ด้านนายเกริกพล มัสยวาณิช หนึ่งในคณะกรรมการ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า "ชอบคอนเซ็ปต์นี้ตั้งแต่เชฟชุมพลโทรมาคุย เพราะตัวผมเองทำรายการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ก็ได้มีโอกาสรับประทานอาหารหลากหลายประเทศ บางที ไปถ่ายรายการที่ต่างประเทศนานๆ หลายวัน ก็อดที่จะคิดถึงรสชาติอาหารไทยไม่ได้ เพราะอาหารนานาชาติที่ได้ลอง จะมีส่วนผสมนมเนยเยอะ ทานมากๆ ก็จะเลี่ยน มันต้องมีซักมื้อที่มีอาหารไทยมาคั่น เราเรียกว่ารีเซ็ท (Reset) เพราะอาหารไทยของเรามันมีความจัดจ้าน มีความแซบ ซึ่งโครงการนี้มาช่วยเยอะเพราะเวลาผมไปไหนมาไหนก็แล้วแต่ จะเป็นคนสรรหาเรื่องกิน ก็จะคอยเช็คเสมอว่า จะมีร้านอร่อยที่ไหน ซึ่งเราก็จะคอยสอบถามจากทางเพื่อนๆ เรานี่แหละ ที่นี้ปัญหาคือเพื่อนๆ เราทุกคนมันไม่ใช่นักกิน บางทีร้านที่บอกมาก็ไม่ค่อยอร่อย ผมก็จะเซ็งมาก แต่พอมีโครงการนี้ขึ้นมาและร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย แล้วก็มีพี่คนอื่นๆ ซึ่งเป็นเชฟ รวมทั้งคุณอิ้งค์ และยังมีคณะกรรมการท้องถิ่น มาร่วมตัดสิน ซึ่งอันนี้ผมฟังแล้วชอบมาก คณะกรรมการท้องถิ่นเค้าคือคนพื้นที่เพราะฉะนั้นเค้าจะรู้จริง ว่ารสมันต้องเป็นยังไง พอเป็นแบบนี้เนี่ยมันสบายใจได้ระดับนึง ยิ่งพอมีสถาบันอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องความสะอาดก็การันตีได้อีก ซึ่งทำให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้น หลังจากนี้เราก็จะมีโอกาสกินของอร่อยในแต่ละพื้นที่ ที่ง่ายมาก เพราะมีตราสัญลักษณ์น้องสุขใจชวนกินจาก ททท. และสถาบันอาหารว่าอาหารรสชาติดี อร่อยถูกปาก และสะอาดถูกหลักอนามัยครับ"
ทั้งนี้ คณะกรรมการ จะเริ่มลงพื้นที่พิจารณาตัดสินอาหารทั้ง 31 เมนู 29 จังหวัด ในเดือน สิงหาคม - กันยายน 2559 ประกาศผลการตัดสินและมอบประกาศนียบัตรในเดือน ตุลาคม 2559 โดย ททท. คาดว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางท่องเที่ยว ได้สัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นผ่านอาหารประจำภาคที่มีรสชาติอร่อยแบบดั้งเดิมและปลอดภัย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit