นางสาวอุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลโซลูชั่นส์ บริษัท มายรัม (ประเทศไทย) จำกัด แนะกลยุทธ์จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการไทยในการแข่งขันทางธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อพร้อมรับมือเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ท่ามกลางกระแสของการพัฒนาเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยในปีนี้ ศักยภาพของ 4G และนโยบายรัฐที่มีการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ
คนที่มีผลกระทบมากสุด คือ กลุ่มผู้บริโภคในระดับภูมิภาค ที่จะได้เห็นและใช้งานดิจิทัลที่หลากหลายและสะดวกสบายมากขึ้น ตัวแปรสำคัญที่ซีอีโอไทยควรตระหนักในข้อนี้
นางสาวอุไรพรกล่าวว่า "นวัตกรรมดิจิทัลได้ Disrupt ธุรกิจบันเทิง การสื่อสาร โซเชียล การเงิน เพย์เมนท์ สิ่งพิมพ์ รีเทล สิ่งของเครื่องใช้ รถยนต์ โรงแรม กีฬา ตลอดจนการแพทย์และอื่นๆ ทำให้นักธุรกิจและนักยุทธศาสตร์ต่างต้องศึกษาและปรับกลยุทธเพื่อพัฒนาสินค้าบริการ และขบวนการทำงานให้พร้อมต่อการแข่งขันที่ไร้ขอบเขตทางพรมแดนและทางธุรกิจอย่างแท้จริง การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลจะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2016 และสร้างเทรนด์ใหม่ทางธุรกิจและสินค้าในวงกว้าง แต่ขอกล่าวถึงเทรนด์ใกล้ตัวที่ธุรกิจและแบรนด์ควรจับตามองในปี 2016 ซึ่งมี 6 ข้อคำนึงสำหรับซีอีโอไทยให้ก้าวทันการค้าไร้ขีดจำกัด ดังนี้
เพื่อให้บริการและสร้างรายได้ เปิดออฟชั่นใหม่ให้กับแบรนด์
โซเชียลยังคงความแรงในกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะแมสเส็จจิ้งแอพหรือแชทแอพยอดนิยมอย่าง ไลน์ (LINE) วอทส์แอพ (WhatsApp) และเฟซบุ๊คแมสเซ็นเจอร์ (Messenger) ต่างพยายามสร้างรายได้โดยการปรับตัวให้เป็นแพลตฟอร์มเพื่อให้บริการกับสมาชิกในบริการที่หลากหลายขึ้น
ที่เห็นได้ชัด คือ ไลน์ ที่มีคนไทยใช้บริการสูงขึ้นทุกวัน นอกจากมีเกมดังอย่างคุกกี้รัน ยังมีแอพพลิเคชั่นยอดนิยมอีก อาทิ LINE Music, LINE TV และแตกบริการสู่แอพอีคอมเมิร์ซอย่าง LINE Shop หรือแม้กระทั่ง LINE Pay และ Gift Shop ซึ่งนับเป็นการขยายบริการที่ตรงจุดการแข่งขันอย่างน่าสนใจ ส่วนเฟซบุ๊คแมสเซ็นเจอร์ ที่จับมือกับ Uber ให้ผู้ใช้งานเรียกอูเบอร์ได้จากแมสเซ็นเจอร์แอพและส่งโลเคชั่นไปให้เพื่อนที่กำลังแชทอยู่ได้ และบริการโมบายเพย์เมนต์ที่เฟซบุ้คเร่งแผนให้บริการอยู่
การที่แชทแอพเหล่านี้ต่างมีฐานสมาชิกจำนวนมาก การปรับตัวเพื่อให้บริการใหม่แต่ละครั้งจึงนับเป็นเทรนด์ที่ควรติดตาม และนักการตลาดควรฉวยให้ทัน เพื่อไม่ให้ตกเทรนด์
จับมือข้ามธุรกิจเพื่อยึดสมรภูมิก่อนตกขบวนจากนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันระบบอี-เพย์เม้นท์ให้เกิดขึ้นในไทย เป็นการลดต้นทุนการชำระเงิน สร้างความสะดวกในการค้า ที่สำคัญเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายสนับสนุนให้คนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงธุรกรรมนี้ได้ด้วย คงเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญของประเทศและส่งผลกับธุรกิจโดยรวม ซึ่งกลุ่มสถาบันการเงินและบริการต่างๆ ต้องปรับบริการเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว
นอกจากนั้นการใช้โมบายเพย์เมนท์ผ่านค่ายดิจิทัลและกลุ่มโอเปเรเตอร์ ซึ่งมีทั้งการเปิดแพลตฟอร์มอย่างแอปเปิ้ลเพย์ ซัมซุงเพย์ หรือไลน์เพย์ รวมถึงการจับมือกันของค่ายมือถือกับธนาคารบางแห่งนับเป็นนวัตกรรมและบริการที่เสริมบริการได้อย่างน่าสนใจ
สร้างแชนแนลให้ทันกับโซเชียลเทรนด์
จากตัวเลขศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่คาดว่าปี 2016 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซ จะพุ่งสูงแตะระดับ 2.3 - 2.4 แสนล้านบาท ขยายตัว 15-20% จากปี 2015 เห็นได้ว่าพฤติกรรมการจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะด้วยแรงหนุนจาก 4G เชื่อว่าตลาดอีคอมเมริซ์คงขยายตัวต่อเนื่องไปในระดับภูมิภาคเร็วและมากขึ้น
การเปิดตัวของอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มอย่าง Lazada, iTrueMart หรือ Central และค่ายรีเทลทั้งหลาย ต่างช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับแบรนด์ดังและแบรนด์น้องใหม่ให้ถึงมือผู้บริโภคได้สะดวกขึ้น
แต่สำหรับเจ้าของแบรนด์ดังเอง การลงทุนเปิดหน้าร้านอีคอมเมิร์ซ/ช้อปออนไลน์ของแบรนด์ จะตอบโจทย์การขายสินค้าในลักษณะ B2C หรือ B2B ได้ด้วย จึงจะเห็นว่าแบรนด์ผู้ผลิตต่างต้องการขับเคลื่อนกลยุทธ์อีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซมากขึ้นอีกในปีนี้
เทคโนโลยีดิจิทัลได้ช่วยเพิ่มความเข้าใจการใช้งานของเว็บไซต์ของลูกค้า แพลตฟอร์มอย่าง Google Analytics (GA) ซึ่งถูกใช้กับเว็บไซต์กว่า 50% ของโลก ช่วยบันทึกข้อมูลจำนวนมากเพื่อการวิเคราะห์และการปรับปรุงบริการหรือข้อมูลสำหรับผู้เยี่ยมชม
ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) ได้ถูกนำมาใช้กับเว็บไซต์ชั้นนำที่ถูกพัฒนาด้วยการวางแผนการวิเคราะห์และประมวลผลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำเสนอข้อมูลเฉพาะที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ (Personalization) ช่วยให้เกิดสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการ และช่วยเพิ่มอัตราคอนเวอร์ชั่นของการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเทรนด์ใหม่ของแบรนด์ชั้นนำที่ต้องการเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าและพร้อมขับเคลื่อนสินค้าและบริการให้อยู่ในแนวหน้าการแข่งขัน
ตัวแปรธุรกิจ IoT, Big Data และ คลาวด์คอมพิวติ้ง
โจทย์ใหม่องค์กรในการสร้างนวัตกรรมและเพิ่มโอกาสธุรกิจ
อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) เป็นกระแสและเทรนด์สำคัญในต่างประเทศที่ค่ายดิจิทัลยักษ์ใหญ่ต่างเร่งสร้างผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มรองรับ ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ลที่พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับ "HomeKit" และ "HealthKit" ด้านกูเกิลซึ่งเปิดให้ใช้แพลตฟอร์ม "Brillo" และ "Weave" ตลอดจน Qualcomm ที่ผลักดัน "AllJoyn" โดยมีกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญเข้าร่วม อาทิ Sony, LG, Haier และ Electrolux เป็นต้น
ล่าสุด ในงาน CES ที่ลาสเวกัสต้นเดือนมกราคม ซัมซุงได้เปิดตัวเทคโนโลยี IoT เชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของซัมซุงผ่าน SmartThings Ecosystem ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฮม อย่างทีวีรุ่น SUHD TV ตู้เย็น IoT และเครื่องดูดฝุ่นให้ทำหน้าที่เสมือน IoT Hubs โดยครั้งนี้ซัมซุงได้ประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อกำหนดโอเพ่นเฟรมเวิร์คใหม่ที่เรียกว่า "IoTivity" พร้อมทั้งเปิดให้ตัว Smart Home Cloud API
เพื่อให้พันธมิตรเชื่อมต่อเข้ากับระบบ IoT Ecosystem ของซัมซุง
การเกิดขึ้นของ IoT และระบบ Ecosystem จะผลักดันให้เกิดมาตรฐาน แพลตฟอร์มและการผลิตใหม่ที่องค์กรควรปรับกลยุทธ์รองรับให้เหมาะสมและเท่าทัน
เมื่อธุรกิจเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของดิจิทัลในทุกส่วนงาน โดยเฉพาะ "ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น" สร้างกระบวนการในการเชื่อมต่อคน อุปกรณ์และข้อมูลเข้าด้วยกัน เป็นการพัฒนาขั้นตอนใช้ดิจิทัลในการดำเนินงาน เพื่อสร้างประสบการณ์ในการใช้งานและช่วยให้การปฏิบัติงานเกิดขึ้นเป็นระบบถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับองค์กร
เมื่อเร็วๆ นี้ นิตยสาร Information Age ระบุผลสำรวจของบริษัทในประเทศอังกฤษพบว่า องค์กรที่ใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเท่าตัว การปรับตัวขององค์กรด้วยดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นจึงอาจเป็นกลยุทธ์สำคัญของหลายองค์กรชั้นนำในปีนี้
นางสาวอุไรพรเผยผลกระทบของดิจิทัลเทรนด์ 2016 สำหรับนักการตลาดว่า "ควรศึกษาแนวทางการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคหน้าใหม่ที่มีจำนวนมากทั่วทุกภูมิภาค ไม่เคยเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลเต็มรูปแบบและรอเข้ามาสัมผัสและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ในช่วงแรกควรเตรียมแอพที่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน อาทิ เน้นที่ Utilities App เวอร์ชั่นภาษาไทยให้มากขึ้น เป็นต้น จะช่วยให้คนจำนวนมากสามารถโหลดและใช้งานได้ง่ายและแพร่หลายในเวลารวดเร็ว ซึ่งต่อยอดฟังก์ชั่นอื่นๆ ได้
คงไม่ใช่แค่ 4G ที่เรามองว่าเป็นโอกาส แต่เราควรมองข้ามสู่อนาคตอันใกล้ด้วยว่า องค์กรของเรามั่นใจและพร้อมใช้ Digital Transformation เพื่อก้าวเข้าสนามแข่งขันในโลก IoT ได้ทัน ส่วนข้อแนะนำสำหรับเจ้าของกิจการ คือ ควรกำหนด Digital Strategy เพื่อประโยชน์ระยะยาวที่สามารถต่อยอดสู่ส่วนอื่นๆ ของธุรกิจได้ เช่น การขาย CRM การโปรโมชั่น หรือการพัฒนาสินค้าและบริการที่เหมาะกับความต้องการของผู้บริโภค พัฒนาการประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก Consumer Analytics ที่ได้จากช่องทางออนไลน์ต่างๆ ให้เกิดศักยภาพสู่การสร้างรายได้ระยะยาว"
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท มายรัม (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-2119-7255
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit