"โกวิท" เดินหน้าปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ "ผู้พิการ" เทียบเท่าบัตรทอง เร่งแก้ปัญหาผูกติดโรงพยาบาลกับผู้ประกันตน ยังแทงกั๊กโอนย้ายคนซบ สปสช.
นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงสิทธิประโยชน์เรื่องการรักษาพยาบาลให้กับคนพิการ โดยได้มอบหมายให้กองที่รับผิดชอบไปพิจารณาเทียบเคียงดูว่าสิทธิประโยชน์ใดที่คนพิการในระบบประกันสังคมได้รับน้อยกว่าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้กับผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทอง เมื่อทราบแล้วก็ให้เร่งแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว
"ระบบประกันสังคมมีการผูกผู้ประกันตนไว้กับโรงพยาบาลที่ลงทะเบียน ซึ่งเราก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้ด้วย" นายโกวิท กล่าว
นายโกวิท กล่าวอีกว่า ระหว่างที่คณะกรรมการแพทย์หารือกันว่าจะปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ส่วนใดให้เทียบเท่าระบบบัตรทองนั้น จำเป็นต้องพิจารณาว่าในช่วงรอยต่อนี้จะดูแลคนพิการให้ได้รับบริการที่สะดวกสบายอย่างไร
สำหรับแนวคิดเรื่องการโอนคนพิการจากระบบประกันสังคมไปให้ สปสช.เป็นผู้ดูแลนั้น ส่วนตัวมองว่ายังเป็นแนวคิดที่ต้องพิจารณาในหลายด้านและมีผลกระทบเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น เมื่อ สปส.โอนคนพิการไปก็ต้องให้เม็ดเงินแก่ สปสช.ด้วย คำถามคือเงินส่วนนี้ใครจะเป็นผู้จ่าย
"ถามว่าจะเอาเงินจากไหน รัฐบาลหรือสำนักงานประกันสังคม นี่ยังไม่นับสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ซ้อนทับกันอยู่มากกว่าแค่เรื่องสิทธิรักษาพยาบาล ที่สุดแล้วต้องกลับมาดูว่าข้อเสนอดังกล่าวมันทำได้จริงหรือไม่ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องง่ายแค่โอนย้ายไปก็จบ แต่ในรายละเอียดยังมีอีกมาก"นายโกวิท กล่าว
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานแก่คนพิการกำลังทำให้คนพิการได้รับความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ โดยคนพิการที่สมัครเข้าทำงานและมีนายจ้างจะต้องเปลี่ยนสิทธิประกันสุขภาพจากเดิมที่ใช้ระบบบัตรทองเป็นประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ ระบบบัตรทองให้สิทธิคนพิการรักษาฟรีในสถานพยาบาลใดก็ได้ ขณะที่ระบบประกันสังคมคนพิการจะต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อให้เกิดสิทธิ และสามารถเข้ารับการรักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลต้นสังกัดที่ลงทะเบียนประกันตนเอาไว้เท่านั้น
สำหรับทางแก้ไข นพ.ยศ เสนอว่า ให้โอนคนพิการจากระบบประกันสังคมมาสู่ระบบบัตรทอง ซึ่งชัดเจนว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
คนเราเมื่อป่วยไข้ก็ต้องเข้ารับการรักษา แต่ถ้าบังเอิญเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดจากการเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยมากขึ้น หรือเดือดร้อนมากขึ้นไปกว่าเดิม คำถามที่ตามมาก็คือ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งคำตอบคงต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการดำเนินการของผู้ป่วย แต่ละคน ถ้าย้อนถามอีกครั้งว่าใครจะพอช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนนี้ได้บ้าง วันนี้ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สำนักงานประกันสังคม คุณจะได้รับคำตอบนั้นทันทีคณะกรรมการประกันสังคมได้ให้ความ
กรมอนามัย เดินหน้าส่งเสริมสุขภาพ LGBTQ+ เชิงรุกต่อเนื่อง พร้อมเปิดตัวชุดความรู้เพื่อความหลากหลายทางเพศ พ.ค.นี้
—
นพ.ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ รองอธิบดีกรมอนามั...
Death Fest 2025 งานแฟร์ครั้งแรกในไทย ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจเกี่ยวกับความแก่ เจ็บ และตาย ซึ่งกำลังเติบโตทั่วโลก
—
"Death Fest 2025 : Better Living, Better L...
กรมอนามัย จับมือ กรมพินิจฯ สปสช เร่งหนุนบริการทันตกรรม มอบโอกาสให้เด็กและเยาวชน
—
วันนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2568 ) ดร.นายแพทย์ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย น...
นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้านยา
—
นาโนเทค สวทช.-สภาเภสัชกรรม-สปสช. ร่วมนำร่องผลักดันชุดตรวจคัดกรองโรคไตในร้า...
สปสช. รวมพลังกับโรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ร่วมลงนามสนับสนุนพื้นที่ในศูนย์การค้าฯ ให้บริการ 30 บาทรักษาทุกที่
—
สปสช. รวมพลังกับโรบินสันไลฟ์ส...
รวม 9 บัญชี LINE OA บริการจากภาครัฐเพื่อคนไทย ฉบับอัปเดตส่งท้ายปี 2024 เพิ่มเพื่อนได้เลย!
—
LINE ประเทศไทย อัปเดต LINE OA บัญชีทางการจากภาครัฐส่งท้ายปี 20...
การเคหะแห่งชาติจับมือสปสช.นำร่องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ 5 ชุมชนฟรี !
—
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่...