"การพัฒนาเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นไปอย่างก้าวกระโดดรวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ ลูกค้าองค์กรในภูมิภาคเอเชียตื่นตัวและมีการลงทุนเพื่ออัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอทีเดิม ควบคู่กับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งมอบบริการที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นไปด้วยกัน" มร.อนันท์ ชังกี ประธาน อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ ภูมิภาคเอเชีย อธิบาย "ระบบไอทีแบบ Bimodal การพัฒนาซอฟแวร์ที่ควบคุมเครือข่าย และอินเทอร์เน็ตออฟธิ่ง (IoT) เข้ามามีอิทธิพลสูงและกำลังส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างไอทีที่ติดตั้งอยู่เดิม และเราก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้างเครือข่ายหลักและบนคลาวด์ เช่นเดียวกับการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบเครือข่ายด้วย"
"เรายังได้เห็นการยอมรับอย่างรวดเร็วต่อระบบโซลูชั่นส์ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์แบบแยกส่วนและแบบรวมศูนย์ จากผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่ต้องการความคล่องตัวและความแม่นยำ เช่นเดียวกับความต้องการเพิ่มขึ้นจากลูกค้า hyperscale และ collocation สำหรับระบบเครือข่ายที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ให้เสถียรภาพด้านพลังงาน การระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ (DCIM) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน" มร. ชังกี กล่าวเสริม
5 เทรนด์สำคัญของดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ต้องจับตามองในปี 2559
1. คลาวด์มีความซับซ้อนมากขึ้น: ในขณะนี้ องค์กรส่วนใหญ่มีประสบการณ์และได้ใช้คลาวด์คอมพิวติ้งไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น การพัฒนา SaaS ให้ตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นได้อย่างแท้จริง โดยการนำคลาวด์เซอร์วิสมาเพิ่มความคล่องตัวให้กับระบบอุปกรณ์เดิม จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้นในการรองรับองค์กรที่กำลังเปลี่ยนระบบโครงข่ายไอทีไปเป็นแบบ bimodal เพราะคลาวด์คอมพิวติ้ง ยังไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องการเพิ่มเสถียรภาพเท่านั้น ยังสามารถรับมือกับระบบที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วย จากข้อมูลของการวิจัยการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ ที่ทำโดย Standford's Jonathan Koomey & Anthesis Group's John Taylor พบว่า เซิร์ฟเวอร์ของดาต้าเซ็นเตอร์ในบริษัทระดับเอนเตอร์ไพรซ์ ไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ โดยในแต่ละปี การใช้งานด้านสมรรถภาพระบบการใช้งานโดยเฉลี่ยมีเพียงร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 15 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าอีกกว่าร้อยละ 30 ของระบบเซิร์ฟเวอร์ยังอยู่ในสภาพที่เรียกว่า "โคม่า" คือไม่ได้ถูกใช้งานให้เป็นประโยชน์เลยตลอดเวลา 6 เดือนหรือมากกว่า สิ่งเร่งด่วนที่องค์กรจะต้องรีบจัดการคือการตรวจสอบและแก้ไขส่วนที่ไม่ได้ใช้งานเต็มสมรรถภาพ และขั้นตอนที่สำคัญคือการจัดการการใช้พลังงาน แล้วนำส่วนที่ยังไม่ใช้งานในดาต้าเซ็นเตอร์ ไปเป็นส่วนของการให้บริการที่ใช้ร่วมกัน และหาวิธีเพิ่มประโยชน์จากคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อองค์กรจะขายเซอร์วิสในส่วนที่เหลือใช้ให้แก่หน่วยงานภายนอกได้
2. เทคโนโลยีปรับแต่งเฉพาะ: ขณะที่เทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ มีบทบาทสำคัญที่จะตอกย้ำถึงความมีประสิทธิภาพและความพร้อมของการใช้งาน แต่ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ ยังคงเน้นไปที่โครงสร้างระบบเครือข่ายมากกว่าเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน มร.ปีเตอร์ พานฟิล รองประธาน ด้านโกลเบิล พาวเวอร์ ของอิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ อธิบายเพิ่มเติม "เรามีลูกค้าจำนวนมากขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา องค์กรเหล่านี้ได้ผูกติดกับระบบไอทีแบบดั้งเดิมในกลุ่ม Tier 3 หรือ Tier 4 เข้ามาขอความช่วยเหลือให้เราพัฒนาระบบเครือข่ายไอทีที่เหมาะสมรองรับสภาพธุรกิจขององค์กร ลูกค้ากลุ่มนี้ มีความเชื่อมั่นและไม่มีข้อส่งสัยในด้านเทคโนโลยี แต่สิ่งที่พวกเขากำลังมองหา คือ โครงสร้างที่เป็นระบบที่ไม่ใช่แบบมาตรฐานทั่วไป ต้องการการปรับแต่งให้เฉพาะเจาะจง ให้ความยืดหยุ่น ความพร้อมที่จะใช้งานและมีประสิทธิภาพ องค์กรเหล่านี้จะตีคุณค่าของความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มากกว่าด้านเทคโนโลยี"
3. ดาต้าเซ็นเตอร์ ต้องการภาษาการใช้งานเดียวกัน: อินเทอร์เน็ตออฟธิ่ง (IoT) ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างของดาต้าเซ็นเตอร์ในอนาคต ด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของข้อมูลที่จะต้องนำมาใช้งาน แต่ยังส่งผลต่อการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมาก ทุกวันนี้ ความเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ นั้นหมายถึง การเป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์พ่วงต่างๆ อีกหลากหลายพันหน่วยเชื่อมต่อด้วยกัน มีการติดต่อกันด้วยภาษาของโฮสต์ยูนิต เช่น IPMI, SNMP และ Mod Bus ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างระบบที่ต้องปรับและแก้ไขให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จุดสะดุดและกีดกั้นเหล่านี้จะถูกจัดการด้วย Redfish ซึ่งเป็นโอเพ่นซิสเต็มส์ ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Emerson Network Power, Intel, Dell และ HP โดย Redfish จะเชื่อมต่อระบบดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถยกระดับสมรรถภาพการทำงานให้ขึ้นไปอีก ทั้งด้านการประมวลผล การควบคุมและการทำงานแบบออโตเมติก นอกจากนี้ ยังช่วยให้การใช้งานไอโอทีอย่างมีประสิทธิภาพในแอพพลิเคชั่นส์อื่นๆ
4. ความรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มแรงกดดันต่ออุตสาหกรรม: ภาคอุตสาหกรรม ถูกประเมินผลด้านประสิทธิภาพขององค์กรมาอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2550 โดยมุ่งเน้นไปที่ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเงิน แต่ในปัจจุบัน มีหลายหน่วยงานอย่างเช่น National Resources Defense Council ได้ออกมากระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในสังคม ด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ ทำให้องค์กรต่างเริ่มมาให้ความสนใจในด้านนี้ นอกเหนือมองด้านประสิทธิภาพแต่อย่างเดียว จึงต้องมีพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน โดยนำแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากำกับดูแลการใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคาร์บอนฟุตปริ้นท์ การใช้พลังงานทางเลือกและการกำจัดอุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง และต้องกำหนดให้เป็นความมุ่งมั่นขององค์กรและกำหนดไว้ในหลักปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมด้วยเช่นกัน ผลกระทบของแนวโน้มนี้จะไม่ถูกจำกัดอยู่แค่การตัดสินใจภายในองค์กรเท่านั้น การตรวจสอบต้องรวมทั้งหมดของห่วงโซ่ที่เกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์ รวมไปถึง collocation และผู้ประกอบการให้บริการคลาวด์ด้วย ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
5. การเชื่อมดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าเครือข่าย: การเติบโตของการบริโภคข้อมูลทางดิจิตอลและการประมวลผลข้อมูลเข้าด้วยกัน เป็นสิ่งที่ท้าทายดาต้าเซ็นเตอร์แบบรวมศูนย์ ในขณะที่ศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ต้องคงบทบาทด้านคอมพิวติ้งเป็นหลัก ศูนย์เหล่านี้ยังจะต้องถูกเชื่อมต่อและรับการสนับสนุนจากอุปกรณ์รอบข้าง หรือที่เรียกกันว่า ดาต้า เซ็นเตอร์เพื่อนบ้าน ที่ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายไอโอที สนับสนุนด้านข้อมูล ประมวลผล และแอพพลิเคชั่นส์ต่างๆ บริการให้กับผู้บริโภค ศูนย์ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ จะปฏิบัติการเป็นเครือข่ายดาวเทียมย่อยเสริมกำลังให้กับที่ทำการหลัก และในแหล่งชุมชนที่มีความหนาแน่นสูง ความสำเร็จของการใช้งานจะขึ้นอยู่กับระบบที่มีความมาตรฐานและอัจฉริยะด้วยการควบคุมการปฏิบัติงานจากระยะไกล
"ท่ามกลางการพัฒนาไปของแนวโน้มใหม่นี้ คือความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภาคธุรกิจ ที่ต้องการมองหาดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ทั้งการใช้งานที่มีความรวดเร็ว มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพสูง และสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ที่สามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรม นี่คือความเร่งด่วนที่องค์กรต้องพร้อมในการ พัฒนาโครงสร้างระบบไอทีให้สามารถรองรับกับแนวโน้มเหล่านี้" มร.ชังกี กล่าวสรุป
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์: www.EmersonNetworkPower.Asia
เกี่ยวกับ อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ Emerson Network Power
อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ หน่วยธุรกิจของ อิเมอร์สัน (ที่ NYSE: EMR) เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของเทคโนโลยีสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เราให้บริการดูแลตลอดวงจรของระบบโครงข่ายไอที ครอบคลุมเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร ด้วยความต้องการที่ขยายเพิ่มขึ้นมากมายในการมองหาโซลูชั่นส์ที่เป็นอัจฉริยะและสามารถนำมาใช้อย่างรวดเร็วด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ สำหรับบริหารจัดการพลังงาน ความร้อน และโครงสร้างพื้นฐาน อิเมอร์สัน เนทเวอร์ค พาวเวอร์ มีระบบโครงข่ายไอทีที่มีประสิทธิภาพและโซลูชั่นส์ให้เลือกสูงสุด ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.EmersonNetworkPower.Asia
เกี่ยวกับ อิเมอร์สัน Emerson
อิเมอร์สัน (NYSE: EMR) มีสำนักงานใหญ่ที่ เซนต์หลุยส์ มิสซูรี สหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำระดับโลก ในการนำ เทคโนโลยีและวิศวกรรม มาพัฒนาร่วมกัน เพื่อจัดหาโซลูชั่นส์ที่เป็นนวัตกรรม สำหรับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม การค้า และตลาดผู้บริโภคทั่วโลก บริษัทฯ ประกอบด้วย 5 ธุรกิจหลัก : การจัดการกระบวนการธุรกิจ, ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม, พลังงานเครือข่าย, เทคโนโลยีภูมิอากาศ และ โซลูชั่นส์สำหรับพาณิชยกรรมและที่พักอาศัย ในปีงบประมาณ 2557 มียอดขายรวมเป็นมูลค่า 24.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม : Emerson.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit