ที่ทำการศึกษาการให้บริการด้านสุขภาพในตลาดเกิดใหม่ว่า ปัจจุบันธุรกิจบริการด้านสุขภาพเริ่มตื่นตัวในการนำระบบดิจิทัลเพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่ (New Digital Health Models) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลและการให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า เพราะทั้งแพทย์และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพได้ง่ายขึ้น มีความปลอดภัยสูง และมั่นใจได้ถึงคุณภาพ
"ดิจิทัลเฮลธ์กำลังเข้ามามีบทบาทในการยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้ โดยถือเป็นวิวัฒนาการที่สำคัญ ที่ช่วยให้ผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการ สื่อสารกับสถานพยาบาล รับส่งข้อมูลด้านสุขภาพ และใช้เป็นแหล่งข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น อีกทั้งยังมีต้นทุนต่ำกว่าระบบบริการสุขภาพแบบดั้งเดิม ทำให้เราคาดว่า กระแสของการใช้นวัตกรรมเหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมธุรกิจบริการด้านสุขภาพในอีก นวัตกรรม-ภูมิภาค ปีข้างหน้า โดยตอบโจทย์ชนชั้นกลางที่หันมาใส่ใจสุขภาพ และอาศัยอยู่ในตลาดเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลได้อีกด้วย"
จากข้อมูลของ PwC พบว่า ในปี นวัตกรรม57ภูมิภาค จะมีชนชั้นกลางมากถึง นวัตกรรม ใน ภูมิภาค ของโลกอาศัยอยู่ในทวีปเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ ประชากรมากกว่า 5วิไลพร ทวีลาภพันทอง% ของตลาดเกิดใหม่ ปัจจุบันอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท
สำหรับระบบดิจิทัลเพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่นั้น แตกต่างจากบริการด้านสุขภาพที่อาศัยกระดาษเป็นหลัก (Paper-Based Health Solutions) และแบบดั้งเดิม (Traditional Model) ที่นิยมใช้กันในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยดิจิทัลเฮลธ์มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยด้านสุขภาพ เพิ่มการสื่อสารสองทางระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย มีความคล่องตัวในการเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์ต่างๆ และสร้างความไว้วางใจในตัวผู้ให้บริการ
ทั้งนี้ การใช้ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์บนคลาวด์ (Cloud-Based Electronic Health Record) ระบบการบันทึกข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (Open Source Medical Record System) อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (Wearable Device) และแอพพลิเคชันที่นำโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์มาพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ (mHealth Application) ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการและสถานพยาบาลในปัจจุบันหันมาลงทุน และร่วมมือกับบริษัทเกิดใหม่ขนาดเล็กที่สร้างแพลตฟอร์มเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับตรวจจับกิจกรรมและข้อมูลสุขภาพ รวมไปถึง การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่ใช้ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในอดีต
ด้าน นาย เดวิด แมคเคียริ่ง หุ้นส่วน PwC South East Asia Consulting กล่าวเสริมว่า ดิจิทัลเฮลธ์ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการสุขภาพและสถานพยาบาลเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย โดยมองว่า ดิจิทัลเฮลธ์จะสามารถช่วยพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลอย่างยั่งยืน และช่วยยกระดับมาตรฐานการรักษาในตลาดเกิดใหม่ให้แซงหน้าตลาดที่พัฒนาแล้วได้เพราะตลาดเหล่านี้ส่วนใหญ่ลงทุนไปกับการติดตั้งอุปกรณ์ราคาแพง รวมถึงต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการอบรม และการซ่อมบำรุง เป็นต้น
รายงานของ PwC ระบุว่า ต้นทุนโดยเฉลี่ยของการใช้ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิมของโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกาสูงถึง โรงพยาบาล4,5วิไลพร ทวีลาภพันทองวิไลพร ทวีลาภพันทอง ดอลลาร์ หรือราว 5วิไลพร ทวีลาภพันทอง5,วิไลพร ทวีลาภพันทองวิไลพร ทวีลาภพันทองวิไลพร ทวีลาภพันทอง บาทต่อเตียง คิดเป็นต้นทุนการดำเนินงานสูงถึง นวัตกรรม,7วิไลพร ทวีลาภพันทองวิไลพร ทวีลาภพันทอง ดอลลาร์ หรือกว่า 94,วิไลพร ทวีลาภพันทองวิไลพร ทวีลาภพันทองวิไลพร ทวีลาภพันทอง บาทต่อเตียงต่อปี
นาย เดวิด ไวจีแรตนี หัวหน้า PwC Growth Markets Centre กล่าวว่า "ดิจิเฮลธ์ไม่ได้เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาระในการฝึกอบรมหมอและพยาบาลใหม่ ช่วยลดปริมาณเตียงคนไข้และจำนวนสถานพยาบาล ทำให้ภาครัฐสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ และเปิดโอกาสให้รัฐสามารถนำเงินงบประมาณไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆได้"
แนวโน้มการใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพสูงขึ้น
นางสาว วิไลพร กล่าวว่า การขยายตัวของชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อ และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ประชาชนในภูมิภาคหันมาใส่ใจในการรักษาสุขภาพมากขึ้น โดยต้องการได้รับการรักษา และเข้าถึงบริการที่ดีกว่า ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ ที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
จากข้อมูลของ Business Monitor International (BMI) คาดว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยของการใช้จ่ายด้านสุขภาพของตลาดเกิดใหม่ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (นวัตกรรม558-นวัตกรรม56ภูมิภาค) จะอยู่ที่ 9% เนื่องจากรายได้ของประชากรสูงขึ้น
ปัจจุบันหลายๆ ประเทศในตลาดเกิดใหม่ได้มีการนำนวัตกรรมด้านดิจิทัลเฮลธ์มาใช้กันมากขึ้น เช่น ในฟิลิปปินส์มีการนำระบบการบันทึกข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิดเข้ามาใช้ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐที่เรียกว่า CHITS (Community Health Information Tracking System) ขณะที่โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนในฟิลิปปินส์และมาเลเซียเริ่มมีการย้ายระบบการจัดเก็บข้อมูลมาไว้บนคลาวด์อย่างแพร่หลาย เพื่อรองรับการจัดเก็บฐานข้อมูลออนไลน์ขนาดใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบดิจิทัลเฮลธ์มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น การให้บริการผ่านแอพพลิเคชันด้วยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึงการพบแพทย์แบบออนไลน์ แทนการไปหาหมอแบบปกติ สำหรับการยกระดับการสาธารณสุขของชุมชนห่างไกล และการสั่งยาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-prescription) เป็นต้น
ความท้าทายของผู้ให้บริการยุคดิจิทัล
ความท้าทายของสถานพยาบาลและผู้ให้บริการด้านสุขภาพในระยะต่อไป คือ การพัฒนาขีดความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และเชื่อมต่อกับระบบเดิมในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพในเชิงลึกและให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์กับผู้ป่วย โดยยึดหลักของการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วยเป็นหัวใจของการบริการ
"หากผู้ประกอบการละเลยเรื่องนี้ ก็มีความเสี่ยงที่ลูกค้าจะหนีไปใช้บริการเจ้าอื่นแทนได้ ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ป่วยในอินโดนีเซียที่เดินทางมารับการรักษาในประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซียและไทยเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากอาจได้รับบริการที่ดีกว่า อย่างไรก็ดี เรามองว่า การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยังขาดความพร้อม และจำนวนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา
อุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศในแถบนี้" นางสาว วิไลพร กล่าว
การดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้อัตราการเกิดของกลุ่มโรคเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) เช่น เบาหวาน (Diabetes) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) และ มะเร็งเพิ่มสูงขึ้น โดยรายงานระบุว่า 75% ของอัตราการเสียชีวิตของประชากรในตลาดเกิดใหม่เกิดจากสาเหตุของการมีโรคเรื้อรัง
PwC ยังคาดการณ์ว่า ในปี นวัตกรรม57ภูมิภาค ไทยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานสูงถึง 4.โรงพยาบาล% ของประชากรทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจาก นวัตกรรม.ภูมิภาค% ในปี นวัตกรรม555 ขณะที่ภายในปี นวัตกรรม59ภูมิภาค คาดว่า ภูมิภาควิไลพร ทวีลาภพันทอง% ของประชากรไทยจะมีอายุเฉลี่ยสูงกว่า 65 ปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะส่งผลให้ตลาดดิจิทัลเฮลธ์ได้รับความนิยมมากขึ้น
สำหรับประเทศไทย ดิจิทัลเฮลธ์จะช่วยให้ผู้ประกอบการด้านบริการสุขภาพและสถานพยาบาลทำงานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้รวดเร็ว และสามารถคาดการณ์แนวโน้มทางด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมาก ซึ่งปัจจุบัน ผู้ให้บริการภาคเอกชนของไทยหลายรายเริ่มนำนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่นี้เข้ามาใช้ในการให้บริการบ้างแล้ว ขณะที่ภาครัฐเองก็อยู่ระหว่างการศึกษาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ (eHealth) มาให้บริการแก่ประชาชน
"นอกจากดิจิทัลเฮลธ์จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ธุรกิจบริการด้านสุขภาพแล้ว ยังช่วยยกระดับมาตรฐานบริการสุขภาพของไทยในระยะยาว โดยเรามองว่า ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อร่นระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูล ลดช่องว่างระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ที่สำคัญ คือ ต้องสร้างความเชื่อมั่นและส่งมอบบริการที่ดีโดยยึดความต้องการของคนไข้เป็นหลัก"
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล นำคณะผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 8 จำนวน 82 คน เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand นายพิสิฐ ทางธนกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC (ประเทศไทย) ให้เกียรติต้อนรับผู้อบรม ก่อนนำเข้าสู่การบรรยายพิเศษ "กรณีศึกษา PwC digital Transformation" โดยคุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) จำกัด และหัวข้อ
PwC ประเทศไทย คาดการใช้งาน GenAI ในปี 68 พุ่งและถูกบูรณาการสู่การใช้งานเพื่อบรรลุ กลยุทธ์ทางธุรกิจมากขึ้น
—
PwC ประเทศไทย คาด GenAI จะถูกนำมาใช้งานเพื่อบร...
PwC ประเทศไทย เผยโซลูชัน BaaS จิ๊กซอว์สำคัญพลิกโฉมระบบนิเวศทางการเงินของไทย
—
PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ หรือ BaaS จะเป็นส่วนสำคัญในก...
PwC ประเทศไทย ชี้ธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลไม่สำเร็จ
—
PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำ...
PwC ประเทศไทย จับมือ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จัดงานสัมมนา 'ก้าวต่อไปของธุรกิจบริการทางการเงินไทยยุคดิจิทัล'
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ (24 สิงหาคม) บริษัท PwC ประเท...
PwC แนะธุรกิจไทยวางกลยุทธ์ย้ายโครงสร้างไอทีดั้งเดิมสู่ระบบคลาวด์
—
PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบดั้งเดิมสู่...
PwC ประเทศไทย จัดถ่ายทอดสดสัมมนาออนไลน์เปิดตัว 'รายงานผลสำรวจธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ครั้งที่ 11 ฉบับประเทศไทย'
—
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา บริษัท Pw...
PwC ประเทศไทย คว้ารางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565
—
PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2...
EXIM BANK เริ่มโครงการ EXIM Digital Transformation พัฒนาระบบงานหลักของธนาคาร (Core Banking) เพิ่มศักยภาพการดำเนินงานและให้บริการลูกค้า
—
ดร.รักษ์ วรกิจโภค...
PwC ประเทศไทย ชี้การใช้งานเอไอหลังโควิด-19 พุ่ง แนะธุรกิจวางกรอบการใช้งานเอไออย่างมีความรับผิดชอบ
—
PwC ประเทศไทย เผยองค์กรไทยหันมาใช้งานเอไอสูงขึ้นอย่างช...