สจล.ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พาชมแบบพัฒนาริมฝั่งชุมชนท่าน้ำสามเสน

          โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) นำแบบลงพื้นที่ชุมชนท่าน้ำสามเสน ถนนดาวข่าง ตอกย้ำการพัฒนาพื้นที่บนฐานมรดกวัฒนธรรม ให้เป็นมรดกชาติในแนวทางมรดกโลก และเชื่อมต่อมรดกวัฒนธรรมเหล่านั้นด้วยทางเดิน-จักรยาน บางส่วนเลียบแม่น้ำ บางส่วนวกเข้าพื้นดิน โดยกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษาการสำรวจวิจัยและออกแบบ จัดทำผังแม่บท 57 กม. และออกแบบรายละเอียดระยะนำร่อง โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา4 กม.จากสะพานพระราม 7 ถึงสะพานพระปิ่นเกล้า มุ่งพัฒนาแนวอนุรักษ์-สืบสาน-สร้างสรรค์วิถีวัฒนธรรมริมน้ำ อีกทั้งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจชุมชน
          อ.รณฤทธิ์ ธนโกเศศ ภูมิสถาปนิกและประวัติศาสตร์ชุมชน สจล.ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) กล่าวว่า น้อยคนนักที่จะรู้จักชุมชนท่าน้ำสามเสน ชุมชนย้อนยุคที่ซ่อนตัวอยู่กลางใจเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนเล็กๆชื่อ ดาวข่าง ที่อาจฟังแปลกหูแต่เปี่ยมไปด้วยมิตรไมตรีและความกลมเกลียวเข้มแข็งของชุมชน นิเวศทางสังคม แง่มุมประวัติศาสตร์ชุมชนมีประวัติตั้งรกรากมากกว่า 9สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี บนที่ดินของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อดีตอันรุ่งเรืองของท่าน้ำสามเสน ที่นี่เคยเป็นท่าทรายของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างและความเจริญก้าวหน้าของเมือง ในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู มีตลาดเช้าที่คึกคัก ร้านยาโบราณ ร้านทอง ตลาดใหญ่ริมแม่น้ำในลักษณะห้องแถวไม้คล้ายเมืองสามชุก สุพรรณบุรี มีอู่ต่อเรือซึ่งปิดกิจการไปแล้วเมื่อถนนและรถบรรทุกเข้ามาแทนที่การใช้เรือและคมนาคมทางน้ำ คลองเล็กจากแม่น้ำเคยที่มีเรือเข้า-ออกจากแม่น้ำไปยังอู่ต่อเรือ บ้านเรือหลังสุดท้ายก็ยังคงอยู่และใช้พักอาศัย ศูนย์รวมทางจิตใจ คือ หลวงปู่ทวด วัดประสาทบุญญาวาส ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา83 ปี สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2376 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดขวิด เนื่องจากมีต้นมะขวิดเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปีพ.ศ. 2487 เปลี่ยนชื่อเป็นวัดบุญญาวาส นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าจีนอยู่ใกล้ๆกัน 
          จากการที่ สจล.ได้ลงชุมชนสำรวจและประชุมหารือกับชุมชนท่าน้ำสามเสนหลายครั้ง ได้เก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ชาติพันธ์ วัฒนธรรม นิเวศธรรมชาติ ความต้องการของชุมชนข้างต้น แบบการพัฒนาพื้นที่ในแนวทางอนุรักษ์-สืบสาน-สร้างสรรค์ เราเรียนรู้จากอดีต ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และมองไกลถีงอนาคตร่วมกัน การออกแบบพัฒนาพื้นที่ ประกอบด้วย แนวคิดการฟื้นฟูคลองเล็กให้กลับมาใช้งานได้และแก้ไขปัญหาน้ำเสีย การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารไม้ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พัฒนาฟื้นฟูตลาดคนเดิน ศาลาชุมชนและท่าเรือรับ-ส่งจากท่าน้ำสามเสนไปยังโลตัสจรัญสนิทวงศ์ และพื้นที่ใกล้เคียง ทางเดินริมน้ำเดิมของชุมชนจะลดระดับความสูงของเขื่อนกันน้ำท่วมลงประมาณ 8สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซม.เพื่อให้เป็นพื้นที่ทางเดินต่อเนื่องกับลานกิจกรรมเปิดกว้างสู่ทิวทัศน์แม่น้ำ เชื่อมความสัมพันธ์ของคนกับแม่น้ำ และทำกิจกรรมชุมชน และเชื่อมต่อกับพื้นที่มหาวิทยาลัยใกล้เคียงกัน บริเวณชายน้ำทำป่าชายเลนช่วยพยุงดิน
          คุณวีรศักดิ์ หาญโชคชัยสกุล ประธานชุมชนท่าน้ำสามเสน กล่าวว่า ทางชุมชนได้ร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แบบที่ออกมาสอดคล้องกับสิ่งที่ชุมชนอยากให้พัฒนา 5 เรื่อง ได้แก่ ปัญหาน้ำขังเน่าเสียกลางชุมชน, ปรับปรุงลานกีฬาและสนามเด็กเล่น ,ฟื้นฟูท่าเรือ เพื่อใช้เป็นท่าเรือข้ามฟาก, เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับศูนย์ดูแลเด็กเล็กซึ่งบริหารจัดการโดยชุมชน ที่นี่เรามีศูนย์การเรียนรู้ธนาคารขยะ ส่วนทางเดินเท้าภายนอกของโครงการฯควรมีทางลาดสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้แนวทางพัฒนาจะสอดคล้องกับ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและยินดีสนับสนุนโครงการของภาครัฐ
          ลักษณะของพื้นที่ชุมชนและอาชีพ อาณาบริเวณทิศเหนือ จรดคลองสามเสน , ทิศใต้ จรดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช , ทิศตะวันตก จรดแม่น้ำเจ้าพระยาและวัด เทพนารี วัดเทพากร , ทิศตะวันออก จรดวังศุโขทัย วัดประสาทบุญญาวาส ถนนสุโขทัย และด้านหลังวชิรพยาบาล ชุมชนท่าน้ำสามเสน มีประชากร รวม โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา,83โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คน โดยมี 42สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ครัวเรือน บ้านจำนวน355 หลัง ชาวชุมชนมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ทั้งไทย จีน และฮินดู อยู่ร่วมกันด้วยความไว้วางใจ เป็นเพื่อนบ้านกันตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ท่าเรือข้ามฟากแม่น้ำไปยังวัดเทพนารี วัดเทพากร บางพลัดได้ ผู้คนมีความคุ้นเคยกับชุมชนชาวเรือด้วยกัน คือ ชุมชนสีคาม ศาลเจ้าแม่ทับทิม มิตตคาม โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และ ปัจจุบันท่าทรายเลิกไป เพราะมีเรือยนต์ขนาดใหญ่ทดแทนเรือไม้ที่เคยขนทราย และรูปแบบการค้าขายวัสดุก่อสร้างเปลี่ยนไป ไม่มีตลาดสดแล้ว อาชีพหลัก ค้าขายและทำงานทั่วไป
          ชุมชนท่าน้ำสามเสน ถนนดาวข่าง นับเป็นอีกชุมชนต้นแบบของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริการค้าขายรองรับคนในพื่นที่ใกล้เคียงโดยอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยมหินทราธิราชและวชิรพยาบาล พัฒนาผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชน เช่น หน่ำเชียงโอเลี้ยง โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี และอื่นๆ
สจล.ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พาชมแบบพัฒนาริมฝั่งชุมชนท่าน้ำสามเสน
 
สจล.ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พาชมแบบพัฒนาริมฝั่งชุมชนท่าน้ำสามเสน
สจล.ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พาชมแบบพัฒนาริมฝั่งชุมชนท่าน้ำสามเสน

ข่าวสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง+โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาวันนี้

สุดยอดศึกหุ่นยนต์อัจฉริยะ Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ปิดฉากสุดมันส์ เยาวชนไทยโชว์ศักยภาพก้าวสู่เวทีโลก

การแข่งขัน Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ได้ปิดฉากลงอย่างสุดประทับใจ ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้น และลุ้นระทึกตลอดการประลองฝีมือของเยาวชนไทยผู้เปี่ยมด้วยนวัตกรรมและความสามารถด้านหุ่นยนต์และระบบปฏิบัติการอัจฉริยะ (ROS) เวทีแห่งนี้ ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยความร่วมมืออันแข็งแกร่งจากพันธมิตรชั้นนำด้านหุ่นยนต์อย่าง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ บริษัท ไอเมค

ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมส่งเสริ... ฟอร์ติเน็ตร่วมกับ CIPAT มอบไฟร์วอลล์ ให้กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง — ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซ...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน สอดคล้องความต้องการในอนาคต — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. เดินหน้าสนับสนุนอุตสาหกรรมไทย ร่วมเปิด "ศูนย์บริการรัฐแบบเบ็ดเสร็จ" อมตะซิตี้ — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมเป็นหนึ่งใน...